Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ตกหลุมรัก
•
ติดตาม
29 เม.ย. 2020 เวลา 05:42 • ปรัชญา
"น้ำส้าง" ถ้าจะให้ออกสำเนียงอีสานแท้ๆจะออกเสียงว่า
" น่าม - ส่าง"
ขอบคุณภาพจากเฟสบุ๊ค เพจพุทไธสง
ส้าง = บ่อ คำว่า "น้ำส้าง" ก็คือบ่อน้ำนั้นนั่นเอง
สมัยก่อนเมื่อถึงหน้าแล้งชาวบ้านจะขุดดินหา "ตาน้ำ" คือบริเวณที่น้ำใต้ดินไหลออกมาตลอดเวลา ทำไมต้องขุดตอนหน้าแล้ง ก็เพราะหน้าแล้งระดับน้ำใต้ดินจะอยู่ลึก ส่วนหน้าฝน ดินชุ่ม อุ้มน้ำอยู่ขุดลงไปไม่เท่าไหร่ก็เจอน้ำ แต่พอหน้าแล้งระดับน้ำใต้ดินลดลงไปอยู่ลึก บ่อที่ขุดไว้ก็จะไม่มีน้ำ
ฉะนั้น "น้ำส้าง" เขาจะมีไว้ใช้เมื่อยามขาดแคลนน้ำฝน
"น้ำส้าง" เป็นบ่อน้ำสาธารณะ ใช้ร่วมกันของคนในหมู่บ้าน
ที่หมู่บ้านจะรู้จักกันดีในนาม "น้ำส้างป่าไผ่" เนื่องจากบริเวณรอบบ่อน้ำนั้นมีต้นไผ่ขึ้นเต็มไปหมด
1
ลักษณะของน้ำส้างที่ฉันคุ้นเคยตอนเด็กๆ ไม่เหมือนในภาพข้างบนนะคะ แต่ลักษณะการเกิดของน้ำเหมือนกัน น้ำส้างป่าไผ่ จะมีความลึกถึง จากปากบ่อถึงก้นบ่อประมาณ 6-8 เมตร กะด้วยสายตา หรืออาจจะลึกกว่านั้น มีขนาดกว้างยาว ประมาณ 2×2 เมตร เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส รอบบ่อถูกเอาหินมาวางก่อกันดินตั้งแต่ก้นบ่อถึงปากบ่อ ขอบ่อจะสูงจากพื้นดินประมาณ 70-80 เซ็นติเมตร สำหรับกันตก
1
หินที่ก่อรอบบ่อคล้ายๆกับหินศิลาแลงแต่สีจะเข้มกว่าเกือบดำ
ตอนฉันเด็กๆพอจำความได้ จะเห็นแม่ตื่นตั้งแต่ตี 4 เข็น "รถไสน้ำ " = รถเข็นบรรทุกแกลลอนใส่น้ำ
ขอบคุณภาพจากเฟสบุ๊ค
ลักษณะของรถไสน้ำก็จะคล้ายๆในภาพค่ะ คือเป็นโครงเหล็กมี 2 ล้อ ต่างกันที่รถไสน้ำของแม่จะมีเหล็กคาดด้านหน้ากันแกลลอนน้ำไหลออกจากตัวถังรถ แต่ออกจะดูเก่าสนิมเกาะเต็มไปหมด
แกลลอนใส่น้ำ ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
ทำไมต้องไปตั้งแต่ตี 4 บางทีก็ตี 2 ตี 3 ก็เพราะว่า ในหน้าแล้งช่วงที่แล้งจัด น้ำใต้ดินก็จะผุดออกมาจากตาน้ำในปริมาณน้อยลง ใครไปถึงก่อนคนนั้นก็ได้น้ำก่อน คนมาทีหลังก็ต้องรอน้ำผุดออกมาใหม่มีความลึกพอที่จะใช้ "กะคุ"=ถังน้ำ ลงไปตักน้ำได้
ใช้เชือกผูกกับ "ฮวงคุ" = "ห่วงของถัง" เวลาจะตักน้ำก็ค่อยๆหย่อนเชือกลงไปพอ กะคุ ถึงผิวน้ำก็ตะหวัดให้ปากกะคุจมลงน้ำแล้วค่อยๆสาวเชือกดึงกะคุขึ้นมา เทใส่ถังน้ำ กันน้ำหกด้วย กรวย
กะคุหรือถังน้ำ ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
ที่ฉันเคยใช้มีทั้งที่เป็น กะคุเหล็ก กะคุพลาสติก รูปร่างลักษณะเหมือนในรูป
น้ำส้างถูกนำมาใช้ อาบ ซักเสื้อผ้า ล้างจาน เป็นส่วนๆใหญ่ ส่วนน้ำดื่มจะใช้น้ำฝนที่รองเก็บไว้ตอนฝนตกๆ ปีไหนแล้งนานเข้าน้ำฝนหมด ก็เอาน้ำส้างนี่แหละไปต้มกินแก้ขัดกันไปก่อน( ฉันลืมบอกไปว่าน้ำส้างป่าไผ่เป็นน้ำที่ใสมากๆค่ะ) นั่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในคนสมัยก่อนเยอะ เนื่องจากในน้ำส้างจะมีตะกอนของหินปูนเยอะ ชาวบ้านต้มดื่มกินเพื่อฆ่าเชื้อโรค แต่ไม่ได้กรองเอาตะกอนออกไปก่อน
เมื่อฝนแรกของฤดูมาถึง เราจะยังไม่รองเอาน้ำฝนมาใช้ เราจะปล่อยให้น้ำฝนชะล้างความสกปรก ฝุ่นละออง ขี้นก ที่เกาะค้างบนหลังคาให้สะอาดก่อน พอฝนตกมาอีกครั้งจึงจะรองน้ำเก็บใส่โอ่งดินไว้ น้ำเต็มโอ่งก็ปิดฝากันฝุ่นละอองตกลงไป เวลาจะใช้ก็เอาสายยางดูดน้ำออกมามาใช้ ตอนหลังพ่อต่อก๊อกน้ำเปิดใช้เอาสะดวกดี
โอ่งซีเม็นต์ ขอบคุณภาพจากเฟสบุ๊ค
เมื่อก่อนที่บ้านเป็นโอ่งดินสีแดง ตอนหลังมาจะใช้โอ่งปูนหรือโอ่งซีเมนต์แทนค่ะ
สิ่งที่จะช่วยให้รองน้ำฝนที่ไหลลงมาจากหลังคาได้ก็คือ รางน้ำฝน ที่บ้านข่อยเอิ้นว่า "โกบ" เป็นรางน้ำสังกะสีค่ะ
5 บันทึก
55
32
10
5
55
32
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย