24 เม.ย. 2020 เวลา 07:06
ทำไมประเทศไทยถึงต้องอิงราคาน้ำมันดิบสิงคโปร์
และ Hin Leong ล้มละลาย กระทบตลาดน้ำมันหรือไม่?
ตลอดทั้งสัปดาห์นี้นับว่าเป็นสัปดาห์แห่งความผันผวนอย่างยิ่งในตลาดการซื้อขายน้ำมันดิบของโลก เพราะมีการปรับรถราคากันกระหน่ำ รวมทั้งข่าวช็อกวงการน้ำมันกับการล้มละลายของบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ในสิงคโปร์ ซึ่งนับเป็นข่าวที่นักลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานต่างเฝ้าจับตากันทุกคืน เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรเซอร์ไพรส์ตลาดขึ้นมาอีก
แต่ข่าวการซื้อขายน้ำมันดิบที่เล่นเอาคนตกอกตกใจกันทั้งโลกก็คงหนีไม่พ้นเรื่องสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบ WTI เดือนพฤษภาคม (MAY20) ที่ดิ่งลงไปทะลุจุดต่ำสุดกว่า 0 เหรียญเรียกได้ว่า ดั้มราคาขายก็แทบจะไม่มีใครซื้อ จนต้องขายแถมเงินอีก 32 เหรียญอีกด้วยในวันสุดท้ายก่อนสิ้นสุดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพราะไม่มีใครต้องการน้ำมันอีกแล้ว เนื่องจากน้ำมันล้นคลังผู้ซื้อในสหรัฐเก็บจนไม่มีที่จะเก็บแล้ว ส่งผลให้หุ้นในกลุ่มพลังงานของสหรัฐดิ่งหนัก ฉุดให้ตลาดหุ้นดาวน์โจน ร่วงลงไปกว่า 500 จุดเลยทีเดียว
แต่ถึงกระนั้นก็เถอะ ตลาดน้ำมันดิบอื่นๆ กลับไม่ได้รับผลกระทบทั้ง Brent และ Dubai ราคาน้ำมันดิบก็ยังปกติ ไม่ผันผวนมากแบบ WTI ซึ่งตรงนี้แหละที่มันส่งผลต่อตลาดน้ำมันขายปลีกหน้าปั้มในประเทศไทย ว่าทำไมถึงไม่ได้ร่วงลงตาม เพราะเราไม่ได้ซื้อน้ำมันดิบจาก WTI แต่เราซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจาก SIMEX แทน
1
SIMEX หรือ Singapore International Monetary Exchange ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งบนโลกนี้มีตลาดค้าน้ำมัน 2 แบบคือ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป โดยน้ำมันแต่ละประเทศ จะมีตลาดการซื้อขายที่ใหญ่และสำคัญอยู่ 3 แห่ง
1
ตลาดซื้อขายน้ำมันดิบ (เรียกตามแหล่งผลิต)
- West Texas Intermediate : WTI สหรัฐอเมริกา
- Brent : ทะเลเหนือ แถบประเทศอังกฤษและสแกนดิเนเวีย
- Dubai : ใต้ทะเลทรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง
1
ตลาดซื้อขายน้ำมันสำเร็จรูป
- New York Mercantile Exchange : NYMEX ในทวีปอเมริกา นิยมซื้อขายจากแหล่งน้ำมันดิบ WTI
- Inter Continental Exchange : ICE นิยมซื้อขายจากแหล่งน้ำมันดิบ Brent ในทวีปยุโรป
- Singapore International Monetary Exchange : SIMEX ในสิงคโปร์
ซึ่งแน่นอนว่าประเทศไทยก็คงจะไม่ไปอ้างอิงราคาจากอเมริกาหรือยุโรปแน่ๆ เพราะตลาดน้ำมันที่ซื้อขายกันในเอเชียก็อยู่ที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ แต่ต้องเข้าใจก่อนว่า สิงคโปร์ไม่ใช่ผู้กำหนดราคาซื้อขายน้ำมัน แม้จะเป็นตลาดซื้อขายน้ำในสำเร็จรูปก็ตาม รัฐบาล หรือโรงกลั่นของประเทศสิงคโปร์ ไม่ใช่ผู้กำหนดราคา แต่เป็นราคาซื้อขายน้ำมันระหว่างผู้ค้าน้ำมันมากกว่า 300 รายในภูมิภาคเอเชีย ที่ตกลงกันผ่านตลาดกลางที่ประเทศสิงคโปร์เป็นปริมาณมหาศาล
ทำไมประเทศไทยต้องอิงราคาน้ำมันจากสิงคโปร์?
