23 เม.ย. 2020 เวลา 11:36 • ประวัติศาสตร์
ผมว่าใครๆคงจะเคยได้ยินเรื่อง"สามก๊ก " มาพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นอ่านหนังสือ ดูหนัง ดู Series บ้าง
แต่เราเคยคิดกันไหมว่ากลยุทธ์ในสามก๊กมีกลใดบ้าง และสอนอะไรเรา แล้วคิดว่าเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้ได้บ้างนะ
เรามาเริ่ม "Series strategy of Three Kingdom" กันดีกว่านะครับ
เราไปเริ่มเรียนรู้ กลยุทธ์แรกกันดีกว่า เป็นกลยุทธ์แรกที่ตัวละครเอกอย่างเล่าปี่ได้แสดงฝีมือ นั่นคือ
"กลยุทธ์การปิดล้อมเมือง"
กลยุทธ์การปิดล้อม
"อย่าบีบคั้นโจรให้จนตรอก"
"การปิดล้อมต้องเปิดทาง"
คำพูด2 ประโยคเป็นหลักสำคัญที่ใช้ในการทำศึกของคนโบราณ หลักการนี้เหมือนกับการดัมน้ำในหม้อที่ปิดสนิททุกด้าน เมื่อได้น้ำเดือด น้ำจะขยาย
ตัวลอยสูงขึ้น ถ้าไม่มีทางออกไอน้ำจะดันหม้อน้ำจนแตก ดังนั้น กาต้มน้ำจึงต้องมีช่องระบายไอน้ำ การปิดล้อมข้าศึกก็เช่นกัน หากทุ่มกำลังปิดล้อม
ข้าศึกแน่นหนาเกินไป ข้าศึกจนตรอกก็จะสู้ตาย ดังนั้นเวลาปิดล้อมข้าศึก
จึงไม่ควรล้อมตายทั้งสี่ด้าน ควรปล่อยให้ข้าศึกหนีออกมาตามช่องโหว่ที่เรา
เปิดไว้ แล้วล่อให้ข้าศึกตกลงไปในหลุมพลาง จากนั้นจึงดีกระหน่ำให้แตกพ่าย
ในนิยายสามก๊ก3 มีกลยุทธ์การปิดล้อมข้าศึกตอนหนึ่งดังนี้
เมื่อครั้งที่เล่าปี่ติดตามจูฮีออกกวาดล้างพวกโจรโพกผ้าเหลือง
ฝ่ายโจรปึดเมืองอ้วนเชียเป็นฐานที่มั่น ครั้นจูฮียกทัพมาโจมตี เตียวก๊กก็สั่งฮันต๋งออกรบ จูฮีสั่งเล่าปี กวนอู เดียวหุย โอบล้อมด้านตะวันตกเฉียงใต้เอาไว้ ฮันต๋งจึงระดมทหารกล้าออกมารับศึกด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ แต่จูฮีกลับนำทหารม้า 2 กองพัน บุกตะลุยเข้าตีทางด้านตะวันออกเฉียงใต้
เล่าปี่ยกทัพไล่ตีมาทางด้านหลัง ทหารโจรเสียทีพ่ายแพ้อย่างหนัก หนีเข้าไปในเมืองอ้วนเซีย จูฮีกระจายกำลังล้อมไว้ทั้งสี่ด้าน เมื่อถูกล้อมไว้
ในเมืองก็ขาดเสบียงอาหาร ฮั่นต๋งจึงส่งคนออกมาสวามิภักดิ์แต่จูฮีไม่รับข้อเสนอ
เล่าปี่จึงกล่าวว่า "ในกาลก่อน พระเจ้าฮั่นโกโจได้ครองแผ่นดิน ก็เนื่องจากพระองค์ยอมรับพวกศัตรูที่สวามิภักดิ์เข้าเป็นพวก แล้วไยท่านจึงปฏิเสธการสวามิภักดิ์ของฮั่นต๋ง ?"
