Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
จ
จับฉ่าย
•
ติดตาม
15 ธ.ค. 2020 เวลา 15:10 • สุขภาพ
กัญชามาแล้ว ประกาศ !! ปลดล็อก”กัญชา”หลายส่วนไม่ถือเป็นยาเสพติด แล้ว
มีผล 15 ธ.ค.63 ใครๆก็เข้าถึงได้
แต่วันนี้ จะมาเล่าเรื่องกัญชาใช้ในการรักษาcovid-19
อิสราเอลมีการศึกษาทดลองการใช้กัญชามาร่วมรักษา covid-19 ตั้งแต่ในช่วงต้นๆของการระบาด. จนเกิดการระบาดไปทั่วทั้งโลก จนถึงปัจจุบัน(15 ธันวาคม 2563)มีผู้ติดเชื้อไปแล้ว 73,216,748 ราย เสียชีวิต 1,628,642 ราย เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจทั่วโลกมหาศาล ไม่เว้นอิสราเอลที่มีการติดเชื้อไปแล้ว 360,297ราย
อิสราเอลถือเป็นประเทศที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับกัญชามายาวนานมีการศึกษาวิจัย เรื่องกัญชา ตั้งแต่ ค.ศ.1960 โดย ศาสตราจารย์ Raphael Mechoulam ซึ่งปัจจุบันอายุย่าง89ปีแล้ว เป็น คนสำคัญที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งกัญชา(godfather of canabinoid research)เป็นผู้ที่ค้นพบโมเลกุลและสามารถสกัดสารออกฤทธิ์THC ได้ในปี1964 ถัดมาอีกปี คือ 1965 เขาค้นพบสารออกฤทธิ์สำคัญอีกตัวคือ CBD อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาเรื่องกัญชาของโลก Raphael เริ่มต้นศึกษาเรื่องกัญชา โดยได้ทุนสนับสนุนจากNational Institute of Drug Abuse(NIDA)จากอเมริกาโดยการศึกษาวิจัยช่วงแรก เป็นการศึกษาหาสารต่างๆ ที่มีอยู่ใน กัญชา การศึกษาวิจัย ช่วงที่สองใน ราว ปี 1990 ได้ค้นพบ กัญชาที่ร่างกายมนุษย์ผลิตได้เอง คือ Endocanabinoid โดยตั้งชื่อว่า Anandamide(เทียบได้กับendorphins คือ morphine ที่ร่างกายมนุษย์ผลิตได้เอง). พบว่าAnandamide มีบทบาทในการควบคุมระบบต่างๆของร่างกาย. กัญชาจากพืชและกัญชาจากร่างกายมนุษย์มีโครงสร้างที่แตกต่างกันแต่ออกฤทธิ์เหมือนกันตั้งแต่เรื่องของการหลับ ความเจ็บปวด การอักเสบ อารมณ์ ความหิวเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ตอนนี้การศึกษาวิจัยไปสู่ระยะที่สามแล้วคือศึกษาendocanabinoid ตัวอื่นๆที่สัมพันธ์กับanandamide ที่พบมาร่วม 30 ปีแล้ว
ตลอดระยะเวลาที่ศึกษามาทำให้Raphael Mechoulam กล่าวว่า”ในทุกๆโรคที่ทำการศึกษามานั้นมีendogenous canabinoid เกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น”
Godfather of cannabis research
ท่าจะจริงตามคำกล่าว โรคใหม่ covid-19 ที่อุบัติ ขึ้นมา. มีทีมนักวิจัยจากอิสราเอล ทำการศึกษาวิจัยเรื่องกัญชากับผู้ติดเชื้อCOVID-19 แล้ว
จากข้อมูลที่เราทราบกันอยู่ว่า ตัวไวรัสSARS-CoV-2 ไม่ได้ทำให้คนเสียชีวิตด้วยตัวไวรัสเอง แต่เป็นผลจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้งหลายเกิดปฏิกิริยาต่อเชื้อไวรัสจนทำให้มีการอักเสบ(inflammation)ทั่วร่างกาย จากการตอบสนองที่มากมายและรุนแรง(cytokines strom) เพื่อกำจัดตัวเชื้อที่เป็นสิ่งแปลกปลอม เหมือนเผาไฟทั้งทุ่งเพื่อฆ่าหนูนา ทำให้อวัยวะต่างๆเช่นปอด หัวใจ ระบบประสาทส่วนกลาง สูญเสียการทำหน้าที่ จนเสียชีวิตได้
การอักเสบเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายเพื่อปกป้องตนเองจากสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เกิดจากการตอบสนองทั้งระดับเซลเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ที่มาจัดการกำจัดสิ่งแปลกปลอมโดยตรง สารเคมีมากมายที่หลั่งออกมา เพื่อปรับสภาพสิ่งแวดล้อมของร่างกายให้ไม่เหมาะต่อการอยู่ของสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น
ร่างกายจำเป็นต้องมีการอักเสบเพื่อป้องกันตนเองแต่ถ้าการอักเสบมากเกินไปก็จะเกิดอันตราย ต่ออวัยวะต่างๆ การควบคุมการอักเสบดังกล่าวไม่ให้มากเกินไป ก็สามารถควบคุมความเสียหายที่จะเกิดกับอวัยวะต่างๆได้
