Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Strategist
•
ติดตาม
2 พ.ค. 2020 เวลา 10:59 • ธุรกิจ
OPINION SHARING
กลวิธีบริหารร้านอาหารที่จะเปิดให้บริการช่วง Covid-19
ตามที่รัฐบาลประกาศให้ร้านอาหารต่างๆ เริ่มกลับมาเปิดให้บริการลูกค้าให้ทานอาหารที่ร้านได้ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 2563 เป็นต้นไป โดยมีเงื่อนไขที่ต้องคำนึงดังนี้
1. ต้องเปิดให้บริการในช่วงเวลาก่อนเคอร์ฟิวเท่านั้น ก็คือ ต้องปิดให้บริการและควรให้ทั้งลูกค้าและพนักงานกลับถึงบ้านก่อน 4 ทุ่ม
2. การจัดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และเจลแอลกอฮอล์ล้างมือไว้ให้ลูกค้าใช้บริการ
3. การจัดร้านอาหารและการให้บริการโดยมีรักษาระยะห่างที่เหมาะสม โดยเฉพาะร้านอาหารประเภทปิ้งย่างชาบูที่อนุญาตให้ลูกค้านั่งโต๊ะละ 1 คนเท่านั้น ไม่ว่าลูกค้าจะมาด้วยกันหรือไม่ก็ตาม
จากนโยบายข้างต้น ก็สามารถเข้าใจได้ถึงเจตนาที่ดีของรัฐบาลที่พยายามป้องกันไม่ให้จำนวนผู้ป่วย Covid-19 กลับมาเพิ่มจำนวนขึ้นอีก แต่ปัญหาที่ร้านอาหารต้องเจอคือพฤติกรรมของลูกค้าที่ขัดกับนโยบายในการรักษาความปลอดภัยที่ถูกกำหนดขึ้น ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของฝั่งผู้ให้บริการร้านอาหารที่ต้องปรับตัวให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ภายใต้เงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป
จากมุมมองของผม ผมเห็นความเสี่ยงที่ร้านอาหารที่จะเปิดให้บริการในช่วงควบคุม Covid-19 ดังนี้
1. ความเสี่ยงเรื่องของความหนาแน่นและจำนวนลูกค้าที่จะเข้ามารับประทานอาหารในแต่ละช่วงเวลา
2. ความเสี่ยงเรื่องของการสต๊อควัตถุดิบ และพนักงานที่จะเข้ามารองรับให้บริการลูกค้า
3. ความเสี่ยงเรื่องของความคุ้มทุนระหว่างรายได้ที่จะได้รับกับต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจในช่วงเวลาควบคุมนี้
และจากควาเสี่ยงทั้งหมดที่ผมเห็นในข้างต้น ผมคิดว่าร้านค้าที่จะเปิดให้บริการในช่วงนี้ต้องประเมินจำนวนลูกค้า จำนวนโต๊ะ ยอดขายต่อโต๊ะ และเวลาที่เปิดให้บริการ หลังจากจัดสรรเรื่องการรักษาระยะห่างที่เหมาะสมแล้ว ถ้าหากคำนวนมาแล้วไม่คุ้มกับต้นทุนการดำเนินธุรกิจ ผมคิดว่าการขายออนไลน์ และ take home ยังน่าจะเป็นวิธีการที่ลดความบาดเจ็บในการดำเนินธุรกิจที่ปลอดภัยกว่า
แต่หากประเมินออกมาแล้วคิดว่าคุ้มที่จะเปิดให้บริการ ร้านค้าควรที่จะหาวิธีการในการควบคุมการสต็อควัตถุดิบและจำนวนพนักงานที่จะมาให้บริการที่คุ้มค่าที่สุด ตัวอย่างเช่น การให้ลูกค้าทำ Reservation และสั่งอาหารล่วงหน้า อย่างน้อย 1 -2 วัน วิธีนี้ก็จะช่วยให้ร้านค้าพอที่จะคำนวณการสั่งซื้อและ stock วัตถุดิบ และจำนวนพนักงานได้
อย่างไรก็ตาม ในมุมมองผมคิดว่า นโยบายที่ทางรัฐบาลกำหนดออกมา ยังสามารถยืนหยุ่นได้อีก เพือให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกคนจริงๆ โดยอาจจะปรับเรื่องของการให้ลูกค้านั่งได้โต๊ะละ 1 คน เป็น
1. ให้นั่งทานอาหารร่วมกันได้ไม่เกินโต๊ะละ 4 คน แต่ต้องแยกอุปกรณ์ในการรับประทานกันอย่างชัดเจน เช่น ให้ทางร้านบริการจัดแบ่งอาหารทุกอย่างให้ลูกค้าแต่ละราย ไม่ทานรวมกัน หรือ กรณีที่เป็นหมอร่วมให้เพิ่มอุปกรณ์ช้อนกลางสำหรับตักให้ลูกค้าทุกคน
2. ให้ร้านค้า focus ไปที่การรักษาระยะห่างระหว่างกลุ่มลูกค้าที่มารับประทานอาหารแทน เพราะลูกค้าที่เดินทางมารับประทานอาหารที่ร้าน ส่วนใหญ่ก็จะมาเป็นคู่หรือเป็นครอบครัวด้วยรถคันเดียวกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการรักษาระยะห่างระหว่างสมาชิกในกลุ่มในช่วงที่มารับประทานอาหารที่ร้านจึงไม่ใช้วิธีการป้องกันที่เหมาะสมเท่าใดนัก
3. การกำหนดให้มีการทำความสะอาดโต๊ะที่นั่งทุกครั้งที่มีผู้ใช้บริการ ซึ่งในจุดนี้ผมคิดว่าควรจะเป็นการร่วมมือกันระหว่างร้านอาหารและลูกค้าที่จะไปใช้บริการ โดยร้านค้าจัดอุปกรณ์ทำความสะอาดโต๊ะที่นั่งได้เองก่อนที่ลูกค้าจะใช้โต๊ะหรืออุปกรณ์ในร้าน ซึ่งถือเป็นการฝึกนิสัยในการรักษาความสะอาดและป้องกันตัวเองให้กับคนไทยไปในตัวด้วยได้
และทั้งหมดนี้เป็นมุมมองส่วนตัวของผม หากท่านใดมีมุมมองอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ ก็อยากจะขอให้ท่านช่วยสละเวลาแบ่งปันความคิดเห็นกันได้ผ่านการ comment ด้วยนะครับ เพื่อให้ผู้ที่ผ่านมาอ่านได้นำไปปรับใช้ หรือนำไปต่อยอดในการสร้างกลวิธีในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤตินี้ได้อย่างรอบคอบและรัดกุมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ทุกคนในสังคมผ่านพ้นช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ไปได้ด้วยกัน
ขอบคุณครับ
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย