20 เม.ย. 2020 เวลา 09:13 • สุขภาพ
"พรก.กู้เงิน 3 ฉบับจำนวน 1.9 ล้านล้านบาทประกาศบังคับใช้แล้ว"
ล่าสุดเมื่อวานนี้เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาก็ได้มีการบังคับใช้พรก.กู้เงิน 3 ฉบับจำนวน 1.9 ล้านล้านบาท เป็นที่เรียบร้อยแล้วน้าค้า วันนี้ท๊อฟฟี่เลยจะมาสรุปเนื้อหาที่สำคัญภายในพรก.ทั้ง 3 ฉบับกันค่า~
1. พรก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
พรก.ฉบับนี้จะบอกว่า กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินบาท หรือกู้เงินต่างประเทศ หรือออกตราสารหนี้ มูลค่ารวมกันไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท ภายใน 30 กันยายน พ.ศ.2564 โดยเงินที่กู้มาต้องนำไปใช้กับ 3 อย่างต่อไปนี้เท่านั้นน้าค้าคือ
a) แก้ไขปัญหาโรคระบาด COVID-19
b) ช่วยเหลือ เยียวยาและชดเชยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
c) ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจาก COVID-19
โดยข้อ a)+b) จะใช้เงินไม่เกิน 6 แสนล้านบาท และข้อ c) จะใช้เงินไม่เกิน 4 แสนล้านบาทค่า~
2. พรก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
พ.ศ. 2563
พรก.ฉบับนี้จะบอกว่า ธปท.มีอำนาจปล่อยกู้เงินให้สถาบันการเงินในมูลค่าไม่เกิน 5 แสนล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ซึ่งเงินที่สถาบันการเงินได้จากธปท.ก็จะนำไปปล่อยกู้ต่อแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจนั่นเอง~ โดยสถาบันการเงินสามารถปล่อยกู้ต่อได้ในวงเงินไม่เกิน 20% ของหนี้ที่ผู้ประกอบวิสาหกิจมีอยู่เดิม ณ สิ้นปี 2562 และสถาบันการเงินต้องคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ต่อปีในช่วง 2 ปีแรก และ 6 เดือนแรกไม่มีการเก็บดอกเบี้ยด้วย
ป.ล. เงินที่สถาบันการเงินกู้มาจากธปท.ต้องชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันที่กู้ด้วยน้าค้า
3. พรก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563
พรก.ฉบับนี้จะบอกว่า กระทรวงการคลังและธปท. จะร่วมกันจัดตั้งกองทุนชื่อ "กองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้" (หรือกองทุน BSF) ในลักษณะนิติบุคคล มีเงินเริ่มต้นไม่เกิน 4 แสนล้านบาท โดยให้ธปท.เป็นผู้เริ่มถือหน่วยลงทุนก่อน แต่ในอนาคตทางธปท.เองก็สามารถขายหน่วยลงทุนให้ผู้อื่นได้ด้วยเมื่อถึงเวลาอันสมควรน้าค้า ซึ่งหากกองทุน BSF กำไรก็จะส่งเงินเข้ากระทรวงการคลัง แต่ถ้าเกิดขาดทุนขึ้นมา กระทรวงการคลังจะชดเชยให้ในวงเงินไม่เกิน 4 หมื่นล้านบาท
ซึ่งกองทุน BSF สามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณสมบัติดังนี้เท่านั้นค่า~
a) เป็นตราสารหนี้ที่ออกใหม่เพื่อทำ Rollover
b) ผู้ออกตราสารหนี้มีแหล่งเงินทุนอื่น (ไม่รวมกองทุน BSF) ไม่น้อยกว่า 50% ของมูลค่าตราสารหนี้ที่ครบกำหนด
c) เป็น Investment-grade bond
d) ผู้ออกตราสารหนี้เป็นบริษัทที่จดทะเบียนและทำธุรกิจในไทย
ป.ล.ในกรณีที่เกิดการขาดสภาพคล่องอย่างร้ายแรงในตลาดตราสารหนี้ พรก.ฉบับนี้ก็ให้อำนาจธปท.นั้นสามารถซื้อขายตราสารหนี้เอกชนที่ไม่ใช่ตราสารหนี้ออกใหม่ได้ด้วยน้าค้า
ท๊อฟฟี่ก็จะสรุปเนื้อหาที่สำคัญของพรก.ทั้ง 3 ฉบับคร่าวๆไว้ประมาณนี้น้าค้า ว่าแต่พวกเรามีความคิดเห็นยังไงกันกับพรก.ทั้ง 3 ฉบับบ้างเอ่ย?
โฆษณา