18 เม.ย. 2020 เวลา 14:21 • ประวัติศาสตร์
เคยสงสัยไหมว่าทำไมนักปราชญ์ และศาสดาของโลกไม่เขียนหนังสือกัน?
เคยสังเกตุไหมว่าคำสอนและปรัชญาสำคัญๆ ของเหล่าศาสดา และปรัชญาเอกของโลกนั้นมักเป็นการเขียนโดยสาวก และศานุศิษย์ของปราชญ์เหล่านั้น และการเผยแพร่คำสอนในยุคนั้นทำกันด้วยการเทศนา และการสอนกันแบบปากต่อปาก
ศาสดาเอกของโลกอย่างพระเยซู และพระพุทธเจ้าเอง ก็ไม่ได้เขียนคัมภีร์หรือไตรปิฎกขึ้นมาเอง ล้วนแล้วแต่ถูกเขียนขึ้นหลังการตายทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่ามีสาวกอ้างตนว่าเป็นต้นฉบับที่แท้จริงหลายฝ่ายหลายนิกาย (ใครเคยดูหนังเรื่อง "รหัสลับดาวินชี" ก็จะรู้ว่ามีการถกเถียงกันถึงภาพลักษณ์อันบริสุทธิ์ของพระเยซูอาจมีการแก้ไขก็ได้เหมือนกัน) รวมทั้งนักปราชญ์ของกรีกอย่างพวก "ไตรเมธี" ด้วย แล้วเราจะเรียนเรื่องพวกนี้กันได้อย่างไรเล่า? มีเพียงคนเดียวที่เขียนหนังสือออกมาเป็นตำราทางรัฐศาสตร์สำคัญของโลกคือ "รีพับบลิก" ของเพลโต ที่เขียนถึงบทสนทนาของอาจารย์โซเครตีส กำลังสนทนากับพวกโซฟิสต์ นั้นคือเล่มแรกที่ตีพิมพ์โดยตัวนักปราชญ์เอง ส่วนโสเครตีส กับอารีสโตเติ้ลไม่ได้เขียนตำราทิ้งไว้เลย (มีเพียงการรวบรวมเอกสารที่อาริสโตเติ้ลเคยสอนในอคาเดมี่เท่านั้น) เรื่องนี้อาจมีหลายปัจจัย เช่น ในสมัยพุทธกาล การศึกษาด้านภาษาเขียนอยู่ในแค่วงชนชั้นสูง ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะเผยแพร่กันด้วยคำภีร์อย่างเดียว และการพูดต่อๆ กันก็ทำให้มีการเล่าสู่กันข้ามภาษากันมากที่สุด และที่สำคัญยุคนั้นกระดาษทำได้ยากหรือแพงมาก
แต่อีกผลหนึ่งที่มาจากหลักการวิเคราะห์ถึงคุณลักษณะของนักปราชญ์ นั่นก็เพราะว่าปราชญ์ในยุคนั้นนิยมใช้วิธีการ "Dialogue" หรือการสนทนาเพื่อให้เกิดคำตอบกันมากกว่า เพราะเป็นวิธีถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในขณะนั้นได้ดีที่สุด ปราชญ์ในยุคนั้นเองมักมองว่าการเขียนหนังสือให้สาวกหรือลูกศิษย์นำไปถ่ายทอดกัน (คนรู้หนังสือสมัยนั้นมีน้อย) อาจทำให้ถ่อยคำผิดเพี้ยนเหมือนการพูดกันปากต่อปากได้ จึงมักยึดถือเรื่องการใช้วิธี Dialogue ในการถ่ายถอดด้วยตนเองกันมากกว่า
ราว 2500 ปีก่อน คนแรกที่ใช้วิธีการนี้คือปราชญ์ชาวกรีก โซเครตีส เค้าเรียกวิธีนี้ว่า Socratic Dialogos (dialogue ในภาษากรีกอ่านว่า Dialogos) วิธีการของเค้าคือการตระเวนหาคู่สนทนาเรื่องการเมือง เพื่อถกเถียงเพื่อหาคำตอบ แล้วก็นำวิธีนี้มาสอนลูกศิษ ซึ่งในยุคเดียวกันนี้ในอินเดียเอง พระพุทธเจ้าก็ใช้วิธีการเช่นนี้อยู่ ที่เรียกกันว่า"พระธรรมเทศนา" แต่ภายหลังการประหารโซเครตีสนี้เอง ทำให้ลูกศิษนั้นคือ เพลโต ได้คับแค้นใจกับแนวทางการตัดสินคดีของระบบประชาธิปไตยกรีก จึงเขียนหนังสือข้อโต้แย้งมาเพื่อถ่ายทอดแนวทางของอาจารย์ต่อไปเรียกว่า Socratic Method เพื่อรวมถ่อยคำของโซเครตีสมาเป็นหนังสือชื่อ Republic (อุตมรัฐ) และอีหลายเล่ม แต่มีเพียงเล่ม The Law เท่านั้น ที่เป็นการอธิบายความคิดของตัวเพลโตจริงๆ
ในยุคต่อมาแม้ว่าปรัชญาในกรีกจะพัฒนาไปจนถึงตั้งวิทยาลัย Academy ขึ้นมาแล้วก็ตาม แต่การสอนในยุคนั้นก็ยังใช้วิธีการ dialogue เป็นส่วนใหญ่ การสอนจะเป็นเชิงสนทนามากกว่าแบบตามตำราในปัจจุบัน เอกสารที่มีส่วนใหญ่ก็เพียงใช้เพื่อการสอนเท่านั้น อาริสโตเติล ลูกศิษย์ของเพลโตก็ไม่เคยรวบรวมบันทึกเป็นหลักแหล่งเลย หนังสือสำคัญเรื่อง Constitution of the Athenians และ Politics เองก็เกิดจากการที่ลูกศิษย์ไปรวบรวมเอกสารในวิชาการเมืองของเขาไว้ด้วยกันหลังอาริสโตเติลตายเพียงเท่านั้น
ซึ่งในที่สุด เวลาก็ล่วงเลยมาอีกพันปีกว่าจะมีเครื่องพิมพ์ในศตวรรษที่ 15 ก็เชื่อกันว่าต้นฉบับเหล่านั้นได้ถูกแก้ไขใหม่ไปหมดแล้ว แล้วที่เหลือในหน้าประวัติศาสตร์นี้เองทำให้เกิด "ช่องว่าง" ให้มีการเติมสีสัน และอภินิหารของคนในยุคนั้นมากมาย จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าคำสอนของคนในยุคนั้นอาจจะขัดแย้ง และไม่จริงในบางเวลา
@แอดแมน
#DefnetHistory
โฆษณา