5 พ.ค. 2020 เวลา 12:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เดาว่ากลุ่มคนที่ออกแบบ Scrum framework คงจะชอบดูกีฬากันมากแน่ๆ เพราะคำว่า Scrum ก็เป็นศัพท์ที่มาจากกีฬารักบี้ ส่วน Sprint ก็มาจากกีฬาวิ่งนี่แหละ
โพสต์นี้เคเค่เลยจะถือโอกาสมาแนะนำให้ทุกคนรู้จักความหมายของคำว่า Sprint ในแวดวง Scrum กันซะเลย
Sprint คือกรอบระยะเวลาตั้งแต่ 1-4 สัปดาห์ ในการที่ทีมจะทำงานให้เสร็จสิ้น คำว่าเสร็จสิ้นนั้นใน Scrum คือการมีซอฟแวร์ที่ใช้งานได้ (working software) ส่งไปให้ยูสเซ่อได้ใช้บน production ได้
แล้วใน 1-4 สัปดาห์เราจะมีซอฟแวร์ที่ใช้งานได้จริงๆ หรอ มันไม่เร็วเกินไปหรอ เคเค่ก็ขอตอบว่าเร็วสิ และเพราะเร็วนี่แหละเลยทำให้ Scrum พิเศษ วันนี้เคเค่จะพูดถึง 2 อย่างนะ
1. Scrum ไม่ได้บังคับให้ทีมเร่ง develop product ให้เสร็จทั้งชิ้นภายในระยะเวลาสั้นๆ แต่ Scrum บังคับให้ทีม "หั่น" product ออกเป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งชิ้นเล็กๆ นั้นควรจะ "ใช้งานได้" เมื่อ develop เสร็จแล้วในสปริ้นนั้นๆ
นั่นหมายความว่า ทีมจะต้องรู้ว่า user ต้องการ product แบบไหน เพื่อที่จะเห็นภาพรวม และหั่น product เป็นชิ้นเล็กๆ ได้เพื่อให้ user ได้นำ functionality บางส่วนของ product นั้นไปใช้ได้ก่อน
คำที่มักจะได้ยินหรือเห็นใน Scrum จึงมีคำว่า incremantal ซึ่งแปลตรงๆ ว่า "ส่วนเพิ่ม" พูดง่ายๆ ก็คือ เมื่อจบ 1 สปริ้นเราได้ 1 functionality หมายความว่ายิ่งจำนวนสปริ้นมากขึ้น product ของเราก็ใกล้เสร็จมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง
2. Sprint ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ทีมรับฟัง feedback ให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ final product ตรงกับความต้องการของยูสเซอร์ ลองคิดตามเคเค่ดูสิ เมื่อทีมได้ส่ง functionality หนึ่งให้ยูสเซอร์ได้ใช้ทุกๆ 1-4 สัปดาห์ ยูสเซอร์จะเงียบไม่พูดไม่จาอะไรเลยได้หรอ 55555
แน่นอนว่าเราจะได้รับ feedback จากยูสเซอร์บ่อยขึ้น จนทำให้การขอเปลี่ยน ขอปรับนั่นนี่กลายเป็นเรื่องธรรมดา และทีมควรจะเห็นสิ่งนี้เป็นเรื่องปกติด้วย เพื่อสุดท้ายแล้วยูสเซอร์จะได้สิ่งที่พวกเขาต้องการในท้ายที่สุด
หลายคนบอกว่าอย่างนี้จะไม่ยิ่งทำให้งานมันเสร็จช้าลงไปหรอ ถ้าขอเปลี่ยนขอปรับไปเรื่อยๆ แบบนี้ สู้ทำ waterfall ไปเลยดีกว่า
เคเค่ก็จะขอเสนอความคิดต่อส่วนท้ายนี้ว่า การทำ waterfall กับ product ชิ้นใหญ่ๆ อาจจะใช้เวลาเป็นปีเลยกว่าจะเสร็จลุล่วง เมื่อเทียบกับ technology ที่ปรับเปลี่ยน หรือเกิดใหม่แทบทุกวันทำให้ product ที่เราคิดกันไว้ในวันแรก อาจจะใช้ไม่ได้แล้วในวัน go live
ถัดมากับคำถามว่า มันไม่ช้าลงหรอ เคเค่ก็จะตอบว่า มันช้าลงแหละในช่วงแรกๆ แต่เมื่อทีมเริ่มคุ้นชินกับวิธีปฏิบัตินี้แล้ว เราจะจินตนาการได้ว่าทุกอย่างมันเร็วขึ้นได้ สิ่งที่สำคัญคือ user ต้องมี vision กับสิ่งที่ตนเองต้องการด้วย ไม่ใช่วันนึงเห็นแบบนี้สวยจะเอาแบบนี้ วันถัดมาเห็นอีกอันก็จะเอา แบบนี้ไม่ได้น้า
ใครมีความคิดเห็นเหมือนหรือต่างยังไง คอมเมนท์คุยกับเคเค่ได้นะ เคเค่อยากพูดคุยกับทุกคนเลยยยยย
โฆษณา