Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SKY&PLANE
•
ติดตาม
2 พ.ค. 2020 เวลา 09:33 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รวมฮิตการใช้งานเกี่ยวกับ....อุปกรณ์ฉุกเฉินบนเครื่องบิน✈️🚒🔥
หลายๆท่านคงเคยรู้จักอุปกรณ์ฉุกเฉินหลายรูปแบบบนเครื่องบินไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็น หน้ากากออกซิเจน แพยาง
แต่รู้ไหมครับว่าลึกลงไปในสิ่งเหล่านั้น อาจมีเรื่องราวของอุปกรณ์ที่เราไม่เคยรู้ ทั้งการออกแบบ วิธีการทำงานของมัน ว่ามันน่าทึ่งขนาดไหน ลองไปอ่านกันดูเลยครับ
1. เรามาเริ่มกันด้วย "สไลด์เดอร์-แพยาง" กันดีกว่า
สไลด์เดอร์-แพยาง หรือ Slide-Raft เป็นการออกแบบมาให้เป็นทั้ง สไลด์เดอร์ และ แพ ได้ด้วยหากเครื่องต้องลงฉุกเฉินจอดบนน้ำ ที่สำคัญคือ ถูกออกแบบให้อพยพผู้โดยสารออกได้ภายใน 90 วินาที และพองตัวพร้อมกางออกภายใน 10 วินาที (เพื่อความรวดเร็วในการอพยพ)
1
จะถูกเก็บไว้ที่ตรงประตูมีโหมดการทำงานเป็น 2 แบบ คือ แบบอัตโนมัติเมื่อเปิดประตู และ โหมดปลดการทำงานแบบอัตโนมัติ
ภาพแสดง ตัวอย่างการอพยพด้วย Slide-Raft และตำแหน่งติดตั้งแพยาง
ซึ่งก๊าซที่ใช้ช่วยในการเติมลมจะเป็นไนโตรเจน นั่นเพราะว่ามันติดไฟได้ยากแต่บางครั้งอาจผสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปด้วย เพื่อช่วยชะลออัตราการไหลของไนโตรเจน โดยจะต้องมีการตรวจสอบความดันของระบบให้อยู่ในมาตรฐานเสมอ เพื่อมั่นใจว่าแพจะกางได้ปกติ
แพยางจะอาศัยระบบการจ่ายก๊าซไนโตรเจนผ่านอุปกรณ์ที่ชื่อ Aspirator
โดยอุปกรณ์ตัวนี้ออกแบบโดยใช้หลักของ Venturi หรือ อธิบายง่ายๆคือ การออกแบบแบบนี้ จะช่วยให้สามารถดึงอากาศภายนอกเข้ามาช่วยเติมลม (ดังภาพ) โดยอัตราส่วน ไนโตรเจน 1 ส่วน ต่อ อากาศภายนอก 500 ส่วน
และที่แพยาง จะมีมีดตัด ให้แพหลุดออกจากเครื่องบิน หากกรณีจอดบนพื้นน้ำเรียกว่า "Raft Knife"
กดภาพเพื่อดู Aspirator และ Raft Knife กันชัดๆนะ
2. มาต่อกันด้วยอุปกรณ์ยอดฮิต "หน้ากากออกซิเจน"
หรือ ชุดอุปกรณ์สร้างออกซิเจนให้กับผู้โดยสารด้วยกระบวนการทางเคมี (Oxygen generator : Chemical)
การใช้งาน คือ ผู้โดยสารต้องทำการกระตุกหน้ากากออกซิเจนเพื่อให้อุปกรณ์ทำงาน โดยเมื่อมีการทำปฏิกิริยาของสารเคมีด้านในแล้ว อุปกรณ์จะมีความร้อนสูง จึงห้ามสัมผัสเด็ดขาด!! และจะใช้งานได้เป็นเวลา 10-15 นาที
ภาพชุดอุปกรณ์สร้างออกซิเจนให้กับผู้โดยสารด้วยกระบวนการทางเคมี
ช่วงเวลา 10-15 นาทีนั้น เพียงพอสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่นักบินจะสามารถลดระดับลงเครื่องบินลงมาอยู่ในความสูงที่ผู้โดยสารสามารถหายใจได้โดยไม่ต้องใช้หน้ากากออกซิเจนช่วย โดยทั่วไปคือต่ำกว่า 10,000 ft นั่นเองครับ
3. ขอปิดท้ายด้วย "Protective Breathing Equipment"
หรือ PBE เราคงไม่ได้เห็นอุปกรณ์นี้กันบ่อยนัก และคงได้อยากเห็นตอนกำลังนั่งบินแน่ๆครับ เพราะอุปกรณ์นี้ คือ
อุปกรณ์ช่วยในการหายใจที่ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น เกิดไฟไหม้รุนแรงมีควันจำนวนมาก ลูกเรือหรือนักบินต้องใช้สวมใส่เพื่อเข้าไปดับไฟ
อุปกรณ์ PBE
ซึ่งชุดอุปกรณ์นี้อาจหน้าตาแตกต่างกันไปตามผู้ผลิตนั่นเอง และ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ใช้ยามฉุกเฉินที่สำคัญ นักบินและลูกเรือจึงต้องทำการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ยังไม่หมดอายุและสามารถทำงานได้เป็นปกติ
ขอจบเพียงแต่เท่านี้ก่อน เดี๋ยวจะยาวมากเกินไป จนผู้อ่านทุกคนเบื่อกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อยนะครับผม
1 บันทึก
1
2
3
1
1
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย