3 พ.ค. 2020 เวลา 02:35
เรื่องเก่าเล่าสนุก
#พระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบคราวนั้น,#การทูตของสยามหรือฟ้าลิขิต,
(ตอนที่ 2)
สวัสดีครับ เพื่อนๆ,
วันนี้ผมได้ชมคลิปของพี่เสก ที่พาชมเจดีย์มิงกุน ที่ยังสร้างค้างไว้ ในสมัยพระเจ้าปดุง (ลูกชายของพระเจ้าอลองพญา) แต่ยังคงสวยงาม ยิ่งใหญ่ จริงๆครับ
(ขอบคุณต้นเรื่อง และแรงบันดาลใจบทความนี้ จากพี่เสกนะครับ) :)
พระเจ้าปดุง มีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า พระองค์ได้ทรงครอบครองสิ่งวิเศษ 2 สิ่ง, หนึ่งคือ พระมหามัยมุนีซึ่งเชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลมหายใจของพระพุทธเจ้า และอีกสิ่งหนึ่งคือ พระทันตธาตุ ของพระพุทธเจ้า
ดังนั้น เจดีย์แห่งนี้พระเจ้าปดุง จึงทรงหมายจะให้เป็นที่ประดิษฐาน “พระทันตธาตุ” โดยหากเจดีย์นี้สำเร็จแล้ว จะสูงถึง 152 เมตร และพระองค์เชื่อว่าจะทรงได้รับพรให้พระองค์ทรงยิ่งใหญ่กว่า พระราชบิดา หรือ แม้แต่พระเจ้าบุเรงนอง,
แต่ที่สุดแล้ว เหตุกลับตาลปัตร หลังจากเริ่มสร้างเจดีย์ด้วยมิจฉาทิฐิเช่นนั้น การนี้กลับไม่สำเร็จ และพระองค์ยังพ่ายสงคราม 9 ทัพ,สงครามกับอังกฤษ , จนสิ้นพระชนม์ก่อนจะสำเร็จ เจดีย์นี้จึงสูงเพียง 50 เมตร,
แต่...เกือบ 80 ปีต่อมา สยามนั้น กลับได้
”พระบรมสารีริกธาตุ”
จากอังกฤษ และยังได้ครอบครองพระแก้วมรกตแล้วอีก,
ฤาสยาม จึงผ่านวิกฤตจากอังกฤษ และฝรั่งเศส ได้ตามตำนาน “เมืองไร้พ่าย” นั้นจริงๆ,
1
เรื่องราวต่อไปจะเป็นอย่างไรนั้น ขอเชิญติดตาม ล้อมวงเข้ามาฟัง กันนะครับ :)
#พระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบคราวนั้น,
-ในปี พ.ศ. 2441 ทางการอังกฤษโดย "วิลเลียม แคลกซตัน เปปเป"
(W.C.Pep’e) ทำการขุดค้นทางโบราณคดีที่รัฐอุตระประเทศของอินเดียใกล้ชายแดนเนปาล และพบโถบรรจุอัฐิพร้อมจารึกของตระกูลศากยวงศ์เมื่อ 300 ปีหลังพุทธกาลกำกับที่ด้านบนของโถว่า นี่คือ “ภาชนะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ได้ขุดพบอัฐิธาตุในพระสถูป ณ ที่ใกล้ตำบลปิปราหวะ ปลายแดนเนปาลคือเมือง กบิลพัสดุ์ มีอักษรจารึกเป็นอย่างเก่าที่สุด,
-ทางอินเดียบอกว่า เป็นพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ในส่วนที่กษัตริย์ศากยราชในกรุงกบิลพัสดุ์ได้รับแบ่งปันหลังจากที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว,
#การทูตของสยามหรือฟ้าลิขิต,
-ขณะนั้นพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย ทรงผนวชอยู่ที่ลังกา เมื่อทราบข่าวแล้ว จึงได้รีบรุดไปเจรจากับรัฐบาลอังกฤษในอินเดียทันที และเสนอว่าควรส่งพระบรมสารีริกธาตุไปให้ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธเป็นศาสนา