เรื่องนี้ทางสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เคยให้ข้อมูลไว้เป็นข้อๆ เพราะว่าราคาจากสิงคโปร์ คือราคาที่สะท้อนถึงการซื้อ - ขาย ของทุกประเทศ ในภูมิภาคนี้
1. สะท้อนต้นทุนการนำเข้าของไทยในระดับต่ำสุด ตลาดสิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคเอเซีย ซึ่งใกล้ไทยมากที่สุด ดังนั้น ต้นทุนในการนำเข้า จึงเป็นต้นทุนที่ถูกที่สุดที่โรงกลั่นไทยต้องแข่งขันด้วย
1
2. ปริมาณการซื้อ-ขาย สูง ซึ่ง สิงคโปร์ จะเป็นตลาดที่ซื้อขายน้ำมันเช่นเดียวกับนิวยอร์ค (NYMEX) โดยน้ำมันที่ทำการซื้อขาย อาจไม่ได้เก็บไว้ในสิงคโปร์ แต่จะมีการตกลงซื้อขายในสิงคโปร์ เนื่องจากจะมีบริษัทที่ทำธุรกิจซื้อขายน้ำมัน มาเปิดดำเนินการในสิงคโปร์ ปริมาณการซื้อขายน้ำมันในสิงคโปร์ จะอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกับตลาดใหญ่ ในพื้นที่อื่น (ยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง) ซึ่งทำให้ยากต่อการปั่นราคา โดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย และราคาจะสะท้อน จากความสามารถในการจัดหา และความต้องการน้ำมันของภูมิภาคนี้
3. ราคาสะท้อนความสามารถในการจัดหา และความต้องการของเอเซีย แม้สิงคโปร์จะมีกำลังการกลั่นรวมอยู่ที่ 1.5 ล้านบาเรลต่อวัน ซึ่งยังเป็นระดับที่ต่ำกว่า จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แต่การกลั่นของสิงคโปร์ เป็นการกลั่นเพื่อส่งออก ในขณะที่ประเทศที่มีกำลังกลั่น มากกว่าสิงคโปร์ดังกล่าว เป็นการกลั่นเพื่อใช้ในประเทศเป็นหลัก เมื่อเหลือแล้วจึงส่งออก จากการกลั่นเพื่อส่งออกเป็นหลัก ทำให้ราคาจำหน่ายของตลาดสิงคโปร์ จะสะท้อนราคาส่งออกที่แท้จริง ซึ่งจะสะท้อนความสามารถในการจัดหา และสภาพความต้องการนำน้ำมันสำเร็จรูป ของภูมิภาคเอเชีย
4. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ เป็นฐานกำหนดราคาส่งออกของประเทศต่างๆ แม้ว่าการส่งออกของสิงคโปร์จะเริ่มลดลง เพราะมีกำลังกลั่นเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ แต่ราคาที่ส่งออกของประเทศต่างๆ ยังคงใช้ราคาน้ำมันของตลาดสิงคโปร์ เป็นฐานในการกำหนดราคาส่งออก และการซื้อขายเพื่อส่งออกจากประเทศต่างๆ ยังทำการซื้อขายที่สิงคโปร์เป็นหลัก
5. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ เปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับตลาดอื่นๆ ทั่วโลก สพช. ได้ศึกษาการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในตลาดต่างๆ ได้แก่ ตลาดตะวันออกกลาง ตลาดยุโรป ตลาดอเมริกา และตลาดจรสิงคโปร์พบว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปทุกตลาดต่างปรับตัวเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน และในระดับที่ใกล้เคียงกัน อาจมีบางช่วงที่ราคา ของบางตลาดเปลี่ยนแปลงในทิศทาง หรือระดับที่แตกต่างกับตลาดอื่นๆ ซึ่งเป็นเพราะภาวะที่ความต้องการ และปริมาณน้ำมันในตลาด ไม่มีความสมดุลในช่วงเวลานั้นๆ แต่ต่อมาราคาที่แตกต่างจากตลาดอื่นมาก จะทำให้เกิดการไหลเข้า / หรือออกของน้ำมันจากตลาดอื่น จนทำให้ระดับของราคาตลาดสิงคโปร์นั้น ปรับตัวสู่ภาวะสมดุลกับตลาดอื่น ทั้งนี้ เนื่องจากน้ำมันสำเร็จรูปที่จำหน่ายในทุกตลาด เป็นสินค้าภายใต้ระบบการค้าเสรี และเป็นสากล
6
6. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ ผันผวนน้อยกว่าตลาดอื่นๆ จากการสังเกตความเคลื่อนไหว ของราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดต่างๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพบว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ มีความผันผวนน้อยกว่าตลาดอื่นๆ และการปรับตัวของราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ในช่วงที่มีความแตกต่างจากตลาดอื่นมาก ตลาดสิงคโปร์จะใช้เวลาในการปรับตัวสู่สมดุลในเวลาประมาณ 1-3 วัน ก็จะเสถียร ซึ่งราคาไม่ค่อยแกว่งเหมือนตลาดอื่นๆ
