25 เม.ย. 2020 เวลา 01:40 • การศึกษา
รีวิว.. หลักการของเทคนิคเรียนเก่งอย่างอัจฉริยะ จากหนังสือ ไดโกะ อัจฉริยะเรียนเก่ง แห่งญี่ปุ่น
จาก: Se-ed
จากหนังสือเล่มนี้นะครับ เทคนิคการเรียนเก่งของไดโกะจะพูดถึงเทคนิคการเรียนหลักๆเลย คือ การเรียนแบบ Active Learning นะครับ หลายคนอาจจะสงสัยว่า Active Learning คืออะไร Active Learning พูดง่ายๆ มันเป็นการเรียนแบบใช้สมองในการคิดในสิ่งที่เราลงมือทำควบคู่ไปด้วย
1
จากบทความก่อนๆผมได้เขียนเรื่องการเรียนแบบ Active learning กับ Passive learning จากการศึกษาพบว่า การเรียนแบบ Active learning จะช่วยให้สมองของเราจดจำเนื้อหาได้มากกว่า 70-90 % เลยทีเดียวหลังจากเวลาผ่านไปถึง 2 อาทิตย์ (ใครอยากรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการเรียนแบบ Active กับ Passive Learning สามารถอ่านบทความของผมย้อนหลังได้นะครับ) ตามเทคนิคในหนังสือเล่มนี้ หัวใจสำคัญเลย คือ การเรียนแบบ Active Learning
1
แต่ในหนังสือเล่มนี้ จะเเบ่งเทคนิคการเรียนแบบ Active Learning เป็น 2 เทคนิคหลักๆด้วยกัน และแต่ละเทคนิคก็จะมีวิธีต่างๆ ให้เรานำไปใช้ แต่ไดโกะบอกว่า เราไม่จำเป็นต้องทำตามวิธีของเขาเป๊ะๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแบบที่ตัวเองชอบและถนัดก็พอ แต่สิ่งที่เขาอยากให้เรารู้ในหนังสือเล่มนี้ คือ การจะเรียนให้ได้ดีนั้นเราต้องเรียนแบบ
" Active learnning " นะ
1.เทคนิคที่ 1 คือ เทคนิคการนึกถึง
เป็นการนึกคิดหรือนึกข้อมูลให้ออกทุกครั้งตอนทำข้อสอบ เช่น เอ…ข้อนี้ใช้สูตรอะไรนะ ข้อนี้ตอบอย่างไรนะ ด้วยวิธีนี้จะช่วยให้เซลล์สมองของเราให้อยู่ในสภาพพร้อมการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เทคนิคที่การนึกถึงนี้ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 เทคนิค
ย่อย คือ
2
เทคนิคการนึกถึงอันที่ 1 ตั้งโจทย์
1.1) แปลงความทรงจำในหัวเป็นข้อสอบย่อย
เป็นการเเปลงข้อมูลที่เราต้องการจะจดจำให้เป็นโจทย์ เช่น อ่านตำราหน้าเดียวเเล้วปิดตำราหรือจะเป็นหัวข้อที่เราสนใจและคิดว่าสำคัญ แล้วนึกถึงหน้าที่อ่านเมื่อกี้ว่าเขียนว่าอะไรบ้าง บางคนอาจจะคิดว่าวิธีนี้อาจจะใช้เวลาเยอะหน่อยในการอ่าน แต่ไดโกะบอกว่าวิธีนี้จะช่วยให้ความจำเราฝังเเน่นมากกว่าอ่านทีละหลายๆรอบ 50-70% เลย แต่เมื่อเราเคยชินเเล้ว เราจะหาทางพลิกแพลงได้ เช่น นึกข้อมูลทุกๆ พาดหัว นึกข้อมูลแต่ละย่อหน้าที่อ่าน เพราะการนึกถึงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งจดจำได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น หากเราจะใช้เทคนิคนี้ ขอให้ตั้งโจทย์อย่างละเอียดเวลาอ่านตำราทั่วไป ปกติยิ่งมีการนึกถึงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งจดจำได้มากเท่านั้น การตั้งโจทย์ทีละหน้าเป็นเทคนิคที่ใช้ได้ผลดี กับการอ่านหนังสือ เพื่อสอบ ไม่ว่าจะเป็นสอบเข้า สอบในมหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งสอบ ใบประกอบวิชาชีพก็ตาม