มีการทดลอง ทดสอบยาต่างๆที่เคยใช้ในการรักษาโรคอื่นเพื่อรักษาcovid -19 ตั้งแต่ ยารักษามาลาเรีย ยารักษาข้ออักเสบ ยารักษาcorona virus ตัวอื่นๆ เช่น SARS MERS ไข้หวัดใหญ่ ยารักษามะเร็ง สเตียร์รอย เป็นต้น
รวมทั้งสมุนไพรเช่นฟ้าทะลายโจร กัญชา
กัญชามีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร ทำไมถึงคิดว่ากัญชาช่วยในการรักษา การติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ทำให้เป็นโรค COVID-19 ได้
เราทราบมาว่า กัญชามีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ canabinoid และสารออกฤทธิ์อื่นๆราว 120ตัวแต่ที่สำคัญ มี 2ตัวคือ THC(tetrahydrocannabinol )และ CBD (canabidiol)มีฤทธิ์ ในการลดปวด ช่วยให้นอนหลับและลดการอักเสบ ซึ่งฤทธิ์ในการต้านการอักเสบนี่เองที่เป็นที่สนใจในการนำมาใช้ในการรักษา COVID-19 ซึ่งมีกระบวนการอักเสบที่รุนแรงเป็นเหตุให้เสียชีวิต
(…นอกจากนี้ยังพบสารอินทรีย์ในกัญชาชื่อ terpine ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลิ่นต่างๆที่แตกต่างกันไปแต่ละสายพันธ์ ในกัญชา พบ terpine มากกว่า 140 ชนิด มีการศึกษากัญชากับการรักษาโรคต่างๆอย่างกว้างขวาง ทั่วโลก
ประเทศไทย มีการรับรองการใช้กัญชาในการรักษาโรคโดยแพทยสภา
4โรค คือ
1.ลมชักในเด็ก
2.กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
3.อาการคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับยาเคมีบำบัดรักษามะเร็ง
4.อาการปวดเรื้อรัง
ส่วนโรคอื่นๆที่น่าจะได้ประโยชน์จากการใช้กัญชาเช่นโรคพาร์กิสัน อัลไซเมอร์ ความเครียด มะเร็ง ส่วนการใช้กัญชาเพื่อสันทนาการยังไม่ได้รับอนุญาตในประเทศไทย
แนวคิดการใช้กัญชาในประเทศไทยเรามี 2แบบคือ
1.ตามแบบตะวันตก โดยการใช้สารที่สกัดออกมาทั้งสองตัวคือ THC และ CBD เป็นสารออกฤทธิ์เดี่ยวๆหรือผสมในสัดส่วนที่เหมาะสม
2.แบบแผนโบราณของไทย คือสกัดเป็นน้ำมันกัญชาไม่ได้แยก สารเดี่ยวดังกล่าวออกมา ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ผลการรักษาเกิดจากผลรวมของ สารออกฤทธิ์ทั้งหมดที่มีอยู่ในน้ำมันกัญชาหรือที่เรียกว่า “Entourage effect”
https://cbdoilreview.org/cbd-cannabidiol/cbd-entourage-effect/…
)
1
Canabinoids ออกฤทธิ์ ผ่านตัวรับ CB1 ที่พบมากในสมองและ CB2 ซึ่งพบมากในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย พบว่า canabinoid ควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยควบคุมกระบวนการอักเสบผ่าน กลไกต่างๆ เช่นทำให้เซลภูมิคุ้มกันตาย(apoptosis ) กด cytokines ,Chemokines ,ควบคุม T cell. นอกจากนี้ยังสามารถหยุดการเติบโตของเซลมะเร็ง โดยลดการอักเสบ หยุดการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่ไปเลี้ยงเซลมะเร็ง
การศึกษา การใช้กัญชาในการรักษา COVID-19 ในอิสราเอล เริ่มตั้งแต่ช่วงต้นถึงกลางเดือนเมษายน 2563 โดยเลือก ไปที่สาร CBD ซึ่งไม่มีผลทางจิตประสาท เหมือน THC และ มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบที่ดี ร่วมกับควบคุมระบบเซลภูมิคุ้มกันให้ทำงานเหมาะสมไม่น้อยหรือมากเกินไป
ก่อนที่จะมี COVID-19 เคยมีการศึกษาว่า CBD มีฤทธิ์ต้านไวรัสหรือไม่
เคยมีการศึกษาcannabinoid กับการติดเชื้อไวรัสเฉพาะในสัตว์ทดลองเช่นหนู ลิง ยังไม่เคยทำในคน ไวรัสที่เคยทดลอง เช่นไวรัสตับอักเสบ c HIV เริม ,HSV(Herpes Simplex Virus) ไข้หวัดใหญ่(influenza)
การศึกษาการใช้กัญชาในการรักษา Covid-19 ในอิสราเอล มี 3 การศึกษาเริ่มในเวลาไล่เลี่ยกัน