จูอีกล่าวว่า "ยุคสมัยต่างกัน สมัยนั้น แผ่นดินปั่นป่วนวุ่นวาย
เนื่องจากสิ้นราชวงศ์ฉิน ประชาชนไร้เจ้านายที่แน่นอน เหล่าผู้กล้าจึงต้อง ใช้นโยบายดึงคนมาเป็นพวกให้มากๆ ดังนั้นจึงต้องยอมรับการสวามิภักดิ์ จากฝ่ายศัตรูเพื่อเสริมกำลังของตนให้แข็งแกร่ง แต่เวลานี้ประเทศของเราเป็นปึกแผ่น มีโจรโพกผ้าเหลืองก่อกบฏเพียงก๊กเดียว ไยต้องเกรงกลัวมันหากเรายอมรับการสวามิภักดิ์ของพวกมัน แผ่นดินมิยิ่งยุ่งเหยิงดอกหรือ
ฝ่ายโจรจะยิ่งกำเริบเสิบสาน ก่อการปล้นชิงตามอำเภอใจ เพราะคิดว่า
หากเสียทีเมื่อไรก็ออกมาสวามิภักดิ์เสีย เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้พวกโจรยิ่งเหิมเกริม นี่ไม่ใช่นโยบายที่ดี"
เล่าปี่กล่าวว่า "ไม่รับการสวามิภักดิ์จากพวกโจรก็ถูกอยู่ แต่เวลานี้ท่านปิดล้อมพวกโจรไว้อย่างแน่นหนาทั้งสี่ทิศ ในเมื่อพวกโจรสวามิภักดิ์ไม่ได้ก็จะต้องสู้ตายอย่างแน่นอน ความสามัคคีนั้นเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ ถ้าคนหมื่นคนรวมใจเป็นหนึ่งเดียว ท่านคิดว่าจะต้านได้กระนั้นหรือ นับประสาอะไรกับที่ในเมืองมีทหารเดนตายตั้งหลายหมื่นชีวิต? มิสู้ถอนกำลังด้านตะวันออกเฉียงใต้เสียแล้วโจมตีด้านตะวันตกเฉียงเหนือเพียงด้านเดียว เมื่อมีทางหนี พวกโจรก็จะไม่มีกะจิตกะใจสู้รบ พวกมันจะต้องทิ้งเมืองหนีไปอย่างแน่นอน เมื่อถึงเวลานั้น เราจึงวางกับดักไว้ที่ปากทางหนีตาย ก็จะจับพวกมันได้อย่างง่ายดาย" จูฮีเห็นชอบด้วย สั่งถอนทหารด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ออกเสีย แล้วทุ่มกำลังบุกตีด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ฮั่นต๋งนำทหารหนีออกจากเมือง จริงดังคาด ทหารของจูฮี เล่าปี่กวนอู เตียวหุยที่ดักซุ่มอยู่ตามเส้นทางที่เปิดให้ข้าศึกหนีออกมาก็ช่วยกันไล่ฆ่าทหารเดนตายเหล่านั้น เมื่อฮั่นต๋งถูกยิงตายทหารที่เหลือก็หนีกระเซอะกระเซิง แตกพ่ายไปจนหมด
เนื้อเรื่องในตอนนี้สะท้อนให้เห็นถึงทัศนะทางการเมืองของจูฮีขณะเดียวกัน ผู้ประพันธ์ก็จงใจเน้นถึงความรู้ด้านการทหารของเล่าปี่ ขณะที่เล่าปี่ยืนอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายได้เปรียบ เป็นฝ่ายกระทำ ข้าศึกตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบ เป็นฝ่ายถูกกระทำนั้น เล่าปี่ก็สามารถมองเกมออกทันทีว่า
ในความเสียเปรียบของข้าศึกนั้น มีเงื่อนไขที่ดีเด่นฝังแฝงอยู่ ในความได้เปรียบของฝ่ายเรานั้น มีเงื่อนไขที่ไม่ดีฝังแฝงอยู่ ข้าศึกมีโอกาสพลิกสถานการณ์จากฝ่ายเสียเปรียบขึ้นมาเป็นฝ่ายได้เปรียบ เฉกเช่นเดียวกับที่ฝ่ายเรามีโอกาสที่จะแปรเปลี่ยนไปเป็นฝ่ายเสียเปรียบเช่นกัน
การปิดล้อมข้าศึกอย่างแน่นหนาทุกด้าน อีกทั้งไม่ยอมรับการสวามิภักดิ์จากข้าศึก จะกลายเป็นแรงบีบคั้นที่ทำให้ข้าศึกต้องสู้ตาย การสู้รบแบบนี้แม้จูฮีจะเอาชนะได้เหมือนกัน แต่ก็ต้องเสียหายอย่างหนัก การที่เล่าปี่เสนอให้จูฮีเปิดทางหนีแก่ข้าศึกนั้น แสดงให้เห็นว่าเล่าปี่เข้าใจหลักในการปิดล้อมข้าศึกดีมาก และรู้จักจำเอาทฤษฎีจากตำราพิชัยสงครามมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่เป็นจริง
ในสายตาของผู้นำทางทหารแล้ว คำว่า "ชัยชนะ" ที่แลเห็นอยู่รำไรนั้นไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดของพวกเขา แต่เป้าหมายที่สมบูรณ์แบบที่สุดนั้นควรจะเป็นชัยชนะที่ฝ่ายเราเสียหายน้อยที่สุด หรือจ่ายค่าตอบแทนน้อยที่สุดต่างหาก
ในสมัยโบราณ พลังการผลิตยังไม่ก้าวหน้า จึงไม่มีอาวุธยิงไกลชนิดต่างๆ ประสิทธิภาพในการปิดล้อมจึงตำมาก ถ้าหากไม่เหนือกว่าจริงๆ
ก็ยากที่จะพิชิดอีกฝ่ายหนึ่งได้ ดังนั้นนักการทหารจึงกล่าวว่า "วิธีที่ดีที่สุด คือ
รุกด้วยแผนการ วิธีรองลงมาคือรุกทางการทูต วิธีอันดับสามคือ เข้าสัประยุทธ์กัน วิธีที่แย่ที่สุดคือล้อมเมืองเอาไว้ วิธีนี้จะใช้เมื่อเข้าตาจนเท่านั้น" การปิดล้อมจึงต้องเปิดทางหนีที่ไล่ไว้ เพราะมันเป็นยุทธวิธีที่แย่ที่สุด
เราจึงต้องหลีกเลี่ยงการปะทะจุดแข็งของฝ่ายศัตรู แล้วรุกตีจุดอ่อนของมัน
เป็นไงบ้างครับกับ "Series กลยุทธ์เรื่องสามก๊ก"
ถ้าชอบกดติมตาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้เสมอ ฝากกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ
เล่าปี่ผู้ทรงธรรม
โฆษณา