18 เม.ย. 2020 เวลา 15:51 • การศึกษา
สรุป วิกฤตเศรษฐกิจโลกหลังสงครามโลกครั้งที่1
ขอเริ่มต้นด้วยปี ค.ศ.1920 หลังสงครามโลกครั้งที่1นะครับ
1920-1939 The Great Depression
เป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกถดถอยจากสงคราม แต่มี 2 ประเทศที่แทบไม่ได้รับผลกระทบ คือ สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น เพราะไม่ได้ฝักใฝ่กับฝ่ายไหน 2 ประเทศนี้จึงมีเศรษฐกิจที่ เติบโตมากกว่าประเทศอื่นๆในขณะนั้น โดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกาที่อุตสาหกรรม รถยน สื่อสาร รุ่งเรื่องมาก Dow jones ในตอนนั้นขึ้นไปจุดสูงสุดที่ 380 จากการที่ผู้คนเห็นตัวเลขการเติบโตของตลาดหุ้นจึงแห่กันนำเงินมาลงทุน ถึงขนาดกู้มาลงทุน เมื่อถึงจุดอิ่มตัวที่ผลประกอบการณ์ไม่สามารถทำได้ดีตามที่หวัง บวกกับ ปัญหาภัยแล้ง แรงงานล้นตลาดในยุคนั้น ส่งผลให้ผลประกอบการณ์แย่ลง จนบริษัทหลายแห่งต้องปลดพนักงานออก คนว่างงานเยอะขึ้น เกิดหนี้เสียธนาคารมากขึ้น ผู้คนก็แห่ไปถอนเงินจากธนาคาร ธนาคารล้ม จนเกิดเหตุการณ์ Black Tuesday ที่ตลาดหุ้นโดนเทขายเป็นประวัติศาสตร์ dow jones ตกลงมาที่ 50 จุด (ลดลง 87%) และลามไปหาตลาดหุ้นทั่วโลก ทำให้แต่ละประเทศต้องการพิมเงินจำนวนมากเพื่ออัดฉีดเงินเพิ่มสภาพคล่องในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ปัญหาที่ระบบ Gold standard เนื่องจากต้องการใช้เงินมากกว่าปริมาณทองคำที่มีอยู่ จึงเกิดการยกเลิกระบบ Gold standard เปลี่ยนเป็นค่าเงินลอยตัวตามกลไกตลาด หลังจากนั้นเยอรมันที่มีผู้นำคือ
Adolf hitler ก็เริ่มก่อสงครามอีกครั้ง (สงครามโลกครั้งที่2)
1944 สัญญา Bretton Woods
จบสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอร์มัน ญี่ปุ่น อิตาลี แพ้ ก็มีการทำสัญญา Bretton woods คือ
1.ให้เงินดอลล่าเป็นเงินสกุลเดียวที่ผูกค่าเงินทอง แล้วแต่ละประเทศก็ผูกค่าเงินตัวเอง
กับดอลล่าอีกที
2.ตั้ง IMF กับ World bank
1965 สงครามเวียดนาม
เวียดนามตอนนั้นแบ่งเป็น เวียดนามเหนือ(คอมมิวนิส) เวียดนามใต้(ทุนนิยม) เริ่มทำสงครามกัน สหรัฐอเมริกาเรยเข้ามาช่วยเวียดนามใต้ โดยใช้ทุนจากการพิมเงินดอลล่า
มาทำสงคราม ทำให้ดอลล่าเฟ้อหนัก เพราะพิมมามากกว่าทองที่มี
1971 สหรัฐอเมริกาประกาศยกเลิกผูกเงินดอลล่ากับทองคำแล้วปล่อยดอลล่าลอยตัว
1973 วิกฤติน้ำมัน
กลุ่มอาหรับ อียิป ชีเรีย ทำสงครามกับอิสราเอล สหรัฐอเมริกาเลือกช่วย อิสราเอล กลุ่ม Opec จึงแบนไม่ขายน้ำมันให้สหรัฐอเมริกา และลดการผลิตน้ำมันลง ราคาน้ำมันก็พุ่งขึ้น จนเกิดเงินเฟ้อ อุตสาหกรรมสหรัฐอเมริกามีน้ำมันไม่พอใช้ ทำให้เศรษฐกิจกลับมาตกต่ำอีกครั้ง
