18 เม.ย. 2020 เวลา 21:57 • บันเทิง
เพลง ไอศครีมวอลล์, เนสท์เล่ และ เสียงเข้าประตูเซเว่น 7/11 ลูกค้าจำเพลงใดได้ดีที่สุด? เคยสงสัยไหมว่าทำนองเพลงบางอย่าง แม้ไม่เห็นสินค้า แต่เมื่อได้ยิน เราก็จำได้แม่นว่าเป็นสินค้าอะไร
เพราะอะไรเราจำเพลงบางอย่างได้ดี? ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจฟัง แต่บางเพลงฟังหลาย ๆ ครั้ง พอไม่ได้ยินสักพักก็ลืมไป
เสียดาย ที่ตอนเด็ก ๆ ไม่ได้เรียนการอ่านโน๊ตดนตรี แต่ก็รู้ว่ามันมีแค่โน๊ตดนตรี 8 ตัวนี้แหล่ะ (โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด) ที่อยู่ในเพลง ทุกเสียงบนโลกนี้จำกัดที่โน๊ต 8 ตัว นี้เท่านั้น แต่ทำไมบางเพลงเราฟังแล้วเคลิ้ม ๆ เพลิน ๆ บางเพลงฟังแล้วเฉย ๆ บางเพลงฟังแล้วสนุก บางเพลงฟังแล้วเศร้า ความรู้สึกแบบนี้มาได้อย่างไร? จากที่ไม่ได้มีพื้นฐานดนตรี. แต่ช่างสังเกตุ และฟังบ่อย ๆ มาดูกันว่าเพลงไอศครีม วอลล์ ทำไมถึงอยู่ในใจเรามาถึงอายุน้อยเท่านี้ โดยไม่เสื่อมคลาย (555)
Cr google
Cr. Google
ย้อนไปเกือบ 500 ปีก่อนคริสตกาล Pythagoras ชาวกรีกโบราณได้ค้นพบ เสียงที่มีความคล้องจอง (consonance) และเสียงที่แปร่ง (dissonance) โดยนำหลักคณิตศาสตร์เข้ามาประยุกต์ เขาทดสอบเสียงจากฆ้อนที่มีน้ำหนักต่างกัน 4 อัน เรียงตามอักษร A,B,C และ D ****** 12 ปอนด์ (A) / 9 ปอนด์ (B) / 8 ปอนด์ (C) / และ 6 ปอนด์ (D) **** 1 ปอนด์ มีค่าโดยประมาณครึ่งกิโลกรัมกว่า ๆ *** โดยฟังเสียงตกกระทบของฆ้อน สรุปว่า ฆ้อน A และ D ให้ค่าเท่ากับ 12:6 = 2:1 (12 ปอนด์ กับ 6 ปอนด์) เรียกว่า Octave **** โด (แรก) และ โด (สุดท้าย)**** (ดูรูปประกอบด้านล่าง)
ลอยดินสอจางหน่อยนะ ถ่างรูปเอา
เมื่อตีฆ้อน A และ ฆ้อน B เกือบพร้อมกัน จะให้เสียงไพเราะ (consonance) = (12:9 = 4:3 = perfect fourth) และ เมื่อตีฆ้อน A และ ฆ้อน C เกือบพร้อมกัน จะให้เสียงไพเราะ (consonance) =(12:8 = 3:2 = perfect fifth) ตัวนี้จำให้ดี ๆ นักดนตรีใช้บ่อยมากในการสร้างความสมดุลย์ สร้างสุนทรีย์ของเพลงให้กลมกล่อม **** แต่ถ้าตีฆ้อน B และ ฆ้อน C เกือบพร้อมกัน จะให้เสียงแปร่ง (dissonance) = 9:8 เรียกว่า whole tone หรือ whole step interval (เสียงที่ใกล้กัน เช่น โด กับ เร ***** เร กับ มี : ผู้เขียน)
