ต่อให้เป็นงานที่ชอบ...ก็มีช่วงเวลา "ที่ทำแล้วไม่ชอบ"
.
การทำงานที่ดีจึงต้องมีรางวัล 2 ส่วน ส่วนที่เป็นด้านวัตถุ
คือ "ได้เงิน" และส่วนที่เป็นจิตใจ "รู้สึกดี" ที่ได้ทำงานนั้นๆ
.
- เมื่อเริ่มทำงาน เราทุกคนล้วนคาดหวัง "ผลตอบแทน"
.
- ในหลายๆครั้ง "เงิน" คือผลตอบแทน “รางวัลทางวัตถุ” ที่ใช้วัดความคุ้มค่าของการทำงาน
.
- นั้นคือการวัดผลแบบธรรมดา การทำงานที่ดีและสามารถทำให้เราอยากทำเรื่อยๆ หรืออยู่กับบริษัทนั้นได้นานๆต้องมี “รางวัลทางจิตใจ” ด้วย มันจะทำให้โลกของการทำงานมีความหมายมากกว่า
.
- รางวัลจิตใจก็เช่น มีเพื่อนร่วมงานที่ดี, มีหัวหน้าที่เข้าใจลูกน้อง , อยู่ที่นี่แล้วรู้สึกได้เรียนรู้ ฯลฯ เป็นต้น
.
- การทำงานแบบมีความหมายในนิยามของแต่ละคนนั้นต่างกัน จากผลสำรวจของคนส่วนใหญ่ทั่วโลก จะนิยามการทำงาน แบบที่ไม่ค่อยดีในทางด้านจิตใจสักเท่าไหร่
.
- หลายคนยอมทำงานที่รับแต่เงินเดือนแต่ไร้ซึ่งความหมาย , ยอมอยู่ท่ามกลางสังคมดราม่า ทำให้จิตวิญญาณมีแต่จะเหี่ยวเฉาลง จนความพึงพอใจจากการทำงานกลับลดลง
.
- คลิฟฟอร์ด เกียรซ์ นักมานุษยวิทยาชื่อดัง กล่าวไว้หลายปีมาแล้วว่า มนุษย์เราเป็น "สัตว์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ" เขาหมายความว่า มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ยังคงต้องแก้ไขอยู่บ้าง และต้องใส่สิ่งใหม่ๆลงไปบ้าง
.
- ดังนั้นเราจึงควร "ตระหนักรู้" ตัวตนของตัวเองให้ดีที่สุด ว่าอะไรคือสิ่งที่ดี อะไรคือสิ่งที่ไม่ชอบ อะไรคือสิ่งที่เป็นเชิงบวกและอะไรที่ส่งผลในแง่ลบของตัวเราเอง
.
- วิทยาศาสตร์ธรรมชาตินั้น เราสามารถสร้างทฤษฎีที่น่ามหัศจรรย์ เกี่ยวกับจักรวาล และมีความมั่นใจเต็มที่ ว่าจักรวาลทำงานเหมือนทฤษฎีของเรา
.
- แต่จักรวาลก็จะดำเนินไปเหมือนเดิมของมัน ไม่ว่าทฤษฎีเกี่ยวกับจักรวาลของเรา จะเป็นยังไงมันก็คงเป็นไปในแบบของมัน
.
- เราเองต่างหากที่ต้องย้อนมาดู "จักรวาลของตัวเรา" เปลี่ยนแปลงไปตามทฤษฎีที่เรามี ออกแบบให้มันมาอธิบายความเป็นตัวเรา และช่วยให้เราเข้าใจมนุษย์ทุกคน หรือเจาะลงไปกว่านั้นเข้าใจตัวเราเองให้ดีที่สุด...