4
ตัวอย่างเทคนิคนี้ เมื่อเราอ่านตำราไป 1 หน้าแล้ว จากนั้นทำการปิดตำรา แล้วนึกถึงหน้าที่เราอ่านเมื่อกี้ว่าเขียนว่าอะไรบ้าง(อาจจะเป็นสิ่งที่ตัวเองสนใจหรือสิ่งที่เราอยากจะจำ)แล้วลองอธิบายเป็นคำพูดของตัวเอง
3
1.2) การจดโน็ตก็ใช้เทคนิคตั้งโจทย์ได้
1
เมื่อเราอ่านไปถึงตรงที่เราอยากจะจดโน็ตหรือจดสรุปแล้ว หลังจากนั้นให้เราปิดหนังสือแล้วให้เราจดโน๊ตที่เราอ่านมาเมื่อกี้พร้อมกับคิดไปด้วย เช่น เมื่อกี้อ่านเรื่องโลหะ แล้วเราต้องการจดสรุปลงในโน็ตเป็นการสรุปสั้นๆ ตัวอย่าง
โลหะมีลักษณะเด่น 3 ประการ คือ 1.มีสภาพการนำไฟฟ้า… (นึกจากสิ่งที่เราได้อ่านมา) วิธีนี้จะช่วยให้ความจำเราฝั่งเเน่นกว่าเวลาที่เราจดไปด้วยอ่านไปด้วย(ซึ่งวิธีนี้ไม่แนะนำ)
1
1.3) เทคนิคการออกข้อสอบด้วยตนเอง
เป็นการประยุกต์ 2 วิธีแรกที่เราอ่านมาเป็นโจทย์ข้อสอบ เช่น เมื่อเราอ่านเจอเนื้อหาที่เราอยากจะจดจำในหนังสือ ให้ปิดหนังสือ แล้วนึกเนื้อหาเหมือนขั้นตอนที่ 2 แล้วแปลงเป็นโจทย์ไว้ แล้วเขียนโจทย์กับคำตอบลงในสมุดที่เราจดโน็ตหรือบันทึกไว้
2
ตัวอย่างเช่น ถ้าสนใจข้อมูลที่ว่า มีการจัดประชุมเอเชีย-แอฟริกา ขึ้นที่เมืองบันดุงประเทศอินโดนิเซีย ค.ศ 1955 ก็แปลงเป็นโจทย์ การประชุมเอเชีย-แอฟริกา เมื่อ ค.ศ.1955 จัดขึ้นที่ไหน เป็นต้น ถ้าเราตั้งโจทย์ในหัวแบบนี้จะทำให้เราเกิด Active Learning เเละเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายกว่าการอ่านหนังสือแบบปกติ
เทคนิคการนึกถึงอันที่ 2 การเรียนแบบเว้นช่วง
1
เทคนิคนี้เป็นการป้อนข้อมูลเข้าไปในสมองทีละน้อยโดยเว้นช่วงเวลา เพราะว่าสมองของเราต้องการเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้เซลล์ประสาทที่ได้รับการกระตุ้นสร้างเครือข่ายความจำ ตัวอย่างเช่น เราอ่านบทไหนหรือเรื่องไหนแล้ว หลังจากนั้นอีก 3 วันค่อยกลับมาอ่านเรื่องนี้หรือบทนี้ซ้ำอีกครั้ง จังหวะการทบทวนที่ดีที่สุด ตามกฏของ 2x2 คือ ทบทวนครั้งแรกหลังจากเรียน 2 วัน ทบทวนทั้งที่ 2 หลังจากเรียน 2 สัปดาห์ และ ทบทวนครั้งที่ 3 หลังจากเรียน 2 เดือน
1
2. เทคนิคที่ 2 คือ เทคนิคการเปลี่ยนคำพูด