จำสองคำนี้ดี ๆ นะครับ consonance และ dissonance สองคำนี้จะมาให้คำตอบว่า ทำไมเราฟังเพลงบางเพลงแล้วเพราะ ทำไมบางเพลงฟังแล้วเศร้า ถ้าได้ฟังเพลงคลาสสิคมาสักพักนึง เราจะสังเกตุได้ว่าโน๊ตดนตรีบางจังหวะมันคล้องจองกัน แต่บางจังหวะมันฟังดูแปร่ง ๆ อันนี้อธิบายได้โดยวิทยาศาสตร์ข้างต้นของกฎ Pythagoras หลักของ 2:1 4:3 และ 3:2 นักดนตรีใช้ประโยชน์ของ เสียงคล้อง และ เสียงแปร่ง ในการสร้างผลงาน เพราะธรรมชาติของมนุษย์ จะต้องการเสียงดนตรีที่ไพเราะ แต่ผู้สร้างงานไม่ว่าจะเป็น โมสาร์ต หรือ เบโธเฟ่น ฯลฯ จะใช้เสียงแปร่งให้เป็นประโยชน์ คือ หูจะฟังได้ว่ามันมีอะไรแปร่ง ๆ นะ เพื่อเรียกร้องความสนใจ แต่ในที่สุด นักประพันธ์ที่เก่ง จะโยงเสียงที่แปร่งให้กลับมาที่เสียงคล้องจอง คือเสียง consonance แล้วก็จบบทเพลงนั้นที่เสียงไพเราะ เคยไหมบางครั้งที่ฟังดนตรี แล้วรู้สึกเลี่ยน ๆ นั่นก็คือคนแต่งใช้แต่เสียงคล้องจอง ไม่มีเสียงแปร่ง ๆ มาเรียกร้องความสนใจ. สรุปคือ ทั้งเสียงคล้อง และ เสียงแปร่งมีประโยชน์ทั่งคู่ครับ
Cr. Google
สังเกตุว่าคีตกวีโมสาร์ต เกิดและเสียชีวิต ในช่วง 1756-1791 บ้านเมืองไม่มีสงคราม สภาพบรรยากาศผ่อนคลาย. มีความตื่นตัวในเรื่องของศิลปะวัฒนธรรม ผู้เขียนสังเกตุว่าไม่มีเพลงไหนเลยของโมสาร์ตที่ไม่ชอบ มันอ่อนหวาน กลมกลืน ฟังได้ทุกเวลาทั้งตอนเช้าถึงก่อนนอน. เพราะ โมสาร์ตใช้กฎดนตรีตามข้างต้น
ผิดกับคีตกวีเบโธเฟ่น 1770-1827 ช่วงชีวิตของเขาอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลง ปฏิวัติมโหฬาร. บ้านเมืองอลหม่าน. เป็นช่วงของนโปเลียนที่ก้าวสู่จุดสูงสุดและต่ำสุด โดนริบอำนาจเมื่อปี 1815 เพลงของเขามีการใช้เสียงแปร่งมากขึ้น เบโธเฟ่นหลงแต่งเพลงซิมโฟนี no.3 ให้กับนโปเลียน เพราะคิดว่าเป็นพระเอกอัศวินมาช่วยพลิกสถานการณ์ของฝรั่งเศส แต่ท้ายสุดก็ต้องผิดหวังเพราะมารู้ว่านโปเลียนก็ไม่ได้แตกต่างจากพวกปลิ้นปล้อนหลอกลวง เขาเปลี่ยนใจในตอนหลัง อุทิศเพลงนี้ให้กับ Heroic ของประชาชน เพลงเบโธเฟ่น จะมีเสียงที่ dissonance มีความต่างของตัวโน๊ตมาก ๆ เพลงช่วงหลัง ๆ ของเบโธเฟ่น ผู้เขียนไม่ค่อยอิน บางเพลงเพราะสุดซึ้ง เช่น เปียโน Moonlight Sonata แต่บางเพลงต้องหยุดฟังเพราะมันแปร่งเกินไป ผิดกับโมสาร์ต เป็นเพลงที่ไม่เคยทำให้ผู้เขียนผิดหวัง วกกลับมาเข้าเรื่องที่เพลงไอศครีมวอลล์ ธุรกิจไอศครีมที่ใช้เสียง consonance ทั้งหมด ฟังง่าย ติดหูเร็ว สร้างจังหวะในลำคอได้ จะอธิบายต่อไป
Cr. Google
