4 พ.ค. 2020 เวลา 11:56 • ธุรกิจ
เงินเฟ้อ หรือ เงินฝืดกันแน่?
สถานการณ์โควิด-19 ทำให้นักวิเคราะห์ต่างถกเถียงกันว่า โลกของเรากำลังจะเจอกับภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดกันแน่
เงินเฟ้อ (Inflation) vs เงินฝืด (Deflation) คืออะไร?
เงินเฟ้อ (Inflation) คือภาวะที่ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น คนรู้สึกว่ามีเงินเยอะขึ้นและจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น และส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามหากมากเกินไปจะทำให้เกิด Hyperinflation อย่างที่เคยเกิดขึ้นในซิมบับเว ยูโกสลาเวียและเวเนซูเอล่า ซึ่งเงินแทบจะเป็นสิ่งที่ไร้ค่า
เงินฝืด (Deflation) คือ ภาะที่ราคาสินค้าและบริการปรับตัวต่ำลง ซึ่งสาเหตุมาจากความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ เนื่องจากอุปสงค์ (Demand) ลดลง คนไม่ค่อยซื้อของ ผู้ผลิตขายสินค้าไม่ได้ และทำให้เศรษฐกิจถดถอยตามมา
photo from Special to ETF Trend
เงินฝืด สินค้าถูกลง งั้นก็ดีละซิ?
แม้ว่าสินค้าและต้นทุนการผลิตจะถูกลง แต่นั่นทำให้ผู้บริโภคไม่อยากจับจ่ายใช้สอย เช่นหากเราคิดว่าเศรษฐกิจไม่ดี เราก็คงอยากเก็บไว้ใช้กับสิ่งที่จำเป็นมากกว่า นั่นส่งผลต่อวงจรเศรษฐกิจเพราะบริษัทก็จะขายของได้น้อยลง อาจต้องลดแรงงานการผลิต คนตกงานและกำลังซื้อก็ลดลงไปอีก ส่งผลกระทบต่อมาคือ คนไม่มีเงินใช้หนี้และมีการผิดชำระหนี้มากขึ้น
ซึ่งดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index หรือ CPI) เป็นเครื่องมือการวัดอัตราเงินเฟ้อ มาดูกันว่าตอนนี้ CPI เป็นอย่างไรบ้าง
CPI ในเดือนมีนาคมได้ปรับตัวลดลง และยังต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้อีกด้วย ซึ่งแม้ว่านักวิเคราะห์บางแห่งบอกว่ามันอาจจะเกิด hyperinflation ขึ้น แต่นั่นเกิดขึ้นกับสินค้าเพียงบางชนิดในตลาดเช่น แอลกอฮอลล์ หน้ากากอนามัยและสินค้าบางประเภทเท่านั้น
หากดูในภาพใหญ่มากขึ้น Demand หรือความต้องการซื้อสินค้าหายไปมาก เห็นได้ชัดเจนจากราคาน้ำมัน (Crude Oil) ที่ปรับตัวลดลง ซึ่งโดยปกติราคาน้ำมันเป็นตัวที่สามารถสะท้อนอุปสงค์ อุปทานของโลกได้ (leading indicators) และราคาน้ำมันที่ผ่านมาที่ร่วงจนติดลบนั่นสะท้อนให้เห็นถึง supply shock เหมือนกัน
ธุรกิจสายการบินและท่องเที่ยวตอนนี้ก็ได้รับผลกระทบจาก Demand ที่หายไปอย่างมากและต้องแบกรับกับต้นทุนที่สูง ราคาสินค้ายานยนต์ลดลง 0.4% หลายธุรกิจเช่น Delta, Marriott, Macy’s, Bed Bath และอีกหลายธุรกิจได้ประกาศลดเงินเดือนผู้บริหาร ธุรกิจเล็กๆหลายแห่งลดเงินเดือนพนักงานถึง 30% เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรากำลังเผชิญตอนนี้ดูเหมือนจะเป็น Deflation มากกว่า Inflation
โฆษณา