เทคนิคการเปลี่ยนคำพูด เป็นการเปลี่ยนคำพูดให้เป็นคำพูดของตัวเองให้ได้(เปลี่ยนคำศัพท์หรือไอเดียที่เข้าใจยากเป็นคำพูดของตัวเองเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ดีขึ้น) เพราะสมองของเราจะจดจำคำพูดของตัวเองมากกว่าที่เราจะพยายามไปจำประโยคนั้นหรือจำเรื่องนั้น
2.1) เทคนิคการเปลี่ยนคำพูดอันที่ 1 อธิบายด้วยคำพูดตัวเอง
1
เป็นการทำความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมาด้วยการถามตอบตัวเองด้วยการตั้งคำถามว่า ทำไม(Why) กับ อย่างไร(How to) ไปเรื่อยๆ เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ใช้ได้ผลดีเวลาทบทวนหลังจากที่เราเรียนพื้นฐานแล้ว ตัวอย่างเช่น สรุปเนื้อหาที่อยากจะจำเป็นข้อความง่ายๆ แล้วจดใส่กระดาษ จากนั้นตั้งชื่อหัวข้อง่ายๆ เช่น สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือ เข้าใจการทำงานของระบบประสาท หลังจากนั้นตั้งคำถาม Why กับ How เช่น ทำไมถึงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ? เซลล์ประสาทรับส่งกระแสประสาทอย่างไร ? แล้วเราก็อธิบายคำตอบสั้นๆเป็นคำพูดตัวเอง
6
2.2) เทคนิคการเปลี่ยนคำพูดอันที่ 2 เข้าใจเนื้อหาด้วยการอธิบายเป็นคำพูด ของตัวเอง
เพราะมันจะไม่ช่วยให้เราไม่ติดกับดักความคิด อย่างเช่น ตอนเราทำโจทย์อะไรก็ตามแล้วเราเปิดดูเฉลย บางครั้งเราเห็นคำตอบเราย่อมมักรู้สึกว่า เราเข้าใจ แต่ที่จริงแล้ววิธีแก้โจทย์ยังไม่เข้าหัวและเป็นความรู้ที่ใช้งานไม่ได้ แต่คนส่วนใหญ่หลงคิดว่าตัวเองเข้าใจตั้งแต่แรก ทำให้คิดว่าตัวเองเก่ง นี้คือความคิดที่ว่า "กับดักความคิด " เพราะว่า สมองของเราเมื่อเห็นเฉลยก็จะเข้าใจทันที และคิดว่าตัวเองทำได้ จากนั้นก็ไม่ขวนขวายเรียนรู้ต่อ ดังนั้น การอธิบายด้วยคำพูดตัวเองจะช่วยปกป้องปัญหานี้ได้
7
2.3) เทคนิคที่การเปลี่ยนคำพูดอันที่ 3 การเรียนเพื่อนำไปสอนต่อ
พูดง่ายๆ เป็นการอธิบายเนื้อหาที่ตัวเองเรียนมาให้คนอื่นฟัง เพราะว่า การที่จะไปอธิบายให้คนอื่นฟังได้นั้นเราต้องเข้าใจเนื้อหาอย่างถ่องแท้เสียก่อน และจะทำให้มีเเรงจูงใจในการเรียนเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากมีความกดดันที่ต้องถ่ายทอดให้อีกฝ่ายฟังอย่างถูกต้องนั้นเอง แต่บางคนอาจจะคิดว่า แล้วถ้าเราไม่มีคนอื่นสอนหล่ะจะทำยังไง? งั้นมาดูข้อที่4กันเลยครับ
3
2.4) เทคนิคการเปลี่ยนคำพูดอันที่ 4.เรียนเพื่อนำไปสอนต่อ
กับเรียนเก่งด้วยเป็ดยาง
ข้อนี้ต่อจากข้อที่ 3 ครับสำหรับใครที่ไม่มีโอกาสไปสอนหรืออธิบายให้คนอื่นฟังจริงๆ เราลองเปลี่ยนความคิดเป็น เราจะเรียนเพื่อจะนำไปสอนต่อ เทคนิคนี้มาจากผลการวิจัยจาก มหาวิทยาลัย วอชิงตัน เขาแบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่มคือ 1.ให้นักศึกษาเรียนไปพร้อมกับคิดว่า หลังจากนี้จะสอบ กับ 2. ให้นักศึกษาเรียนไปพร้อมกับคิดว่า หลังจากนี้จะต้องไปสอนเพื่อนนักศึกษาคนอื่นและให้นักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มทำแบบทดสอบ ผลปรากฎว่า กลุ่มที่ 2 เรียนไปพร้อมกับคิดว่า หลังจากนี้จะต้องไปสอนเพื่อนนักศึกษาคนอื่น มีอัตราส่วนตอบถูกสูงถึง 28% สาเหตุเพราะ เมื่อเราคิดจะสอนบางอย่างให้คนอื่น เราก็จะมองหาประเด็นที่จะถ่ายทอดและลงมือเรียบเรียงความคิด มันเป็นวิธีการที่ทำให้สมองสลับเป็นโหมด Active Learning โดยธรรมชาติ
3
2.5) อีกเทคนิคหนึ่งคือ เรียนเก่งด้วยเป็ดยาง ในบางครั้งที่เราไม่สามารถหาคนอธิบายหรือเรียนกับเราได้ให้หาตัวแทนมาฟังแทน แทนที่จะเป็นเพื่อนหรือนักเรียนและเปลี่ยนเป็นหาสิ่งของอะไรก็ได้มาแทน เช่น เป็ด เทคนิคนี้เป็นการอธิบายสิ่งที่ตัวเองเรียนมาให้เป็ดสีเหลืองที่เอาไว้ลอยเล่นในอ่างอาบน้ำฟัง หรือบางคนอาจจะไม่ชอบเป็ดอาจจะเป็น อะไรก็ได้ที่เราชอบ เช่น สัตว์เลี้ยง ตัวการ์ตูน เป็นต้น
2
เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่มีชื่อเสียงมากในการใช้เพื่อดีบักโปรแกรม ของเหล่าโปรแกรมเมอร์ เขาจะใช้วิธีนี้ด้วยการชี้โค้ดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วอธิบายให้เป็ดของเล่นที่วางอยู่หน้าจอฟังทีละบรรทัดว่าโค้ดบรรทัดนี้มีความหมายอย่างไร
1
จบไปแล้วสำหรับเทคนิคเรียนเก่งฉบับ ไดโกะ ที่จริงในหนังสือมีวิธีที่มากกว่าผมนำมาเล่า แต่วิธีที่ผมนำมาเล่านี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและไม่ซับซ้อนด้วย ไดโกะบอกว่า เราไม่จำเป็นต้องทำตามวิธีที่เขาแนะนำทุกวิธีเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในแบบของเราได้ เขาแนะนำว่า "แค่คุณใช้วิธีเดียว ก็ได้ผลลัพธ์เกิดคาดหมายแล้ว" แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หัวใจที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ตามหลักวิทยาศาตร์ คือ การเรียนแบบ Active Learning
1
ปล.ผมใช้เทคนิคที่กล่าวมานี้ในการสอบของมหาวิทยาลัยครับ ได้ผลลัพท์ที่ดีมากๆเลยครับ จากที่ไม่เคยได้ท็อปเลย หลังจากได้ลองปรับเปลี่ยนแล้วกับสอบได้ท็อปชั้นเเละท็อปห้องอีกด้วย เลยอยากจะนำมาแชร์หรือแบ่งปัน
แต่หนังสือยังไม่จบเพียงเท่านี้ นี้เป็นเทคนิคที่ในการเรียนเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยภายนอกเกี่ยวกับการพัฒนาสมอง กระตุ้นสมองในการเรียนรู้ของเราด้วย
ถ้าใครไม่อยากพลาดความรู้ดีๆ หรือ คำแนะนำดีๆแบบนี้ อย่าลืมกดติดตามไว้นะครับและสุดท้ายขอบคุณทุกๆคนที่อ่านมาถึงตรงนี้มากๆนะครับ ขอบคุณครับ🙏
ที่มา: หนังสือ ไดโกะ อัจฉริยะเรียนเก่งแห่งญี่ปุ่น
โฆษณา