**ทำไมไทยไม่อิงจากราคาน้ำมันในตลาดอื่นๆ หรือตลาดโลก?
ถ้าตอบแบบง่ายๆ ก็คือ ในเมื่อตลาดกลางมันอยู่สิงคโปร์ ซึ่งใกล้แค่ปลายจมูก จะไปอิงตลาดอื่นทำไมให้เสียเรทที่แพงขึ้น อีกทั้งทุกประเทศในเอเชียก็อิงราคาตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเราจะไปแหกคอกเหนือชาวบ้านก็คงไม่เท่ห์ เพราะความผันผวนของราคาน้ำมันมันมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตอื่นๆ ตามมามากมาย การที่ราคาน้ำมันถูกหรือแพงเกินไปไม่ใช่ผลดี เพราะมันเป็นผลกระทบที่ยากต่อการควบคุมต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ เพราะถึงแม้น้ำมันจะถูกลงก็จริง แต่ต้นทุนอื่นๆ ไม่ได้ถูกตามไปด้วย เพราะถึงแม้น้ำมันเชื้อเพลิงจะเป็นหนึ่งในต้นทุนปัจจัยการผลิตก็จริง แต่มันก็ไม่ได้มีสัดส่วนที่สูงไปกว่าต้นทุนด้านอื่นๆ ซึ่งการรักษาสมดุลของต้นทุน สำคัญกว่าการทำให้ถูกหรือแพง
**ราคาน้ำมันในไทยแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน?
ก็เราเป็นประเทศผู้ซื้อ ไม่ใช้ผู้ผลิตที่มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ ของที่ซื้อใช้มันย่อมราคาสูงกว่าผลิตได้เองอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ถามว่ามันสูงเวอร์หรือไม่ บอกเลยว่าก็ไม่ได้สูงเวอร์จนเกินกว่ากลไกตลาด แม้แต่สิงคโปร์ที่เป็นตลาดกลางค้าน้ำมันก็ไม่ใช้น้ำมันที่ถูกกว่าไทยนะ เพราะต้องแยกก่อนว่าการซื้อขายในตลาดกลาง กับการขายในประเทศ มันคนละส่วนกัน
ราคาน้ำมันขายปลีกหน้าปั๊มน้ำมัน กับราคาในตลาดซื้อขายในสิงคโปร์ไม่ใช่ราคาเดียวกัน โดยราคาขายปลีกหน้าปั๊มของสิงคโปร์เป็นราคาที่รัฐบาลมีการกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตต่างๆ เหมือนกับประเทศไทย อีกทั้งบริษัทน้ำมันก็เก็บค่าการตลาดเช่นเดียวกัน ซึ่งโดยรวมยังเก็บสูงกว่าของไทย ประมาณลิตรละ 3.50 บาท ยกเว้นราคาหน้าโรงกลั่นไม่มีค่าขนส่งเพิ่มเติม เนื่องจากตลาดซื้อขายกลางอยู่ภายในประเทศ
ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย มีการอ้างอิงราคาตลาดกลางสิงคโปร์ด้วยหรือไม่ เพราะดูเหมือนว่าราคาน้ำมันถูกกว่าประเทศไทยครึ่งต่อครึ่ง ซึ่งข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคือ ควรทำความเข้าใจถึงโครงสร้างราคาน้ำมันที่แท้จริงของประเทศมาเลเซียก่อน โดยที่มาเลเซียสามารถกำหนดราคาน้ำมันขายปลีกหน้าปั๊มได้ด้วยการกำหนดโครงสร้างภาษีและการอุดหนุนราคา พูดง่ายๆ คือ มาเลเซียเอาเงินภาษีมาอุ้มราคาน้ำมัน แต่ก็ไม่สามารถกำหนดราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นได้
ปัจจุบัน ประเทศมาเลเซียก็อ้างอิงราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นตามตลาดกลางสิงคโปร์เช่นเดียวกัน เพราะหากไม่ใช้ราคาที่อ้างอิงราคากลางก็จะทำให้เกิดภาวะผลกระทบในลักษณะเช่นเดียวกับที่กล่าวถึงข้างต้น
.