Dow jones ร่วงจาก 1000กว่าๆ เหลือ 600 (ลดลง40กว่าๆ%)
2000 วิกฤตืฟองสบู่ dot com
บริษัทกลุ่มเทคโนโลยี ในสหรัฐอเมริกา เติบโตอย่างรวดเร็วดึงดูดให้นักลงทุนแห่กันนำเงินมาลงทุน แต่ด้วยความคาดหวังที่สูงของนักลงทุน จนผลประกอบการของบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีตามไม่ทันจนสุดท้ายก็โดนเทขาย Nasdaq ร่วงจาก 4000กว่าๆ เหลือ 850 (ลดลง78%)
#หมายเหตุ บริษัทกลุ่มเทคโนโลยีส่วนใหญ่จะอยู่ในตลาด Nasdaq ไม่ได้อยู่ใน NYSE จึงนำเสนอผ่านดัชนี Nasdaq แทน Dow jones
FED ตอบสนองต่อวิกฤติด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยจาก 6.5% ลงไปเป็น 1% ในระยะเวลา 3 ปี
2008 วิกฤติ subprime
เนื่องจากเศรษฐกิจดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานานทำให้การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นจนเกิดการเกร็งกำไร ดึงดูดให้นักลงทุนแห่กันมาซื้อทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น บวกกับดอกเบี้ยที่ต่ำในขณะนั้น กับ ธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อด้อยคุณภาพจำนวนมาก FED เห็นว่าการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์สูงเกินไปจึง เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจาก 1.52% เป็น 5.25% ในเวลา 2 ปี แต่แทนที่จะทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์เติบโตช้าลงกลับทำให้นักลงทุนที่กู้สินเชื่อด้อยคุณภาพ สร้างหนี้เสียเกิดขึ้นในระบบเป็นจำนวนมากสุดท้าย สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อด้อยคุณภาพก็ต้องล้มละลายลง Dow jones ร่วงจาก 14000 จุด เหลือ 7000จุด (ลดลง50%)
FED จึงปรับอัตราดอกเบี้ยลงอีกครั้งเหลือ 0.12% แต่ครั้งนี้แม้จะลดอัตราดอกเบี้ยจนใกล้ 0 แล้วแต่ผลลัพธ์ยังไม่ได้เป็นไปตามที่หวัง FED จึงเริ่มทำนโยบาย QE
#หมายเหตุ QE คือการพิมเงินเข้ามาในระบบเพื่อซื้อตราสารหนี้รัฐบาล และตราสารหนี้ที่มีหลักประกัน
2020 ปัจจุบัน
เกิดโรคระบาด Coronavirus ในปีนี้ FED ได้ลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 2 ครั้ง จาก
1.75% —> 1.25% —>0.25%
และ ในวันที่
15/3/2020 FED ได้ประกาศ QE 5 แสนล้านดอลล่า ในการซื้อตราสารหนี้รัฐบาล
และอีก 2 แสนล้านดอลล่า ในการซื้อตราสารหนี้ที่มีหลักประกัน
23/3/2020 FED ได้ประกาศ QE แบบไม่จำกัดวงเงิน
สุดท้ายนี้ขอทิ้งท้ายไว้ว่า บทความนี้เป็นบทความแรกของผมเลยครับ ถ้ามีข้อมูลตรงไหนผิดพลาดก็ต้องขอโทษด้วยนะครับ หวังว่า บทความสรุปนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุกคนได้บ้างนะครับขอบคุณครับ 🙏🏻
โฆษณา