23 เม.ย. 2020 เวลา 13:00 • ไลฟ์สไตล์
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ประเพณีที่หลายคนไม่รู้
วันนี้เราได้มีโอกาสอ่านหนังสือความรอบรู้ และเกิดไปเจอบทความเรื่อง ฮีตสิบสอง มาฝากให้เป็นที่รู้จักกันคะ
ฮีต มาจากคำว่า จารีต
ฮีต 12 ประเพณีที่ชาวอีสานปฏิบัติสืบต่อกันมาทั้ง 12 เดือนในแต่ละเดือนส่งเสริมให้คนในชุมชนได้ออกมาพบประสังสรรค์กันเพื่อความสมัครสมานสามัคคี
1. เดือนอ้าย (เดือนจียง) บุญเข้ากรรม
พระสงฆ์จะต้องเข้ากรรมเป็นพิธีที่เรียกว่าเข้าปริวาสกรรม โดยพระสงฆ์ผู้ต้องอาบัติได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ส่วนกิจของชาวพุทธคือการหาเครื่องอุปโภคบริโภคถวายพระสงฆ์ซึ่งถือว่าจะได้บุญมากกว่าการทำบุญตักบาตรทั่วไป
บุญเข้ากรรม
2. เดือนยี่ บุญคูณลาน
จะทำหลังการเก็บเกี่ยว ชาวอีสานให้ความสำคัญของข้าวมาก ในพิธีนี้จะมีการนิมนต์พระสงฆ์ไปเทศน์ที่ร้านข้าวเมื่อเสร็จพิธีทำบุญคูณลานข้าวชาวบ้านจะขนข้าวใส่ยุ้งและเชิญขวัญข้าวคือพระแม่โพสพไปยังยุ้งข้าวและทำพิธีสู่ขวัญข้าวสู่ขวัญเล้าข้าวเพื่อเป็นสิริมงคล
บุญคูณลาน
3. เดือนสาม บุญข้าวจี่
เป็นการทำบุญในวันมาฆบูชาชาวบ้านจะไปรวมกันจี่ข้าวที่วัดหรือต่างคนต่างจัดเตรียมข้าวจี่ไปเองแล้วนำไปถวายพระสงฆ์
บุญข้าวจี่
4. เดือนสี่ บุญผะเหวดหรือบุญมหาชาติ
คำว่า ผะเหวด เป็นภาษาอิสานมาจากคำว่า พระเวส หมายถึง พระเวสสันดร
เป็นการฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดกมีจำนวน 13 กัณฑ์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระเวชสันดรผู้บำเพ็ญเพียรทานบารมีในชาติสุดท้าย
บุญผะเหวดหรือบุญมหาชาติ
5. เดือนห้า บุญสงกรานต์
เป็นบุญวันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่โบราณ ตั้งแต่วันที่ 13 ถึง 15 เมษายน ผู้เฒ่าผู้แก่จะทำบุญตักบาตรก่อพระเจดีย์ทรายและมีการละเล่นสาดน้ำตลอดทั้งสามวันบางหมู่บ้านจะมีการแห่พระพุทธรูปไปรอบ ๆ หมู่บ้านเพื่อให้ชาวบ้านได้สรงน้ำ
บุญสงกราน
6. เดือนหก บุญบั้งไฟ
เป็นการขอฝนเพื่อให้ตกตามฤดูกาล จะมีการแห่บั้งไฟและจุดบั้งไฟเพราะเชื่อว่าเป็นการส่งสัญญาณขึ้นไปบอกพญาแถนให้ส่งน้ำฝนลงมาระหว่างที่มีการจุดบั้งไฟชาวบ้านจะมีการเซิ้งสนุกสนานส่วนบั้งไฟใครที่จุดไม่ขึ้นจะทำโทษด้วยการจับเจ้าของบั้งไฟไปโยนลงโคลนตม จังหวัดที่มีการจัดงานใหญ่โตจนเป็นที่รู้จักคือจังหวัดยโสธร
บุญบั้งไฟ
7. เดือนเจ็ด บุญซำฮะ (ชำระ)
ซำฮะ หมายถึง การทำความสะอาด ชาวบ้านจะเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาดในรอบปี มูลเหตุที่มีการทำบุญซำฮะเนื่องจากในสมัยพุทธกาลมีโรคห่า มีการสวดปัดรังควานและประพรมน้ำมนต์ตามหมู่บ้านและชาวบ้านเพื่อเป็นสิริมงคล
บุญซำฮะ
8. เดือนแปด บุญเข้าพรรษา
พระสงฆ์อยู่จำพรรษาในวัดครบสามเดือนตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือนแปดถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ห้ามพระสงฆ์ไปพักแรม ชาวอีสานเชื่อว่าหากใครทำเทียนไปถวายวัดเมื่อเกิดชาติใหม่ผู้นั้นจะได้เสวยสุขในสวรรค์ผู้นั้นจะมีความเฉลียวฉลาดมีสติปัญญาไหวพริบเลิศเลอ
ประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีประจำจังหวัดอุบลราชธานี
1
บุญเข้าพ
9. เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน
เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้วซึ่งจะจัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำเดือน9 ชาวบ้านจะพากันทำข้าวปลาอาหารคาวหวานและข้าวต้มมัดพร้อมหมากพลูที่ห่อใส่ใบตองแล้วนำไปวางไว้ที่โคนต้นไม้บริเวณวัดและรอบ ๆ
บุญข้าวประดับดิน
10. เดือนสิบ บุญข้าวสาก
เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายโดยจะมีการทำสลากให้พระสงฆ์จับ เพื่อที่จะได้ถวายของตามสลากนั้น
บุญข้าวสาก
11. เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 เป็นวันที่พระสงฆ์จำพรรษาครบเวลาสามเดือนแล้วทำพิธีปวารณา คือ เปิดโอกาสให้พระสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ มีการตักบาตรเทโว
บางท้องถิ่นจะมีการถวายปราสาทผึ้งเพื่อเป็นพุทธะบูชา จังหวัดที่มีงานบุญถวายปราสาทผึ้งที่ยิ่งใหญ่คือจังหวัดสกลนคร
บางท้องถิ่นที่อยู่ใกล้บริเวณแม่น้ำจะมีการแข่งเรือเพื่อความสนุกสนานและสามัคคีร่วมกันในตอนกลางวันส่วนในตอนกลางคืนจะมีการไหลเรือไฟ (ฮ่องเฮือไฟ) เพื่อเป็นการบูชาคารวะพระสงฆ์ ประเพณีไหลเรือไฟจังหวัดนครพนม
บุญออกพรร
12. เดือบสิบสอง บุญกฐิน
เป็นการถวายผ้าจีวรแด่พระสงฆ์
บุญกฐิน
จบแล้วคะ ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
หลังจากได้อ่านความเป็นมาของประเพณีฮีตสิบสองกันเเล้ว ใครเคยไปประเพณีไหนกันมาบ้างแชร์ให้กันฟังหน่อยคะ 😊😊
โฆษณา