25 เม.ย. 2020 เวลา 10:35 • ไลฟ์สไตล์
เรื่องตลกสมัยลงชุมชน [EP2] : วัดความดันโลหิตกันเถอะ
ยังคงเป็นเรื่องเล่าสนุกๆจากการลงชุมชนนะคะ....
เรื่องนี้เป็นเรื่องของเพื่อนที่มาเล่าให้กันฟัง
เรื่องมีอยู่ว่า...ในการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (ขอใช้นามสมมติเพื่อนว่า หนึ่งนะคะ)
หนึ่งได้รับผิดชอบเคสเยี่ยมบ้านผู้ป่วนโรคความดันโลหิตสูง
หลังจากที่ออกเยี่ยมเคสเสร็จ ทุกคนจะต้องมารายงานเคสกับอาจารย์เกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย และเพื่อวางแผนให้การดูแลให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย
อาจารย์ไล่ถามข้อมูลทีละคนและวนมาจนถึงหนึ่ง...
อาจารย์ : เป็นยังไงบ้าง วันนี้วัดความดันโลหิตคุณยายได้เท่าไร
หนึ่ง : วัด BP ได้ 160/90 mmHg ค่ะ หลังนั่งพัก15 นาที วัดได้ 150/90 mmHg ค่ะ
[BP :Blood Pressure (ความดันโลหิต)]
อาจารย์ : " แล้วทำอะไรให้คุณยายบ้าง "
หนึ่ง : " สอบถามอาการเบื้องต้น คุณยายไม่มีปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีตาพร่ามัวค่ะ และแนะนำเรื่องอาหารที่เหมาะกับโรคค่ะ "
อาจารย์ : " อ่า BPยังสูงอยู่นะ แต่ก็โอเค ดีแล้วให้ข้อมูลคุณยายไปด้วย งั้นตอนบ่ายลองไปวัดดูนะ "
หนึ่ง : " ค่ะ อาจารย์ "
--- เวลา 15.00 น. เป็นเวลาของการ Post conference -- -
เป็นช่วงเวลาของการสรุปการเยี่ยมบ้านในวันนี้
อาจารย์ : " หนึ่ง! ไปวัดมาหรือยัง "
หนึ่ง : " ไปวัดมาแล้วค่ะ "
อาจารย์ : " แล้วเป็นไงบ้าง "
หนึ่ง : " ก็สวยดีค่ะอาจารย์ "
อาจารย์ : " ห้ะ! " 😳
หนึ่ง : " ก็สวยดีค่ะ หนูถ่ายรูปมาด้วยค่ะอาจารย์ " 😚
อาจารย์ : ....นิ่งไปสักพัก...
" ครูบอกให้เธอไปวัด BP ผู้ป่วย ไม่ได้ให้บอกไปวัดหน้าหมู่บ้าน "
จากนั้นทั้งวงก็ปล่อยฮากันยกใหญ่ 🤣🤣🤣
และแน่นอนว่าหนึ่งต้องรีบไปวัดความดันโลหิตคุณยายทันที
อาจบอกได้ว่า...
การสื่อสารด้วยความชัดเจน เป็นเรื่องสำคัญนะคะ 🤣🤣🤣
สุดท้ายแล้ว...ขอแนบความรู้เล็กๆน้อยๆให้ทุกคนได้ทราบถึง "การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับโรคความดันโลหิตสูง"
เป็นข้อมูลดีๆที่สามารถนำไปแนะนำผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงได้ค่ะ
🧡 โรคความดันโลหิตสูง🧡 สามารถเกิดกับคนได้ทุก เพศทุกวัยมีปัจจัยมาจากหลายๆอย่างดังนี้
ความเครียด พันธุกรรม อายุที่มากขึ้น ผู้ที่มีรูปร่างอ้วน
ที่สำคัญก็คือ พฤติกรรมการรับประทานทานอาหารที่ไม่
หากไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม อาจจะนาไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย เช่น โรคลอดเลือดสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ โรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ
------------ 💛การปฏิบัติตนที่เหมาะสมมีดังนี้ ----------
1. จำกัดอาหารรสเค็มจัด /โซเดียม ⛔️🧂
เนื่องจาก โซเดียมมีคุณสมบัติในการดึงน้ำสังเกตได้ว่า... เมื่อเราทานอาหารที่มีรสเค็มจัดก็มักจะต้องทานน้ำเข้าไปมากๆ
จริง ๆ แล้วส่วนหนึ่งมาจากกลไกของร่างกายที่ต้องการน้ำไปช่วยทำให้โซเดียมเจือจางเพื่อให้ไตลดการทำงานลง
.... ดังนั้นการรับประทานอาหารรสเค็มจัดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมีผลต่อความดันเลือดที่สูงขึ้นจนทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงได้
อาหารที่มีเกลือ (โซเดียม) สูงเช่น
- ผงชูรส เกลือ น้ำปลา ซอส น้ำจิ้มสุกี้ น้ำจิ้มลูกชิ้น
- อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
- อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม กุนเชียง
อาหารหมักดอง เพราะต้องใช้เกลือในการหมักในปริมาณมาก เช่น กะปิ ปลาร้า ผักกาดดอง ปลาตากแห้ง
2. หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน อาหารที่มีไขมันสูง ⛔️🍰
การรับประทานอาหารรสหวานและ อาหารที่มีไขมันสูงมากเกินไป ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินไปเป็นไขมันสะสมในร่างกาย
เกิดการตีบแคบของหลอดเลือดจากไขมันที่เกาะผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบแคบ และมีความดันโลหิตสูง
3. หลีกเลี่ยงกาแฟ ชา และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ⛔️☕️
ซึ่งคาเฟอีนนี้เองที่ส่งผลทำให้ระดับความดันเลือดเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงหรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว
คนกลุ่มนี้เมื่อได้รับคาเฟอีนเข้าไปจะทำให้มีระดับความดันโลหิตสูงกว่าปกติ และยังลดประสิทธิภาพในการทำงานของยาลดความดันโลหิตบางกลุ่มอีกด้วย
4. การออกกำลังกาย ✅ 🏃
ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกายนะคะ เพราะบางท่านต้องควบคุมความดันโลหิตของตนเองให้ได้ก่อน การออกกำลังกายที่แนะนำเป็นการเดินเร็ว ประมาณ 30 นาที
หลีกเลี่ยงการออกกำลังการพวกที่ต้องใช้แรงเยอะๆ เช่น ยกน้ำหนัก
5. กำจัดความเครียด ✅🧘‍♀️
หากิจกรรมยามว่างทำเบี่ยงเบนความสนใจจากความเครียดต่างๆ ถ้ามีความเครียดเกิดขึ้นบ่อยๆโอกาสที่ความดันจะลดลงเป็นปกติจะน้อยลงเพราะระบบประสาทซิมพาเทติกถูกกระตุ้นบ่อย
6. รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ✅💊📌 ข้อนี้สำคัญมากนะคะ ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ไม่ปรับลดหรือเพิ่มปริมาณยาเอง และที่สำคัญหมั่นวัดความดันโลหิตของตนเองดูเป็นระยะๆด้วยนะคะ
แปะใบความรู้สวยๆให้ได้ศึกษากันค่ะ
http://www.bangkokrayong.com/th/health-info/disease-and-treatment/61/full_detail/disease
ขอบพระคุณทุกท่านที่แวะมานั่งเล่น "ห้องนั่งเล่น "แห่งนี้
❤️ฝากกดไลค์ กดติดตามให้กำลังใจด้วยนะคะ ❤️💗
โฆษณา