3 พ.ค. 2020 เวลา 01:30 • การศึกษา
การแพทย์สายพุทธ ตอนที่๕ การก่อรูปร่าง
การก่อเกิดรูปร่างเป็นร่างกายที่มีอาการ ๓๒ เป็นทฤษฏีปัญจสาขา ที่แผนโบราณเรียนกันในเรื่อง เส้น๑๐ ในโรคนิทาน(แผนก)ในแผนนวดวัดโพธิ์
ตำรากล่าวถึงเส้นที่สำคัญ 3 เส้นหลัก คือ อิทา ปิงคลา และสุมนา ซึ่ง ตรงกับ นาฑี อิฑา ปิงคลาและสุษุมนา ซึ่งเป็นทางเดินจักระ (นาดี) ของโยคะ และการแพทย์แผนไทยรวมหมายถึง ปัญจสาขาสร้างมาเพื่อให้จิตควบคุม ตามเจตนาที่ตนต้องการด้วยอาศัยผ่านลม ๑๐๘ ให้วิ่งเวียนไปในอาการ ๓๒( มหาภูตรูป๔) เนี่องจากสามเส้นหลักหมายถึงการทำงานของตัวควบคุม ด้านกายภายใน และเมื่อต้องการใช้ประโยชน์ให้เกิดผลงานกับร่างกายจึง สร้างแขน ๒ ขา๒ มีหัว ,ลำตัว ซึ่งนิยมใช้ในการแบ่งทางโรค เช่นในตำรา หัตถบำบัดวัดโพธิ์ เป็นต้น ที่เรียกกันว่าปัญจสาขา (รายละเอียดค่อนข้าง มาก ขอให้ศึกษาเป็นแนวทางแล้วหาความรู้เพิ่มเติมภายหน้านะคะ )
เมื่อพูดถึงแกนกลางตามทฤษฏีนี้จะกล่าวแรกเริ่มในปฐมจินดาว่าด้วยการกำ เนิด ดังนี้ ตำราโรคนิทานคำกลอน ตามพระคัมภีร์ปถมจินดาดังนี้
• ไชยเภท การเปลี่ยนแปลงความเจริญเติบโตของไข่ที่ผสมแล้ว จะฟังตัวในมดลูก จะมีเลือดออกนิดหน่อยเป็น ฤดูล้างหน้า
• หลังจากปฏิสนธิ7วัน ก้อนเลือดที่ผสมกันจะข้นเข้าเป็นน้ำล้างเนื้อ
• หลังจากนั้นอีก 7 วัน ก้อนเลือดจะมีรูปร่างเปลี่ยนไป มีลักษณะเหมือนไข่งู
• หลังจากนั้นอีก 7 วัน ก้อนเลือดจะมีปัญจะสาขา คือมี หัว มือ2 เท้า 2 ข้าง
• หลังจากนั้นอีก 7 วัน เกิดมี ผม ขน เล็บ และฟัน
. 1 เดือน กับ 12 วัน ก้อนเลือดจะเวียนเข้าเป็นตานกยูงเพื่อรับวิญญาณการเวียนของทารกเพศชาย และหญิงจะแตกต่าง ถ้าทารกเป็นเพศหญิงเลือดที่ จะเวียนทางซ้าย หากทารกเป็นเพศชายเลือดจะ เวียนไปทางขวา
• ครบ 3 เดือน เลือดจะไหลเข้าไปใน ปัญจะสาขา
• ครบ 4 เดือน ทารกจะมีอวัยวะครบ 32 ประการ โดยเริ่มจากมีหน้าผากก่อนเกิดเปรียบดั่งตาที่๓ ตรงหน้าผาก(ต่อมไพนีล)
เดือนที่๕ ครบรูปและนาม(เบญจขันธ์) คือมีการเวียนธาตุและการตั้งธาตุนี้ จะไปเกี่ยวข้องกับการทำงานของร่างกายในสภาวะปกติ ที่ทำงานในส่วนตอน กลางวัน(เส้นสูรญ์)และกลางคืน(เส้นจันทร์) ระหว่างทารกอยู่ในครรภ์มารดา ทารกจะนั่งขดตัว หันหน้าเข้าหากระดูกสันหลังของแม่ โดยกินอาหาร จาก แม่ไปจนครบกำหนดคลอด เมื่อถึงกำหนดคลอดจะเกิด ลมกัมมัชชาวาต มาพัดพาให้ทารกกลับหัวลงเพื่อคลอดออกมาเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต(ขันธ์๕)