-ซึ่งจะเป็นเพราะ “การทูตของสยามหรือ ฟ้าลิขิต” หรือจะเป็นทั้งสองประการ ทางอังกฤษกลับเห็นด้วยและ ทูลถวายส่งไปให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯในปีนั้นทันที โดยเหตุผลสำคัญที่อังกฤษ ระบุในเหตุผลทางการทูต นั้น คือ “.,,เพราะสยามเป็นประเทศเอกราชแห่งเดียวในโลกที่นับถือพุทธศาสนา...” (ญี่ปุ่นก็เป็นประเทศเอกราชเช่นเดียวกัน แต่นับถือลัทธิชินโต และศาสนาพุทธ จึงไม่นับรวม ความพิเศษอย่างเช่นสยาม) ,
นอกจากนี้ ถ้าเป็นเหตุผลในเรื่องฟ้าลิขิต ก็อาจจะอ้างได้เพราะเหตุที่ มาเควส เคอสัน (The Marquess Curzon) ผู้เป็นอุปราชครองอินเดีย ,ก่อนหน้านั้นเคยอยู่กรุงเทพ ฯ และยังมีความคุ้นเคยกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนในเรื่องนี้,
-ดังนั้น รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม-ขณะเป็นเปรียญ) แต่ครั้งยังเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต เป็นผู้แทนประเทศไทยออกไปเชิญ”พระบรมสารีริกธาตุ” สู่สยาม, (ขอเล่าเรื่องราวในการอัญเชิญไปในโพสต์หน้านะครับ :)
-จากนั้นพระองค์ทรงให้นำส่วนหนึ่งไปประดิษฐานบนยอดภูเขาทอง อีกบางส่วนได้ทรงปันให้ “ญี่ปุ่น” “ศรีลังกา” ,และ “พม่า” ที่ตามมาขอพระราชทานจากไทย (เพราะพม่าขอกับอังกฤษไม่ได้),
-ส่วนพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือ โปรด ฯ ให้สร้างพระเจดีย์ทองสัมฤทธิ์เป็นที่บรรจุแล้วโปรด ฯ ให้ประกอบพระราชพิธีบรรจุในพระเจดีย์บนยอดบรมบรรพต ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2442,
ภาพ:วิกีพีเดีย
#เกร็ดเพิ่มเติม,
-และพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในพระเจดีย์บนยอดบรมบรรพต คือ “พระทันตธาตุ” ที่คนทั่วไปเรียกกันว่า “พระเขี้ยวแก้ว” ของพระพุทธเจ้า,
พระเจ้าปดุงเชื่อว่าหากสร้างเจดีย์ให้ครอบ “พระทันตธาตุ” ประดิษฐานสำเร็จพระองค์จะทรงยิ่งใหญ่ที่สุดและถูกจดจำตราบนานเท่านาน,
-ท้ายที่สุดแล้ว เจดีย์มิงกุน ที่สร้างด้วยเจตน์จำนงค์ แห่งศรัทธาในการครอบครอง และความยิ่งใหญ่ ท้ายสุดกลับสูงเพียง 50 เมตร, แต่บรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง ที่สร้างด้วยเจตน์จำนงค์ แห่งการน้อมนมัสการ และความเมตตาในจิตแห่งการแบ่งปันของพระมหากษัตริย์ไทยกลับสูง 59 เมตร,
และยังสร้างมิตรภาพกับญี่ปุ่น อันเป็นที่มาของ”วัดนิตไตยจิ”
เพราะพระทันตธาตุนั้นมาจากพระโอษฐ์ของพระตถาคตเพื่อให้พุทธศาสนิกชนระลึกถึงความเมตตา และชัยชนะเหนือพญามาร มิใช่เพื่อการทารุณหรือชัยชนะแห่งโลกนี้,
สวัสดี และขอจบเพียงเท่านี้
ขอบคุณครับ
ร้อยเรียงข้อมูลเก่า เล่าใหม่
(T.Mon&Prame)
3/5/2020
ภาพและข้อมูลสนับสนุนส่วนหนึ่ง: :Relics in Transition: Material Mediations in Changing Worlds
Sraman Mukherjee,
โฆษณา