ส่วนเหตุที่ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศมาเลเซียถูกกว่าประเทศไทย ก็เพราะประเทศมาเลเซียมีการควบคุมราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ ด้วยการงดเว้นการจัดเก็บภาษีและใช้เงินภาษีไปอุดหนุนราคาน้ำมัน ซึ่งงบประมาณดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากรายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติในรูป LNG (มาเลเซียเป็นประเทศส่งออกพลังงานสุทธิ) คือเอาเงินที่ได้จากการขายน้ำมัน ไปอุ้มราคาน้ำมันนั่นเอง
3
**การล้มละลายของ Hin Leong Trading ในสิงคโปร์ จะกระทบต่อตลาดน้ำมันหรือไม่?
2
Hin Leong เป็นบริษัทค้าน้ำมันที่ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ ที่ต้องถึงคราวล้มละลายจากการเป็นหนี้สถาบันการเงินทั่วโลกรวม 23 แห่ง มีหนี้จำนวน 3,850 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะดันตกแต่งตัวเลขรายได้ และวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมันผิดพลาด กลายเป็นว่าบริษัทที่เคยหน้าเชื่อถือที่สุดแห่งหนึ่งของโลก กลับโกหกตบตาชาวโลก ซ่อนขยะไว้ใต้พรมเพียบ จนเมื่อราคาน้ำมันดิ่งลงเหว ขยะใต้พรมเลยลอยเกลื่อนให้เห็น เพราะแบกรับภาระขาดทุนไม่ไหว
ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้แม้จะยังไม่ส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดซื้อขายของสิงคโปร์ หรือราคาน้ำมันในประเทศไทย แต่สิ่งที่น่ากังวลก็คือ บริษัทนี้อยู่ในฐานะซัพพลายเออร์รายใหญ่อันดับ 3 ของสิงคโปร์ ฉะนั้นผลกระทบมันไม่ได้เกิดแค่กับตัวบริษัท แต่มันกระทบกับสิงคโปร์ทั้งประเทศ โดยเฉพาะเรื่องเครดิตความน่าเชื่อถือในการลงทุน
ไฟแนนเชียล ไทมส์ รายงานว่า การล้มละลายของ Hin Leong อาจทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่อุตสาหกรรมโภคภัณฑ์ท้องถิ่น ที่ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันในการทำธุรกิจอยู่แล้ว ต้องเจอกับภาวะขาดสภาพคล่อง และทำให้เกิดกระแสการผิดนัดชำระหนี้ และล้มละลายขึ้นมา
บรรดานักลงทุน และนักวิเคราะห์ต่างเตือนว่า มีแนวโน้มที่ธนาคารจะทิ้งความเสี่ยงในอุตสาหกรรมนี้ เพราะการซื้อขายน้ำมันเป็นการใช้เครดิตซื้อ และที่ผ่านมามีหนี้เสียจำนวนมาก สถาบันการเงินอาจไม่ปล่อยกู้ให้กับบริษัทในอุตสาหกรรมค้าน้ำมัน เพราะถือว่ามีความเสี่ยงมากเกินไป จากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ความต้องการ และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกดิ่งลงอย่างรุนแรง
4
ทั้งนี้ยังไม่มีทีท่าว่าราคาน้ำมันจะกลับมาสูงขึ้นได้ในเร็วๆ วันนี้ แม้จะมีความพยายามลดกำลังการผลิตก็แล้ว หาทางออกร่วมกันต่างๆ นาๆ สร้างสถานการณ์กระตุ้นราคาน้ำมัน แต่ก็ยังไม่มีผลมาก เพราะเวลานี้ความต้องการใช้ลดลงทั่วโลก อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงสู่นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าก็มาเร็วกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งมันเป็นโจทย์ทีท้าทายว่าจากนี้สถานการณ์ราคาน้ำมันจะเป็นอย่างไรต่อไป
1
ส่วนประเทศไทย ช่วงนี้ก็เพลิดเพลินกับการใช้น้ำมันถูกในรอบหลายปีไปก่อน แม้ว่าจะไม่ได้ขับรถออกไปไหนไกลๆ ได้ก็ตาม แต่ก็อย่างน้อยก็ประหยัดค่าเชื้อเพลิงลงได้บ้าง แต่ก็ไปหนักค่าใช้จ่ายอื่นๆ แทน โดยเฉพาะ ค่ากิน และค่าไฟ!!
โฆษณา