ส่วนในพระไตรปิฏกฉบับ อินทกสูตร "พัฒนาการแห่งชีวิต"เพราะเราต้องมี การสร้างอยาตนะร่วมกันไปด้วยเพื่อเชื่อมจิต..การรับรู้
คนเราจะเกิดขึ้นมาได้ต้องมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ ๑ บิดามารดาร่วมกัน ๒ มารดามีไข่สุกพร้อมจะผสม และ ๓ "คันธัพพะ" ปรากฎ "คันธัพพะ" มีปัจจัยหรือองค์ประกอบ ๓ คือ กรรมที่สัตว์ทำไว้เปรียบเหมือนที่นา วิญญาณเปรียบเหมือนเมล็ดพืช และตัณหาเปรียบเหมือนยางเหนียวในเมล็ดพืช สรุปแล้วคนจะเกิดเป็นคนขึ้นมาได้ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งรูปธรรม และ นามธรรม ในขณะที่นักวิชาการสมัยใหม่พูดถึงแต่ในรูปธรรมอย่างเดียว พัฒนาการของชีวิตในครรภ์ที่ตรัสไว้ข้างบนนั้น ท่านอธิบายรายละเอียดดังนี้
•เบื้องแรกเกิดมี "กลละ" ก่อน จากนั้นก็เป็น "อัพพุทะ" จากอัพพุทะ เป็น "เปสิ"
•จากเปสิเป็น "ฆนะ" จากฆนะ "เป็นปุ่มห้าปุ่ม" จากปุ่มห้าปุ่มเป็นผม ขน เล็บ มารดาดื่มกินอะไร สัตว์ในครรภ์ยังชีพด้วยสิ่งนั้น
•สัปดาห์ที่ ๑ เป็น กลละ มีลักษณะใสดุจน้ำมันเนย มีขนาดเล็กมากเท่าหยดน้ำมันงาที่นำปลายขนจามรีมาจุ่มและสลัดออก ๗ ครั้ง กลละจะมีขนาดเท่า หยดที่ ๗ ซึ่งเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
•สัปดาห์ที่ ๒ เป็น อัพพุทะ มีลักษณะข้นขึ้น ดุจน้ำล้างเนื้อ
•สัปดาห์ที่ ๓ เป็น เปสิ มีลักษณะเป็นชิ้นเนื้อ
•สัปดาห์ที่ ๔ เป็น ฆนะ มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ มีสัณฐานดังไข่ไก่
•สัปดาห์ที่ ๕ เป็น ปสาขะ แตกออกเป็น ๕ ปุ่ม ศีรษะ ๑ แขน ๒ ขา ๒ เรียก ว่า ปัญจสาขา
•สัปดาห์ที่ ๖ เป็น ปริปากะ เป็นปัญจสาขาที่แก่ตัว คือเจริญเต็มที่
•สัปดาห์ที่ ๗ เกิด จักขุปสาท มีการเจริญทางประสาทตา
•สัปดาห์ที่ ๘ เกิด โสตปสาท มีการเจริญของประสาทหู
•สัปดาห์ที่ ๙ เกิด ฆานปสาท มีการเจริญของประสาทจมูก
•สัปดาห์ที่ ๑๐ เกิด ชิวหาปสาท มีการเจริญของประสาทลิ้น ส่วน กายปสาท นั้นมีมาแล้วในขณะที่เกิดปฏิสนธิจิต นับตั้งแต่อุปาทะขณะของปฏิสนธิจิตที่ เรียกว่าปฏิสนธิกาลเป็นต้นไป
•สัปดาห์ที่ ๑๑ จะเจริญต่อไป สร้างอวัยวะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น เป็นต้น จน กว่าจะครบอาการ ๓๒ จึงจะรวมเป็นสัตว์ผู้เกิดในครรภ์มารดา ถ้าเป็นมนุษย์ จะอยู่ในครรภ์มารดาถึง ๒๙๔วัน (๙ เดือน ๒๔ วัน)
โฆษณา