เปียโนปัจจุบัน โด (แรก) มีความยาวของสายเคเบิ้ล 40 นิ้ว โด (สุดท้าย) มีความยาวของสายเคเบิ้ล เท่ากับ 20 นิ้ว ***หลัก octave 2:1*** ขอร์ดแรกของ โด จะเรียงได้ เป็น ขอร์ด C (โด) D (เร) E (มี) F(ฟา) G(ซอล) A(ลา) B(ที) = ขอร์ดสีขาว เรียกภาษาอังกฤษว่า เมเจอร์ (major) ขอร์ดสีดำ == ที่อยู่ระหว่างขอร์ดสีขาวเรียกว่า แฟลต b (flat) ตามรูปข้างต้น นับรวมทั้งหมดเท่ากับ 12 ตัวโน๊ต ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อฟังเสียงเมเจอร์ จะได้อารมณ์อ่อนหวาน เคลิ้ม เพลิน แต่ ถ้าฟังเสียงแฟลต (ตัวโน้ตดำ) จะให้อารมณ์ เศร้า เหงา หว้าเว่ หรือตื่นตัว
Cr. Google
กลับมาฟังเพลงไอศครีม วอลล์ == โน้ต เพลง จะได้ตามนี้ ท่อนแรก ****E มี G ซอล C โด**** ขอร์ด C เมเจอร์ ท่อนที่สอง ****A ลา C โด F ฟา **** ขอร์ด F เมเจอร์**** ท่อนที่สาม ****B ที C โด D เร C โด **** ขอร์ด C เมเจอร์
ท่อนแรกได้ G เป็น perfect fifth (นับเดินหน้าตัวที่ 5)
ท่อนสองได้ F เป็น perfect fifth (นับถอยหลังตัวที่ 5)
ท่อนสามได้ C เป็น ตัวจบ หมายถึงกลับมาที่ขอร์ดแรก ซึ่งถือว่า เป็นขอร์ดตัวเดิมกับที่เริ่มต้น (de capo) หรือ ขอร์ดตัวแม่ สร้างความสมบูรณ์ กลมกล่อม ให้กับบทเพลง หูที่ฟังจะเหมือนว่าเสร็จสมบูรณ์ได้กลับมาบ้านแล้ว
Cr. Google
เชื่อไหมว่าทฤษฎีนี้เอาไปปรับประยุกต์กับการฟังเพลงซิมโฟนีได้ เคยลองแล้ว เหมือนที่บอกข้างต้นว่าตัวโน้ตมันไม่หนีไปไหนหรอก ลองฟังดี ๆ มันมีแค่ 12 ตัวเท่านั้นเอง วนอยู่ในอ่างเนี่ยแหละ ฟัง เรื่อย ๆ สังเกต เรื่อย ๆ จะได้อรรถรสให้กับชีวิตอย่างมากเลย ลองเปิดใจดู เชื่อไหมว่าเราสาละวนซึมซับกับเพลงพวกนี้มาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยไม่รู้ตัวเลย เช่น การ์ตูน ทอมกับเจอร์รี่ มีเพลงของ Tchaikovsky ประกอบในบางตอน ท่อนฮุกโฆษณาโลชั่นเด็กในโทรทัศน์ขโมยดนตรีท่อนสั้น ๆ ของโมสาร์ตมาใช้ เราซึมซับเพลงนี้มาโดยไม่รู้ตัวเลย หรือหนังฮอลลีวูดบางช่วงของภาพยนตร์. ก็เอาดนตรีซิมโฟนี มาใช้เพื่อให้เกิดอารมณ์ร่วม แล้วทำไมเพื่อนบางคนถึงบอกว่าไม่ฟังหรอกเพลงซิมโฟนี ต้องปีนบันไดฟัง ฟังไม่เข้าใจ ก็แล้วแต่เนอะ 😎
Cr. Google
กลับมาที่การตลาด เพลงไอศครีม วอลล์ นั่งอยู่ในใจเรานานแสนนาน เพลงไอศครีมเนสท์เล่ ก็ โอเคนะ ฟังได้แต่คลอเสียงตามไม่ได้นะ อิอิ ส่วนร้านเซเว่น มีเสียงแค่ 2 ตัวโน้ต ก็อืม งั้นๆ ไม่ได้โดดเด่นอะไร แล้วนักการตลาดจะเลือกทำแบบไหน เขาจะใช้อะไรในการตลาดเรื่องเสียง เพื่อหวังผลในด้านธุรกิจ
Professor Robert Greenberg
Ref
😺😺😺
โฆษณา