5 พ.ค. 2020 เวลา 04:23 • การศึกษา
วันวิสาขบูชามีความสำคัญอย่างไร ?
เราชาวพุทธควรปฏิบัติตนเช่นไร ? ในสถานการณ์ไวรัสโควิด 19 ระบาด
วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชามีความสำคัญอย่างไร ?
ในสภาวการณ์โควิด19 ระบาดเราพุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนเช่นไรให้ปลอดภัยและได้บุญใหญ่ไปพร้อมกัน ?
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีนี้ ตรงกับ วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พุทธศักราช 2563
เรามาศึกษาถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชาเพื่อจะได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ถูกต้องและให้ได้บุญเป็นพิเศษ และสำคัญซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 เราจึงควรศึกษาถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชาและการปฏิบัติตนให้ได้บุญและปลอดภัยกัน
วันวิสาขบูชา (บาลี: วิสาขปุณฺณมีปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง
และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย และมักตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย โดยในประเทศไทย ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7
แต่ประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท และไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] ส่วนในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกายที่นับถือว่า เหตุการณ์ทั้ง 3 นั้นเกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ซึ่งไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท[3]
วันวิสาขบูชา นั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล
โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน)
2
และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น
ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน คลิกศึกษาเพิ่ม
โดยปกติของพุทธศาสนิกชน วันวิสาขบูชา เป็นวันที่เราชาวพุทธพาครอบครัวและคนที่รักไปเข้าวัดบำเพ็ญบุญ ทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา สวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรและเวียนประทักษิณ ณ วัดใกล้บ้านและวัดที่เราคุ้นเคย เพื่อไปร่วมสั่งสมบุญและร่วมกิจกรรมบุญดังกล่าว
แต่ด้วยในสภาวการณ์ปัจจุบันได้เกิดเหตุโรคไวรัสโควิด 19 ระบาด จึงทำให้เกิดผลกระทบ พุทธศาสนิกชนไม่สามารถพาบุคคลอันเป็นที่รักไปสั่งสมบุญที่วัดได้ เพราะจะต้องหลีกเลี่ยงการเข้าไปในแหล่งชุมชนที่มีกิจกรรมบุญรวมคนมากๆ เพราะจะเป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดเชื้อ อันจะเป็นเหตุให้มีผู้ติดเชื้อจะทำให้ทุกคนที่ได้รับเชื้อป่วย ทางส่วนงานรัฐบาลจึงได้ประกาศใช้พระราชกำหนดฉุกเฉินและสำนักงานพระพุทธศาสนาสั่งให้ทุกวัดงดจัดกิจกรรมบุญทุกชนิด เพราะจะเป็นเหตุให้มีการแพร่เชื้อและรับเชื้อได้ง่าย ทำให้ทุกวัดไม่สามารถจัดกิจกรรมบุญดังกล่าวได้
เราพุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนเช่นไร ?
" ให้ได้บุญและปลอดภัยจากโควิด 19 "
เราชาวพุทธมิเคยยอมแพ้และย่อท้อต่ออุปสรรคขัดขวางเหตุไวรัสโควิด 19 ระบาด ที่จะทำให้เราประกอบคุณงามความดีไม่ได้ ด้วยทุกวัดได้จัดงานบุญพิธีผ่านสื่อระบบออนไลน์จากทางวัดใกล้บ้านหรือวัดที่ท่านคุ้นเคย ด้วยการเชิญชวนพุทธศาสนิกชนให้ตั้งใจบำเพ็ญบุญ ทำทาน รักษาศีล และนั่งสมาธิเจริญภาวนาที่บ้าน แค่นี้เราก็ได้ทั้งบุญและปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิด 19 แล้ว #หยุดเชื้อหยุดอยู่บ้านแต่ไม่หยุดสร้างความดีและทำให้ปลอดไวรัสโควิด19 ชัวร์ "เวียนเทียนออนไลน์" วัดบวรฯจัดไลฟ์วันวิสาขบูชา 2563
เวียนเทียนออนไลน์ วิถีชาวพุทธใหม่ ในยุคโควิด 19
ขอน้อมกราบอาราธนาพระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราช วันวิสาขบูชาประจำปีพุทธศักราช 2563 เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบกิจกรรมบุญของเราพุทธศาสนิกชนในวันวิสาขบูชานี้
สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรม วันวิสาขบูชา'63
สิ่งที่เราควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ปลอดภัยจากไวรัสโควิด 19 คือ
เราควรปฏิบัติตามกระทรวงสาธารณสุข คือ “กินร้อนช้อนฉันล้างมือบ่อยๆใส่แมสต์” เพื่อป้องกันการรับเชื้อ เราก็จะดำรงชีวิตเป็นสุขได้บุญใสๆและทำให้เราปลอดภัยจากเชื้อโควิด 19
1
ศึกษาเกาะติดและอัปเดตสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)/สื่อความรู้/คำแนะนำ/แนวทางดำเนินงานกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรคตามลิงค์นี้
ร่วมสวดธัมมจักกฯ 1,350,000,000 จบ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา
วันวิสาขบูชานี้ ณ วัดพระธรรมกาย ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ให้ได้ 2,350,000,000 จบ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อเติมบุญเติมบารมีให้กับตนเองและคนที่เรารัก ณ ที่บ้าน
ลิงค์บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
สวดแล้วต้องส่งยอด "ทุกยอดสวดมีค่า"
สวดเสร็จร่วมส่งยอดมาเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการสวดครั้งนี้ให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามลิงค์นี้ ส่งยอดสวด
วันวิสาขบูชานี้เราพุทธศาสนิกชนทุกท่านปฏิบัติตามวัฒนธรรมที่ดีงามมาแต่สมัยพุทธกาล และปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะตามกระทรวงสาธารณสุขดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ อานิสงส์ผลบุญนี้จะทำให้เราชาวพุทธทุกคนจักประสบแต่ความสุขทั้งกายและใจสมปรารถนาทุกประการ สุขภาพร่างกายแข็งแรงปลอดภัยจากเชื้อร้าย โควิด 19 แน่นอน ขอกราบอนุโมทนาบุญ ล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ สาธุค่ะ
วิสาขบูชานี้ #หยุดอยู่บ้านหยุดเชื้อแต่ไม่หยุดสร้างบุญสร้างความดีกันนะคะ ขอให้ทุกท่านประสบแต่ความโชคดี สาธุค่ะ
cr.สุขใจที่ได้ให้สิ่งดีๆ
โฆษณา