18 เม.ย. 2020 เวลา 12:44 • สุขภาพ
ทำไมผู้ที่มีอาการเบาหวานมีโอกาสเสียชีวิตจากโควิด-19สูง
THE BANGKOK INSIGHT
จากข้อมูลจาก “THE BANGKOK INSIGHT” ที่ระบุว่า “เบาหวานโรคร่วมหลักของผู้เสียชีวิต 43 รายและพบ 17 รายไม่พบโรคประจำตัว อายุ 50-59 ปี สัดส่วนสูงสุด 29.8% ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงสุดของผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19
ข้อมูลจากการสัมมนาทางการแพทย์ มีคุณหมอท่านหนึ่งวิเคราะห์เอาไว้ว่า ทำไมผู้ป่วยที่มีอาการเบาหวานจึงมีโอกาสสูงที่จะเสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 นั่นเราโดยปกติทั่วไปแล้วพบว่าธรรมชาติของไวรัสใช้พลังงานจากน้ำตาลเป็นหลักในการแบ่งตัว จึงไม่แปลกใจที่จะพบว่าสถิติการเสียชีวิตที่มีอาการเบาหวานร่วมจึงมีอัตราที่สูงกว่าผู้ที่ไม่มีโรคนี้
นอกจากนี้แล้วธรรมชาติของน้ำตาลยังทำให้เกิดอาการอักเสบของเนื้อเยื่อและเซลล์ด้วย จึงส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่ายด้วย ผู้ที่มีการการเบาหวานก็ยังพบความดันโลหิตสูง อาหารโรคหลอดเลือดหัวใจร่วมด้วย เพราะทั้งหมดทั้งมวลมีสาเหตุมาจาก Insulin Resistant หรือการต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินของร่างกาย ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆมากมายในปัจจุบัน
THE BANGKOK INSIGHT
สิ่งที่คุณหมอท่านนี้แนะนำในการปฏิบัติตัวในสถานการณ์ที่ไวรัสโควิด-19 ยังแพร่กระจายอยู่ (รวมถึงผู้ที่มีอาการเบาหวานร่วมด้วย) นั่นคือ
•อยู่ห่างจากสถานที่ที่มีไวรัสหรือที่ผู้คนพลุกพล่าน เป็นสถานที่ปิด เป็นต้น
•เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง แม้ว่าเราจะป้องกันจากภายนอกแล้วไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือเป็นประจำแล้ว การป้องกันจากภายในเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมาก
•การบริโภคอาหารสุขภาพที่ประกอบไปด้วยพืชผักผลไม้เป็นหลัก
•เพิ่มจุลินทรีที่มีประโยชน์ในลำไส้เพื่อสามารถจัดการกับเชื้อโรคแปลกปลอมที่เข้ามาในทางเดินอาหาร และที่ผ่านมาก็พบว่ามีโอกาสสูงมากที่คนไทยจะติดเชื้อโควิดจากระบบทางเดินอาหารด้วยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป
•ลดการอักเสบ ในที่นี้นี้หมายถึงการอักเสบที่ทำให้เกิดอาการในเซลล์ต่างๆของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการกินยาที่มีผลข้างเคียง การรับประทานอาหารหวาน การพักผ่อนไม่เพียงพอ ฯลฯ เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบได้ เพราะแม้จะไม่ติดเชื้อโควิดก็มีโอกาสที่จะติดเชื้ออื่นได้
•ลดอาการดื้ออินซูลิน ในเบื้องต้นคือการปรับการบริโภคของร่างกายให้มีช่วงเวลาในการเผาผลาญพลังงานจากการรับประทานอาหารเข้าไป 4 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงรับประทานมื้อต่อไป เพราะหาอินซูลินขึ้สูงตลอดเวลาร่างกายจะเกิดอาการดื้อ และที่สำคัญเมื่อมีอินซูลินสูงร่างกายจะไม่มีโอกาสได้ดึงไขมันสะสมมาใช้ได้เลย
•บริโภคอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลต่ำ แม้ว่าจะมีผู้ที่รับประทานอาหารมื้อละไม่มาก แต่รับประทานถี่ก็ทำให้เกิดน้ำตาลที่สะสมในกระแสเลือดได้สูงด้วย ทางที่ดีคือควรลดสัดส่วนแป้งและน้ำตาลลงและเว้นมื้ออาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
https://www.snapkitchen.com/blog/expect-low-carb-meal-plan/
•ใช้วิธีการเว้นมื้ออาหารในช่วงกลางวันทั้ง 2 มื้อให้ห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง และมื้อเย็นหรือมื้อสุดท้ายให้ห่างจากมื้อแรกของวันถัดไปอย่างน้อย 12 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เกิดอินซูลินท่วมกระแสเลือด ที่จะส่งผลต่อการดื้ออินซูลินนั่นเอง
วิธีการข้างต้นไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เลย เราสามารถปฏิบัติได้ทุกคนและสามารถทำได้ทันที และหากมีอาการเบาหวานที่รุนแรง สามารถติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลในการปฏิบัติตัวเป็นรายๆโดยสามารถ INBOX ที่ https://www.facebook.com/Diabitessolution เข้ามาสอบถามได้
โรคเบาหวานเป็นได้ก็หายได้ง่ายๆเรามีทางออกให้
โฆษณา