24 เม.ย. 2020 เวลา 09:00 • ไลฟ์สไตล์
Johari Window "หน้าต่างแห่งความเข้าใจตนเอง"
Source: http://www.mindtools.com/CommSkll/JohariWindow.htm
Johari Window เป็นเครื่องมือที่พัฒนาในปี 1955โดยนักจิตวิทยาสองท่าน คือ Joseph Luft (1916–2014) and Harrington Ingham (1914–1995)
พื้นฐานของ Johari Window เริ่มจากแบ่งตารางออกเป็นสี่ช่อง (ตามรูป) ดังนี้
1
1.Open Area (Arena) ตำแหน่งอยู่มุมบนซ้าย ด้านนี้ทั้งตัวคุณเองและคนอื่นเห็นตรงกันว่าเป็นตัวคุณ (ตัวคุณในที่นี้ครอบคลุมถึงพฤติกรรม ความคิดความอ่าน ทัศนคติ ฯลฯ) ถ้าเปรียบกับจิตวิทยาสายคาร์ลยุง เรียกว่า Persona
2.Blind Area (Blind Spot) ตำแหน่งอยู่มุมบนขวา ด้านนี้ก็คือตัวคุณเช่นกันที่คุณไม่รู้ตัวหรือปฏิเสธมันแต่คนอื่นรับรู้ด้านนี้ของคุณได้ อันนี้บางทีมันก็ยากที่จะยอมรับ ถ้าเปรียบกับจิตวิทยาสายคาร์ลยุง เรียกว่า Shadow
3.Hidden Area (Facade) ตำแหน่งอยู่ล่างซ้าย ด้านนี้คุณรู้อยู่แก่ใจตัวเองดีแต่ไม่ได้เปิดเผยให้คนภายนอกได้รับรู้ หรืออาจเรียกว่าด้านดาร์คในตัวเราก็ ได้
4.Unknown Area (Unknown) ตำแหน่งล่างขวา ด้านนี้อาจเป็น ดินแดนลึกลับที่ทั้งตัวคุณเองและผู้อื่น ซึ่งมันอาจเป็นด้านที่เราไม่เคยใช้ ด้านที่เราไม่เคยรับรู้ หรืออาจละเลยด้านนี้ไปเลยในตลอดชีวิตที่ผ่านมา
เป้าหมายของ Johari Window คือขยาย Open Area (Arena) ให้ใหญ่ขึ้น โดยใช้วิธีการดังนี้
1.Ask for Feedback การถามให้ผู้อื่นสะท้อนความเป็นตัวเรา แต่คงต้องแน่ใจก่อนว่าคนๆนั้นรู้จักเราดีพอ และหวังดีต่อเราจริงๆ (อาจเป็นครอบครัวหรือเพื่อน) อย่าคิดว่าเรารู้ไปหมดทุกอย่างแล้ว แต่บางทีการรับฟีดแบ็คก็เหมือนกับการโดนตัดสิน (Judge) โดยผู้อื่นเหมือนกัน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครชอบ
2.Self-Disclosure (การเปิดเผยเรื่องราวส่วนตัว) การที่เราเปิดเผยถึงควมคิด ความรู้สึก ความฝัน หรือเป้าหมายส่วนตัว ซึ่งการทำเช่นนี้เชื่อว่าจะสร้างความน่าเชื่อถือ(Trust)ได้ดี แต่บางทีการเปิดเผยเรื่องราวภายในมากเกินไปก็อาจทำให้คุณสูญเสียการยอมรับนับถือได้เหมือนกัน
3.Self-Discovery เมื่อคุณเริ่มแบ่งปันเรื่องราวลึกๆส่วนตัวของคุณกับผู้อื่นได้แล้วมันก็เป็นโอกาสที่ดีที่คุณจะค้นลึกไปในตัวเองได้มากขึ้น เชื่อกันว่ายิ่งคุณแบ่งปันเรื่องราวลึกๆของตัวเองกับผู้อื่นได้มากขึ้นเท่าไรพื้นที่ ในการที่คุณจะเข้าใจตัวเองก็จะมากขึ้นเท่านั้น
4.Others' Observation การที่มีกัลยาณมิตรพูดความจริงเกี่ยวกับตัวคุณมันก็ยากลำบากที่จะยอมรับ แต่การที่คุณเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นมองว่าคุณเป็นเช่นไรมันก็อาจทำให้คุณมองสิ่งต่างๆรอบตัวคุณเปลี่ยนไปก็ได้
5.Shared Discovery การใช้พลังกลุ่มจากวงคุยของเหล่ากัลยาณมิตร อาจก่อให้เกิดปัญญาญาณร่วมกันขึ้นมาได้
หมายเหตุ
คนที่มี Open Area ขนาดใหญ่น่าจะเป็นคนเปิดเผย พูดคุยด้วยง่าย เพราะมีความน่าไว้วางใจ ในขณะที่คนมี Open Area ขนาดเล็กจะเป็นคนที่คุยด้วยได้ยากกว่า เพราะอาจจะค่อนข้างปิดตัวเอง
คนที่มี Blind Area กว้างขวางอาจจะสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นได้มาก ขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อยๆ เพราะเขาอาจจะมี Self-Esteem ต่ำ
การใช้งาน Johari Window อาจเริ่มโดยใช้คำคุณศัพท์ต่างๆ 56 คำ ให้คุณ และคนอื่นลองเติมคำไปในช่องต่างๆ ดูได้จาก
งานเขียนชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากโพสของครูเจมี่
โฆษณา