28 เม.ย. 2020 เวลา 14:40 • สุขภาพ
โมเดลการรับมือกับโควิด-19 ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ "ไต้หวัน" ไม่ใช่สหรัฐฯ จีน เกาหลีไต้ หรือสิงคโปร์
It says you’re supposed to be in quarantine.  Photographer: Tomohiro Ohsumi/Getty Images AsiaPac, Via: Bloomberg
ไต้หวันใช้วิธีการรับมือยังไง? แน่นอนว่า...ไต้หวันคงไม่ปล่อยช่วงเวลาดี ๆ ให้มันหลุดลอยไป ด้วยความที่ไต้หวันถูกตัดการจากองค์กรระหว่างประเทศ ไต้หวันได้ผ่านบทเรียนการรับมือกับโรคซาร์ส เมื่อปี 2002 ที่คร่าชีวิตผู้คนไม่น้อยเช่นกัน เมื่อไต้หวันได้รับข้อมูลเรื่องการระบาดของโรคโควิด-19 และได้ส่งรายงานไปยัง WHO ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า...โรคอุบัติใหม่ เชื้อไวรัสสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้
ไช่ อิงเหวิน ประธานาธิบดีหญิงของไต้หวัน ได้เร่งจัดตั้งศูนย์ควบคุมโรคเฉพาะกิจทันที ขณะที่ประเทศอื่นยังไม่เริ่มหรือยังไม่ออกมาตรฐานป้องกันและควบคุมโรคใด ๆ ทั้งสิ้น
รัฐบาลไต้หวันยังใช้มาตรการระงับการส่งออกหน้ากากอนามัยชั่วคราว และจำกัดการซื้อหน้ากากอนามัย คนละ 2 ชิ้น/สับดาห์ เพิ่มเป็น 9 ชิ้น/14วัน จนสถานการณ์ในประเทศคลี่คลาย จึงค่อยส่งหน้ากากอนามัยบริจาคช่วยเหลือประเทศที่มีความจำต้องใช้งานจริง ๆ
การบริหารจัดการที่โปร่งใส เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน วิธีป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 แบบง่าย ๆ อย่างมีวินัย ก็คือ "การเฝ้าระวังตนเองอย่างมีส่วนร่วม (participatory self-surveillance)" และสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชน
และมาตรการการดำเนินงานของไต้หวัน ไม่จำเป็นต้องปิดเมือง (Lockdownd) ผู้คนยังใช้ชีวิตได้อย่างเสรี ยังสามารถพบปะกันได้ปกติ เพียงแค่ทุกคนต้องมีวินัย และต้องเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing รวมถึงขณะออกนอกบ้านจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง ข้อดีของการออกมาตรการที่ชัดเจน ทำให้เศรษฐกิจภายในยังสามรถเดินหน้าต่อไปได้
ทั้งนี้รัฐบาลไต้หวันยังออกมาตรการเพื่อเยียวยาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและภาคบริการ โดยจัดคอร์สอบรมให้แก่พนักงานบริษัท บริษัทสามารถส่งตัวแทนได้เพียง 1 คน ทุกคนสามารถลงเรียนได้ไม่เกิน 120 ชั่วโมงต่อเดือน ผู้เข้าอบรม 1 คน จะได้ค่าตอบแทน ชั่วโมงละ 150 บาท เมื่อจบการอบรม เงินค่าตอบแทนจะถูกส่งเข้าให้กับบริษัทต้นสังกัด และทางบริษัทจะแจกจ่ายให้กับพนักงานในรูปแบบเงินเดือน
สิ่งที่สำคัญคือ "การสื่อสารที่ชัดเจน" จะสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่รัฐบาล
ไต้หวันยังได้ใช้เทคโนโลยีในการอำนวยความสะดวกและแก้ปัญหาให้กับประชาชน เช่น การสร้างแอปพลิเคชันระบุพิกัดร้านค้าที่ขายหน้ากากอนามัย เด็กโรงเรียนประถมประดิษฐ์หุ่นยนต์พ่นแอลกอฮอลล้างมือ คนที่ต้องกักตัวอยู่ในบ้าน จะมี GPS ติดตาม และมีเงินช่วยเหลือวันละ 1000 บาท รวมถึงใช้ Bug Data จำกัดจำนวนคนในแต่ละพื้นที่ โดยส่ง SMS แจ้งเตือนให้เปลี่ยนแผนการเดินทางฯลฯ
และการใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา จะต้องไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชน และไม่คุกคามเสรีภาพของประชาชน โดยไม่มีฉวยโอกาสในภาวะวิกฤตละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชน
นี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ว่า...ทำไมไต้หวันสามารถประสบความเสร็จในการรับมือกับโควิด-19 และยังส่งเสริมประชาธิปไตยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
แม้ไต้หวันจะถูกกีดกันการเข้าร่วมประชุมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 กับ WHO แต่ไต้หวันสามารถรับมือได้ดีกว่าอีกหลายประเทศ และเป็นโมเดลต้นแบบให้หลายประเทศได้เรียนรู้และนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้การถูกกีดกันจาก WHO เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะทำให้หลายประเทศเสียโอกาสในร่วมแชร์ข้อมูลและเทคนิคการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขกับไต้หวัน
[2] รับมือโควิดในไต้หวัน : เด็ดขาด ฉับไว เยียวยาให้ธุรกิจท่องเที่ยว, https://www.ilaw.or.th/node/5636
[3] รับมือโควิดในไต้หวัน : สู้โควิด-19 ในนามความสูญเสียจากซาร์ส, https://www.ilaw.or.th/node/5635
[4] 肺炎疫情:小学生乖乖排队消毒双手 背后原因是什么?, https://www.bbc.com/zhongwen/simp/chinese-news-51876452
โฆษณา