2 พ.ค. 2020 เวลา 14:22 • ประวัติศาสตร์
“รัฐบุรุษอาวุโส” ผู้ที่ถูกกลืนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์
. . วันนี้ในอดีต . .
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
ดร. ปรีดี พนมยงค์ ถึงแก่อสัญกรรม
คงไม่มีใครไม่คุ้นเคยใบหน้าของนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของประเทศไทยคนนี้
อดีตนักอภิวัฒน์สยาม 2475 และผู้สำเร็จราชการแทนในหลวงรัชกาลที่ 8
อีกทั้งยังเป็นผู้นำ ‘ขบวนการเสรีไทย’ ที่ทำให้ประเทศเราไม่ตกเป็นผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
แต่โชคชะตาฟ้าลิขิตให้ผู้ที่มีคุณูปการต่อชาติ ต้องเผชิญกับมรสุมในชีวิต จนถึงขั้นลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเศส 🇫🇷 และถึงอสัญกรรมที่นั่น
3
.
.
1
คณะราษฎรเริ่มก่อตั้งขึ้นรุ่นแรกที่กรุงปารีส, ฝรั่งเศส 🇫🇷 โดยมีสมาชิกทั้งหมด 7 คน ซึ่งเป็นนักเรียนทุนที่ได้เรียนในยุโรป
3
จนต่อมาก็มีสมาชิกเพิ่มขึ้นมาอีกเป็นร้อย
คณะราษฎรแบ่งออกเป็น 3 สาย ดังนี้ :
👨 ปรีดี พยมยงค์ : หัวหน้าสายพลเรือน
👨 หลวงสินธุ์สงครามชัย : หัวหน้าสายทหารเรือ
👨 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา : หัวหน้าสายทหารชั้นผู้ใหญ่
1
= สาเหตุที่ต้องปฏิวัติ =
◽ ก่อนหน้าคณะราษฎร เคยมีกลุ่มคนที่พยายามเปลี่ยนแปลงระบอบมาแล้ว รู้จักกันในนาม ‘กบฏ ร.ศ. 130' ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว ถือเป็นการจุดประกายให้แก่คณะราษฎร
◽ เศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างมากสมัยในหลวงร.7
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั่วโลกต่างประสบปัญหาเศรษฐกิจไม่สู้ดี แต่รัฐบาลไม่สามารถจัดดำเนินการให้ดีขึ้นไปกว่าเดิมได้
◽ กลุ่มนักเรียน / ข้าราชการ ได้ไปศึกษาที่ยุโรป และได้เห็นความเจริญก้าวหน้าของประเทศในแถบนั้น จึงมีความคิดว่าควรนำระบอบประชาธิปไตยเข้ามาเผยแพร่ในไทยบ้าง
◽ สื่อสิ่งพิมพ์สมัยนั้นมีการเขียนวิพากษ์วิจารณ์ข้อบกพร่องของรัฐในการบริหารประเทศอยู่เนือง ๆ แถมยังยกย่องเชิดชูระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย
1
◽ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัย เนื่องจากเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มชนชั้นสูง มีการผูกขาดรวมศูนย์อำนาจในกลุ่มเจ้านายและขุนนางชั้นสูง ส่งผลให้งานราชการแผ่นดินล่าช้าและไร้ประสิทธิภาพ
.
.
ปรีดี พนมยงค์ เปรียบดั่งมันสมองของคณะราษฎร
ท่านคือผู้ร่างคำประกาศในวันก่อการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ โดยเป็นผู้ร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 และรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของสยามประเทศ นับเป็นบรรทัดฐานของการปกครองในระบอบใหม่
⭐️ บทบาทของปรีดีในสงครามโลกครั้งที่ 2 ⭐️
ช่วงปลายปีพ.ศ. 2484 กองทัพญี่ปุ่นส่งกองกำลังบุกไทย ซึ่งขณะนั้นปกครองภายใต้การนำของจอมพลป. พิบูลสงคราม และจอมพลป. ก็ได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศสงครามกับไทย
ญี่ปุ่นบุกไทย
ปรีดี พนมยงค์ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนในหลวงรัชกาลที่ 8 ไม่เห็นด้วยกับการที่ญี่ปุ่นละเมิดอธิปไตยไทย จึงได้แอบจัดตั้งองค์กรลับ ๆ ที่ใช้ชื่อว่า “ขบวนการเสรีไทย” ขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาเอกราชของประเทศไทย
1
ปรีดี พนมยงค์ ดำเนินการทางการทูตทำความเข้าใจกับฝ่ายสัมพันธมิตร ว่าประชาชนชาวไทยไม่ได้เห็นชอบกับการทำสงครามของญี่ปุ่น และทางไทยก็พร้อมจะร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตรในการต่อต้านญี่ปุ่นทุกวิถีทาง
ภารกิจที่เสี่ยงอันตรายของขบวนการเสรีไทยนั้น เดิมพันด้วยชีวิตของสมาชิกทุกคน
.
.
