5 พ.ค. 2020 เวลา 05:16 • ประวัติศาสตร์
ย้อนความ ประเพณีปี๋ใหม่เมืองชาวล้านนา !
บันทึกความทรงจำปีนี้ฉันไม่ได้เล่นสงกรานต์ 🌊
ปีนี้คงเป็นปีที่ฝังอยู่ในใจของชาวไทยทุกคน
เพราะว่า เป็นปีที่ทุกคนไม่ได้เล่นน้ำสงกรานต์ !! เป็นปีแรก
ในวันนี้จึงอยากจะมาย้อนรอยความเดิม ตามความเชื่อตั้งแต่อดีตของคนโบราณว่าเขามีความเชื่อในประเพณีปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์ของไทยกันอย่างไร
➡️➡️ มาเริ่มกันที่ วันของประเพณีปี๋ใหม่เมืองกัน
ปกติแล้วในทุกๆ ปี วันที่ 13 14 15 เมษายน ของทุกๆปี ชาวล้านนาจะถือว่าเป็นวันปีใหม๋เมือง ซึ่งวันที่ 13 จะเป็นวันสังขานต์ล่อง วันที่ 14 จะเป็นวันเน่าหรือวันเนาว์ วันที่ 15 จะเป็นวันพระยาวันหรือวันที่เราไปวัดทำบุญกันนั้นแหละครับ และวันที่ 16 จะเป็นวันปากปี๋ หรือวันปากปี
แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่อีกแล้ว!! วันเดือนปีที่เคลื่อนคล้อยไปตามหลักโหราศาสตร์ จากวันที่ 13 จึงไม่ใช่สังขานต์ล่อง 14 ก็ไม่ใช่วันเน่า 15 ก็ไม่ใช่วันพระยาวัน อีกต่อไป
แต่คนไทยเรายังถือเอาวันเดิมๆ จึงทำใฟ้เกิดเพษภัย กับบ้านเมือง
➡️➡️ แล้วใดคือวัน สังขานต์ล่อง ในปัจจุบัน
วันสังขานต์ล่อง ในปัจจุบันตรงกับวัน 14 เมษยน
คือ การที่ผ่านพ้นอายุไป 1 ปี ซึ่งตอนสมัยเด็กๆ มักจะถูกปู่หลอกเสมอว่าให้ไปกวาดลานหน้าบ้านที่มีใบไม้ เศษขยะ ไปกองกันไว้แล้วในตอนใกล้รุ่งเช้าของอีกวันก็คือวันที่ 14 (เราเก็บกวาดวันที่ 13 นะ) จะมีคนมาเก็บไป ไอ่เราด้วยความเป็นเด็กตอนใกล้เช้าก็รอดูว่าใครจะมาเก็บ แต่สุดท้ายก็เห็นว่าเป็นปู่นั้นแหละที่เก็บไปทิ้ง
ทำไมถึงขยายความของวันที่ 14 เพราะแท้ที่จริงแล้วมันคือกุศโลบาย ถ้าแปลตามหลักพจนานุกรมก็คือ 'อุบายอันแยบยล' นั้นแหละครับ คนเฒ่าคนแก่เขาถือกันว่าให้เก็บกวาดเอาสิ่งที่ไม่ดี สกปรกทิ้งออกจากบ้านไป แล้วเราเกี่ยวอะไรด้วยก็คงเพราะอยากให้เราได้ละวางจะสิ่งที่ไม่ดีเอาทิ้งไป แล้วได้เริ่มต้นใหม่ เจอแต่สิ่งที่ดี
➡️➡️ แล้วใดคือวัน เน่าหรือวันเนาว์ ในปัจจุบัน
วันเน่าหรือวันเนาว์ ในปัจจุบันตรงกับวันที่ 15 เมษายน
วันที่ 15 เมษายน จะเป็นวันที่ต้องเตรียมสิ่งของต่างๆไปทำบุญในวันรุ่งขึ้น หรือเป็น "วันดา" ซึ่งถือกันว่าห้ามด่าหรือพูดไม่ดีต่อกัน เพราะเป็นวันที่ไม่ดี ไม่เหมาะกับการว่าร้ายให้แก่กัน เชื่อกันว่าถ้าดุด่าเด็กในวันนี้ เด็กก็จะเป็นนิสัยแบบนั้นไปตลอดทั้งปี และยังเป็นวันที่ชาวบ้านจะไปตักทรายเข้าวัด เพื่อก่อเจดีย์ทราย
➡️➡️ แล้วใดคือวันพระยาวัน ในปัจจุบัน
วันพระยาวัน ในปัจจุบันตรงกับวันที่ 16 เมษายน
จะเป็นวันหลังจากที่เราได้เตรียมของมาทำบุญกันในตอนเช้า ชาวบ้าน คนเฒ่าคนแก่จะมาวัดเพื่อทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล้วงลับ เทวดา เจ้ากรรมนายเวรทังหลาย และร่วมฟังเทศนาธรรมอานิสงฆ์ปีใหม่ที่วัดกัน ร่วมกับการปักถวายตุงนักษัตริย์ ตุงไส้หมูกันที่กองเจดีย์ทราย
ช่วงบ่ายก็จะเป็นการรดน้ำดำหัวขอขมาผู้หลักผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน และในบางพื้นที่ก็จะมีกิจกรรมแห่ไม้ค้ำศรีหรือไม้ค้ำโพธิ์ เพื่อสืบต่ออายุพระศาสนา
➡️➡️สุดท้ายวัน ปากปี๋ หรือวันปากปี ก็จะตรงกับวันที่ 17 เมษายน
จัดว่าเป็นวันสำคัญอีกหนึ่งวันในเทศกาลปีใหม่เมือง และถือเป็นวันแรกของปีชาวล้านนา
ความเชื่อบางประการเกี่ยวกับวันปากปี ชาวล้านนาจะกิน “แกงขนุน” หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “แก๋งบ่าหนุน” กันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เหตุผลของการทานแกงขนุนดังกล่าว อาจจะมาจากชื่อขนุน ที่มีความหมายถึงการเกื้อหนุน ค้ำจุน ครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองหรือตลอดปีของคนล้านนา และก็ยังเป็นวันที่สามารถไปรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ได้ตามปกติ
ในช่วงค่ำขึ้นมาอีกเวลา จะเป็นพิธีกรรมในส่วนของครอบครัวที่จะกระทำกันในบ้านเรือนของตน พิธีกรรมดังกล่าวคือ การจุดเทียนบูชาบ้านเรือนหรือคนล้านนาเรียกว่า ต๋ามเตียนปู่จาพระเจ้า โดยเทียนดังกล่าวจะมีอยู่สามเล่ม คือ เทียนบูชาลดเคราะห์ เทียนบูชาสืบชะตา และเทียนบูชาโชคลาภ
ถ้าชอบก็ฝากกดไลค์ 👍 กดติดตามกันด้วยนะครับ
โฆษณา