18 เม.ย. 2020 เวลา 04:44 • ประวัติศาสตร์
#2 ทำไมต้องเรียกตัวเองว่า “โกนขะแมร์สะเร็น” (កូនខ្មែរសុរិន្)
ผู้เขียนเอง
มาๆๆ เดี่ยวจะเล่าให้ฟังว่า “โกนขะแมร์สะเร็น” นั้นมาจากไหน??? ดูไม่ยากเลย “โกน” (កូន) แปลเป็นไทย หมายถึง ลูก, บุตร เช่น โกนเปราะ (កូនប្រុស) ลูกชาย , “โกนสแร็ย” (កូនស្រី) ลูกหญิง ขะแมร์ (ខ្មែរ) เขมร หรือ แผ่นดินแม่ และ สะเร็น หรือ โสเร็น หมายถึง จังหวัดสุรินทร์ ในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่ประชากรส่วนมากจะพูดภาษาเขมร คนกัมพูชา มักจะเรียกคนสุรินทร์ว่า “ขะแมร์โสเร็น” ซึ่งจะแสดงถึงความสัมพันธภาพเป็นมิตรไมตรีต่อกันของชาวเขมรด้วยกันโดยมีแนวเทือกเขาพนมดงรักเป็นแนวเขตแดนธรรมชาติ มาตั้งแต่ในอดีตและสิ้นสุดลงหลังจากตกอยู่ภายใต้ความปกครองของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2450
2
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม)
ชาวไทยเชื้อสายเขมร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งในประเทศไทย ที่มีความสัมพันธ์กับชนชาติไทย และประเทศไทยมาช้านาน โดยแบ่งชาวไทยเชื้อสายเขมร คือ ชาวเขมรบน หรือเขมรสูง หรือขะแมร์ลือ (ខ្មែរលើ) ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หรือที่เรียกว่า “อีสานใต้”
แผนที่แสดงผู้คนที่พูดภาษาเขมรในถิ่นไทย
ผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยมีอยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และบางอำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี นครราชสีมา ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นอกจากนี้บางอำเภอในภาคตะวันออก คือ จังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว
เลี้ยงโต๊ะจีนช้าง ณ อนุเสาวรีย์พระยาสุรินทรร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง
โดยเชื่อว่าอพยพเข้ามาในดินแดนไทยในช่วง พ.ศ. 2324-2325 และกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ถูกกวาดต้อนจากประเทศกัมพูชาในสมัยอดีต ซึ่งปัจจุบันกลุ่มหลังนี้จะกลมกลืนไปกับชาวไทยในปัจจุบันไปเสียแล้ว
ขบวนแห่ประเพณีวัฒนธรรมองชาวสุรินทร์
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มแรงงานชาวกัมพูชาอพยพ และชาวกัมพูชาอพยพซึ่งอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยในภาวะสงคราม โดยบางส่วนได้อพยพกลับภูมิลำเนาเดิม ขณะที่บางส่วนยังคงปักหลักอยู่ในดินแดนไทยต่อไป
น้องโมนา นางสาวสุรินทร์
- Sahabhap Boonkrong
โฆษณา