1.โรงพยาบาล Ichilov Hospital ในกรุงเทลอาวิฟ เริ่มศึกษา ในการใช้กัญชา ซึ่งมีสารสำคัญชื่อ canabidiol (CBD)ซึ่งฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยให้การอักเสบจากการติดเชื้อCovid-19 ลดลง ลดcytokines strom จะลดความเสียหายต่ออวัยวะดังกล่าวข้างต้นได้หรือไม่จากการติดเชื้อ Covid-19 ผลการศึกษาคงจะออกมาเร็วๆนี้
2. ศึกษาใช้ CBD ร่วมกับสเตียรอยด์ โดย บริษัท Stero Biotechs
ซึ่งบริษัทนี้จดสิทธิบัตรการใช้ CBD ในการรักษาโรคต่างๆกว่า 130 โรค และ
เมษายน 2563 เริ่มศึกษาการใช้ CBD ร่วมกับ steroid ในการลดการอักเสบ จากการติดเชื้อท้อ
3. ใช้ CBD ใส่เข้าไปใน Exosomes
17 เมษายน 2563 บริษัท InnoCan Pharma ได้ทำข้อตกลงกับ Ramot มหาวิทยาลัย Tel Aviv ในการศึกษาการใช้ เทคโนโลยีการload CBD เข้าไปใน Exosomes และบริหารยาโดยการ สูดดม จะเข้าไปช่วยลดการอักเสบและช่วยให้ปอดฟื้นตัวจากการติดเชื้อ COVID-19
Exosomesคืออะไร
Exosomes เป็น เป็นถุงขนาดเล็กมากซึ่งสร้างจากผนังเซล บรรจุโปรตีน RNA หรืออาจเป็น DNA ของเซลต้นแบบถูกปล่อยออกจากเซลต้นแบบล่องลอยออกไปนอกเซล เหมือนยานอวกาศ ออกเดินทางจากโลก โดยมี ข้อมูลสารและมีภารกิจเฉพาะตามเซลต้นแบบ จะไปหยุดจับกับเซลปลายทางเมื่อมีแขนกลเข้าล็อคกันได้ เช่น receptor ACE-2 ซึ่งพบมากในปอด แล้วไปทำหน้าที่นั้นๆ เมื่อถึงปลายทางแล้ว โดยไปแย่งจับกับcell อวัยวะนั้นๆแทนไวรัสCOVID-19 นี่คือภารกิจของ InnoCan Pharma ที่จะอาศัย exosomes ขนCBD ไปเพื่อลดการอักเสบ และ พวกโปรตีน RNA ที่ขนไปก็จะซ่อมแซมเซลที่บาดเจ็บเสียหายจากการติดเชื้อCOVID-19 (กลยุทธ์ปลอมตัวแทรกซึมเป็นข้าศึกในข้าศึกพร้อมอาวุธครบมือและเสบียงพร้อม)
https://youtu.be/ogS_T_heSQY
เรามาติดตามกันต่อไปว่าจากการศึกษากับคนไข้จริง ของอิสราเอล กัญชาจะสามารถช่วยรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อCOVID-19 ได้หรือไม่คงไม่นานเกินรอ คงจะมีรายงานออกมา
สหรัฐอเมริกา ยังไม่อนุญาตให้ทำการศึกษาในเรื่องนี้ แต่มีการอนุญาติให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ ต้นเดือนเมษายน 2563 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย ไมอามี่ได้ศึกษากลุ่มผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันหรือมีโรคเรื้อรังต่างๆว่ามีผลอย่างไรกับการติดเชื้อCovid-19ในช่วงที่มีการระบาด ก็เป็นอีกชุดการสังเกตุว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ใช้กัญชาอยู่มีอัตราการติดเชื้อCOVID-19-19ต่างจากคนกลุ่มเดียวกันที่ไม่ได้ใช้กัญชาหรือไม่
จนถึงปัจจุบันนี้ (สค.2563) มีการศึกษากัญชาในมากขึ้นนอกจากอิสราเอลทั้งในประเทศจีนและ บราซิล
Source: Prohibition Partners, Clinical Trials databases, media sources
ติดตามกันต่อไปครับ โดยเฉพาะประเทศไทย หลังจากกัญชามีการเปิดกว้างขึ้นตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ref.
1.Cannabinoids as novel anti-inflammatory drugs
Prakash Nagarkatti,† Rupal Pandey,* Sadiye Amcaoglu Rieder,* Venkatesh L Hegde, and Mitzi Nagarkatti
2.
https://picante.today/cannabis/2020/04/18/143449/innocan-pharma-collaborates-with-tel-aviv-university-to-develop-a-new-revolutionary-approach-to-treat-the-covid-19-corona-virus-with-exosomes-loaded-cbd/
3.
https://www.tabletmag.com/sections/news/articles/raphael-mechoulam-israel-cannabis
4.
https://ramot.org/about-ramot
5.
https://en.wikipedia.org/wiki/Exosome_(vesicle)
6.
https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(20)30628-0/fulltext#
บันทึก
2
6
2
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย