30 เม.ย. 2020 เวลา 03:03
ความขัดแย้งระหว่าง พ่อ-ลูก ในกงสี มาจาก แนวคิดต่างรุ่น ยุคเก่า vs ยุคใหม่ ยุคไหนดีกว่า part 1/2
ในหลายๆบ้านเมื่อลูกเริ่มเติบโต พ่อก็มักจะให้ลูกเข้ามาทำงานให้ธุรกิจครอบครัว เมื่อลูกเข้ามาทำงานก็มักจะเกิดความขัดแย้งกันบ่อยๆ คนส่วนมากก็คงคิดไปว่าคงเพราะลูกที่เข้ามาบริหาร คงยังทำงานได้ไม่ถึงมาตรฐานที่พ่อตั้งไว้นั่นเองครับ ซึ่งสาเหตุนี้ก็เป็นจริงครับแต่ก็ไม่เสมอไปในบางครอบครัว ซึ่งวันนี้ผมจะไม่ได้พูดถึงกรณีนี้นะครับ กรณีที่ผมสนใจมากกว่าคือบางครอบครัวลูกที่เข้ามาชวยบริหารก็ทำงานได้ดีมากๆเลยครับ แต่ถึงยังไงก็ไม่พ้นความขัดแย้งกับพ่ออยู่ดี ผมจะมาเล่าถึงสาเหตุของความขัดแย้งกันนะครับ
สาเหตุหลักๆที่ทำให้พ่อ-ลูกข้อแย้งกันแม้ว่าทั้งคู่มีจุดประสงค์เดียวกันคือบริหารให้กิจการเจริญขึ้นไป ก็คือ Generation gap หรือ แปลเป็นไทยว่าช่องว่างระหว่างรุ่น โดยรุ่นพ่อมักจะอยู่ในรุ่น Baby Boomer เกิดช่วง พ.ศ. 2489-2507 ยุคสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านเมืองสงบหลังจากสงคราม ทุกคนที่มีชีวิตรอดต้องเร่งกลับมาฟื้นฟูให้ประเทศกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง แต่เนื่องจากได้สูญเสียจำนวนประชากรจากการทำสงคราม คนในยุคนี้จึงมีค่านิยมว่าต้องมีทายาทหรือลูกหลานเยอะๆ เพื่อเพิ่มจำนวนแรงงานมาช่วยกันพัฒนาประเทศ
ปัจจุบันคน Gen B คือคนมีอายุประมาณ 60 ขึ้นไป ลักษณะนิสัยจะเป็นคนจริงจัง เคร่งครัดเรื่องขนมธรรมเนียนประเพณี เป็นเจ้าคนนายคน ชีวิตทุ่มเทให้กับการทำงาน มีความอดทนสูง ประหยัดอดออม ซึ่งมักถูกจัดเป็นพวก "อนุรักษนิยม" (Cr.https://www.posttoday.com/life/healthy/587633)
และรุ่นลูกมักจะอยู่ในรุ่น Generation Y คือคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2523-2540 คน Gen-Y จะเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิตัล มีความเป็นสากล เปิดรับวัฒนธรรมแบบ Teen Pop มองว่าการชื่นชอบศิลปินต่างชาติเป็นเรื่องปกติธรรมดา มีเทคโนโลยีพกพา รักความสะดวกสบาย เกิดมาในยุคที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตและเฟื่องฟู ทำให้พ่อแม่ที่เป็นคนในยุค Gen B ซึ่งถูกปลูกฝังให้ทำงานหนักค่อนข้างจะประสบความสำเร็จในชีวิต จึงทำให้ดูแลเอาใจใส่ลูกๆ ที่เกิดมาในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี เด็กยุค Gen-Y จึงมักจะถูกตามใจ อยากได้อะไรต้องได้ มีโอกาสทางการศึกษาที่ดี มีแนวคิดเป็นตัวของตัวเอง ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ และปฏิเสธสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ
ลักษณะพฤติกรรมของคน Gen-Y มักต้องการความชัดเจนในการทำงาน เช่น ต้องชัดเจนว่าสิ่งที่ทำมีผลต่อตนเองและต่อหน่วยงานอย่างไร? คาดหวังที่จะมีเงินเดือนสูงๆ คาดหวังคำชม แต่ไม่อดทนต่องานที่ทำ ชอบเปลี่ยนงานอยู่บ่อยๆ นอกจากนี้ คน Gen-Y ยังต้องการสร้างสมดุลเวลาให้กับตัวเอง เช่น หลังเลิกงานมักจะไปทำกิจกรรมให้ความสุขกับตัวเอง อย่างไปเล่นฟิตเนส แฮงเอาท์พบปะเพื่อนฝูง
ปัจจุบันคนกลุ่มนี้อยู่ในทั้งช่วงวัยเรียนมหาวิทยาลัยและวัยทำงาน จึงไม่น่าแปลกใจที่คนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ชอบงานด้านไอที ใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำสิ่งใหม่ๆ รวมทั้งสามารถทำอะไรหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน เรียกได้ว่าสามารถใช้เครื่องมือเครื่องไม้ต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว อย่างที่เราอาจจะเคยเห็นภาพคนยุคใหม่ที่นั่งเล่นสมาร์ตโฟน ไอแพด คุยโทรศัพท์ ไปพร้อมๆ กับทำกิจกรรมอื่นๆ อย่างการเดิน การทำงาน หรือกินข้าวได้ (Cr.https://www.posttoday.com/life/healthy/587633)
เมื่อเพื่อนๆได้อ่านถึงตรงนี้คงพอเข้าใจแล้วนะครับว่าลักษณะนิสัยของคน 2รุ่นนี้ไม่เหมือนกันเลย พอจะจินตนาการออกไหมครับว่า ถ้าจับมาอยู่ในองค์กรเดียวกัน และจับมาเป็นหัวหน้ากับลูกน้องจะเกิดความขัดแย้งอะไรขึ้นบ้าง เดี๋ยวผมจะมายกตัวอย่างในโพสหน้านะครับ
ถ้าชอบเรื่องราวแบบนี้ฝากกดไลก์กดแชร์เป็นกำลังให้ผมด้วยนะครับ จะได้มีกำลังใจเขียนเรื่องราวกงสีต่อไป ขอบคุณครับ
โฆษณา