27 เม.ย. 2020 เวลา 13:25 • ธุรกิจ
CHAPTER 0 : ROLE OF STRATEGIST
“นักกลยุทธ์คือใคร สำคัญขนาดไหนกับองค์กร”
ถ้าเปรียบ CEO เป็นดังกัปตันผู้ขับเคลื่อนและควบคุมเครื่องบิน นักกลยุทธ์ หรือทีมกลยุทธ์องค์กร “Corporate Strategy” ก็เปรียบเสมือน
1. Inspector ที่ต้องตรวจสอบความพร้อมทั้งหมดของเครื่องบินก่อนที่จะทำการบิน
2. Ramp Master ที่ต้องช่วยคำนวณน้ำหนักและ balance ของเครื่องบิน ให้ได้จุดสมดุลที่ดีและปลอดภัยที่สุด
3. Co-Pilot นักบินผู้ช่วยของ CEO ที่ต้องคอย support กัปตันขับเคลื่อนและควบคุมเครื่องบินหรือองค์กรนั้นไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในปัจจุบันหลายๆ องค์กรได้จัดตั้งให้มีตำแหน่งนักกลยุทธ์เข้ามาทำงานอยู่ในหลายๆ ระดับ ไม่ว่าจะเป็น ทีมกลยุทธ์องค์กร (Corporate Strategy) หรือแม้กระทั่งเป็นทีมกลยุทธ์ระดับหน่วยงาน อย่างเช่น ทีมกลยุทธ์ฝ่ายขาย (Sales Strategy) ทีมกลยุทธ์ฝ่ายการตลาด (Marketing Strategy) ทีมกลยุทธ์ฝ่ายผลิตภัณฑ์ (Product Strategy) หรือทีมกลยุทธ์ฝ่ายดิจิตัล (Digital Strategy) เป็นต้น
หากถามว่าการที่องค์กรมีนักกลยุทธ์จำนวนมากที่แทรกอยู่ในแต่ละระดับดีหรือไม่ ก็คงต้องตอบว่าดี ดังคำที่ว่า “หลายหัวดีกว่าหัวเดียว” แต่ถามว่าคุ้มค่าหรือไม่ที่จะมีนักกลยุทธ์จำนวนมาในบริษัทนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องประเมิน โดยสิ่งแรกที่องค์กรควรจะวิเคราะห์คือ Framework และ Job Value ของนักกลยุทธ์ขององค์กรของท่านคืออะไร
และจากมุมมองส่วนตัวของผมในฐานะที่เป็นนักกลยุทธ์คนหนึ่ง ผมแบ่ง Framework ของนักกลยุทธ์ออกเป็น 5 parts ดังนี้
1. Seeking Opportunity รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจขององค์กร ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก โดยนักกลยุทธ์ที่ดีต้องรู้จักหาข้อมูล ซึ่งข้อมูลปัจจัยภายในองค์กรนั้นสามารถหาได้จากการพูดคุยกับทีมบัญชี Risk Management, Compliance และ Internal Audit ในขณะที่ปัจจัยภายนอกต้องหาข้อมูลกับทีม Sales และทีม Marketing
2. Set Goals & KPIs ร่วมกำหนดเป้าหมายขององค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งการกระจายเป้าหมายขององค์กรลงไปสู่แต่ละหน่วยงานหรือที่เรียกง่ายๆ ว่า KPIs ซึ่งการตั้งเป้าหมายนี้ควรจะเป็นการวางแผนและวิเคราะห์ร่วมกันกับ CEO หรือจะจัด Brainstorm section กับ Management Team ก็ได้ แต่การ validated goals & KPIs นั้นเป็นหน้าที่โดยตรงของทีมนักกลยุทธ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ผมจะพูดถึงการ Set Goals และ KPIs ที่ดีขององค์กรในครั้งต่อไป
3. Consult & Planning ร่วมวางแผน Business Plan และตั้งเป้าหมายให้กับแต่ละ Business Unit เพื่อให้สนับสนุนและสอดคล้องกับเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้ แต่จากประสบการณ์ที่ผมเห็นมา หลายๆ องค์กรให้แต่ละ BU เป็นผู้กำหนดกลยุทธ์และวางแผนงานของแต่ละหน่วยงานเอง โดยให้เหตุผลว่าผู้บริหารแต่ละหน่วยงานนั้นมีความเชี่ยวชาญมากกว่านักกลยุทธ์ และมีหน้ารับผิดชอบในงานของหน่วยงานนั้นๆ โดยตรง จึงให้สิทธิ์ในการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดกับผู้บริหารหน่วยงานนั้น ซึ่งบ่อยครั้งกลยุทธ์และแผนงานที่ได้ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร และยังขัดแย้งกับแผนงานของหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่กับการพาองค์กรไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ในอนาคตได้
4. Support & Control Overview ติดตาม ตรวจสอบ สนับสนุนการทำงานของแต่ละ Business Unit ให้สามารถ deliver งานได้ตาม Action Plan ที่วางไว้ แต่ในความเป็นจริง หลายๆ องค์กรที่ผมเห็นนั้น ทีมกลยุทธ่จะทำหน้าที่เพียง follow up ผลงาน หรือความคืบหน้าของ project ต่างๆ ในแผนธุรกิจที่วางไว้เท่านั้น แต่น้อยนักที่จะเห็นทีมกลยุทธ์เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาที่ทำให้แต่ละหน่วยงานไม่สามารถดำเนินงานให้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ได้ ซึ่งโดยส่วนตัวผมคิดว่านี้เป็นอีกหนึ่ง job value ที่นักกลยุทธ์ที่ดีไม่ควรเพิกเฉยหรือมองข้าม
5. Summarize & Evaluation สรุปและประเมินผลการดำเนินงานของทั้งองค์กร เพื่อหาจุดอ่อน จุดแข็งที่มีผลกระทบต่อการนำพาองค์กรไปยังเป้าหมายที่วางไว้ สำหรับงานในส่วนนี้ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความรอบรู้ในธุรกิจของนักกลยุทธ์ที่จะชี้จุดแข็งจุดอ่อนของการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรได้ ซึ่งบ่อยครั้งที่นักกลยุทธ์หรือผู้บริหารให้ความสนใจเพียงแต่ยอดขายหรือกำไร ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น จนละเลยปัจจัยหลักที่จะนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จในเป้าหมายระยะยาวที่องค์กรวางไว้ได้
และนี้คือ Framework ของนักกลยุทธ์ที่ควรทำเพื่อให้องค์กรสามารถไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้ แล้วนักกลยุทธ์ในองค์กรของคุณมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง มีบทบาทและมี job value ที่คุ้มค่ากับองค์กรแล้วหรือยัง หากท่านไหนมีมุมมองหรือข้อแนะนำอื่นๆ โปรดแบ่งปันข้อมูลกันได้ จะผ่านทาง comment หรือ inbox ก็ตามที่ท่านสะดวก
โฆษณา