แต่แล้ว ญี่ปุ่นที่ถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณูของสหรัฐฯ ก็ประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข 🏳️🏳️
ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงแจ้งให้ปรีดีทราบว่า พวกเขาจะไม่ถือว่าไทยเป็นผู้แพ้สงคราม
ส่งผลให้ไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้อย่างสวยงาม
ในหลวงรัชกาลที่ 8 เห็นว่าปรีดีมีคุณูปการในฐานะผู้กอบกู้บ้านเมืองและทำประโยชน์ใหญ่หลวงให้แก่ประเทศชาติในเรื่องของการเมืองการปกครอง, การศึกษา, รวมถึงเศษฐกิจ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ปรีดี พนมยงค์ เป็น “รัฐบุรุอาวุโส” ในวันที่ 8 ธันวาคม 2488
วันที่ 25 มกราคม 2489 ที่ประชุมสภามีมติโหวตเลือกปรีดีเป็นนายก แต่ปรีดีปฏิเสธ ก็เลยได้นายควง อภัยวงศ์ ขึ้นมาแทน
1
วันที่ 18 มีนาคม 2489 นายควงประกาศลาออก และเมื่อมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันถัดมา มติเอกฉันท์ก็ยังเป็นปรีดีอยู่ดี โดยทางสภาทำหนังสือขอร้องให้ปรีดีตอบรับเนื่องจากตอนนี้สถานการณ์ในประเทศยังอยู่ในภาวะคับขัน ต้องการผู้ที่เป็นตัวแทนเจรจากับประเทศพันธมิตร ปรีดีจึงตอบตกลง
1
หลังจากที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว ปรีดีก็ลาออกในวันที่ 3 มิถุนายน 2489 เนื่องจากภารกิจของท่านลุล่วงไปได้ด้วยดีแล้ว จึงหมดหน้าที่ต้องทำในฐานะผู้นำประเทศ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ท่านไม่ได้ฝักใฝ่ตั้งแต่แรก
แต่ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงเรียกปรีดีเข้าพบและขอให้ท่านเป็นนายกต่อ
// ในหลวงร.8 กับดร.ปรีดี มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น และพระองค์ก็ทรงไว้ใจปรีดีเป็นอย่างมาก
🍂 จุดพลิกผัน 🍂
เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เมื่อในหลวงร.8 เสด็จสวรรคต
ปรีดีจึงลาออก โดยระบุเหตุผลไว้ในใบลาว่า ในหลวงเป็นผู้แต่งตั้งตน ในเมื่อในหลวงเสด็จสวรรคตแล้ว ก็จะขอลาออกและไม่ต้องการรับตำแหน่งอีก
แต่วันต่อมา ที่ประชุมสภาก็โหวตเลือกปรีดีกลับมาเป็นนายกรอบที่ 3 เพราะเห็นว่าไม่มีใครเหมาะไปมากกว่าท่านแล้ว
ซึ่งในหลวงร.9 ก็ทรงลงพระปรมาภิไทยรับรอง
(**) ดูหลักฐานได้จากเอกสาร
"รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี"
ในขณะเดียวกัน ศัตรูทางการเมืองของปรีดี เห็นช่องทางในการกำจัดเขา
พรรคการเมืองฝ่ายค้าน นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ จับมือกับกลุ่มอำนาจเก่า กระจายข่าวไปตามหนังสือพิมพ์ รวมถึงส่งคนไปตะโกนที่โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุงว่า “ปรีดีฆ่าในหลวง”
1
// สืบทราบภายหลังว่าชายคนที่ไปตะโกนนั้นคือนายเลียง ไชยกาล สส.ประชาธิปัตย์ ซึ่งเขาได้เขียนจดหมายขอขมาปรีดีหลังจากที่ออกจากพพรค
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 พลโทผิณ ชุณหะวัณ และคณะ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง โดยเหตุผลที่กล่าวอ้างก็คือ "รัฐบาลไม่สามารถคลี่คลายคดีสวรรคตของในหลวงได้"
กำลังทหารพร้อมรถถังบุกยิงทำเนียบท่าช้างวังหน้า ซึ่งปรีดีและครอบครัวอาศัยอยู่ และพยายามจะจับกุมตัวปรีดี
1
ปรีดีและครอบครัวจึงต้องหลบหนีออกจากประเทศไปยังสิงคโปร์ และได้ลี้ภัยที่แผ่นดินใหญ่ 🇨🇳 ในเวลาต่อมา (ขณะนั้นจีนอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง)
ในวัยชรา ท่านปรีดีใช้ช่วงสุดท้ายของชีวิตที่ประเทศฝรั่งเศส และถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวายด้วยวัย 83 ปี
,,
👁 และรู้หรือไม่ว่า ..👁
ดร. ปรีดี พนมยงค์ คือผู้สถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ทำให้การศึกษาเข้าถึงทุกคน ไม่เพียงแต่ชนชั้นนำ >> ต่อมากลายเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบันนี้เอง
โฆษณา