5 พ.ค. 2020 เวลา 07:48 • ปรัชญา
เมื่อคุณต้องติดต่อพูดคุยกับคนหัวรั้น...
จงจำไว้เสมอว่ามีปัจจัย 4 ประการที่ทำให้เขามีทัศนคติเช่นนี้ ได้แก่
1. โดยปกติเขามักจะปฏิเสธในทุกๆเรื่องไม่ว่าจะเป็นความคิดใดๆก็ตาม โดยเขาจะมีคติประจำใจคือ “การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เลวร้าย”
2. เขามีปัญหากับบางคน ซึ่งในกรณีนี้ก็คือตัวคุณ ไม่ว่าคุณจะชักจูงเขาอย่างไร ไม่ว่าความคิดคุณจะมีเหตุผลแค่ไหน ถ้าเขาได้ยินจากปากคุณ เขาก็ไม่อยากมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
3. เขารู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับความสามารถในการตัดสินใจของตัวเอง และเลือกทำในสิ่งที่ปลอดภัยไว้ก่อนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนหลอกอีก
4. เขาเป็นคนที่ไม่ชอบสถานการณ์ที่แตกต่างไปจากเดิม นั่นไม่เกี่ยวกับคุณเลย หรืออีกนัยหนึ่ง “มันแค่ไม่ใช่ตัวเขา” นั่นเอง
ถ้าคุณเจอกับคนประเภทนี้ คุณคงรู้ดีว่าการต่อล้อต่อเถียงกับพวกเขาย่อมไม่เกิดประโยชน์อะไร
ขั้นตอนที่ 1
ก่อนที่จะข้อร้องให้ใครบางคนช่วยเหลือคุณ ถ้าคุณสามารถทำให้เขากล่าวคำพูดที่สอดคล้องกับตกปากรับคำได้ การทำให้เขายอมรับในแนวคิดหรือวิธีการคิดบางอย่าง ซึ่งในเวลาต่อมาจะเป็นตัวลบล้างความคิดคัดค้านของเขาเอง
ขั้นตอนที่ 2
ให้จำกัดความสามารถของเขาที่จะทำในสิ่งที่เขาไม่ต้องการอยากทำ อันที่จริงแล้ว มันยิ่งจะเพิ่มความต้องการที่จะทำสิ่งนั้นเสียด้วยซ้ำ
มันเหมือนกับการบอกใครสักคนที่เกลียดการเดินทางว่า น้ำหน้าอย่างเขาคงออกไปไหนไม่ได้ไกลไปกว่าชานเมืองหรอก
ทันใดนั้น ศักดิ์ศรีของเขาก็เริ่มออกฤทธิ์ และทำให้เขาเกิดความปรารถนาอย่างไม่รู้ตัวที่จะสามารถเดินทางได้
เคล็ดลับทีเด็ด 6 ประการ
1. ถ้าเขามีท่าทียืนกรานในความคิดของเขา คุณก็ควรพยายามทำให้เขาเปลี่ยนท่าทีโดยการ เปลี่ยนจากนั้นเป็นยืน เปลี่ยนจากยืนเป็นนั่ง หรือเดิน เพื่อให้เขาออกจากท่าทีหยุดนิ่ง เมื่อร่างกายหยุดนิ่งเป็นเวลานาน ความคิดของคนเราจะหยุดนิ่งด้วยเช่นกัน
2. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมก่อนที่คุณจะขอให้เขาเปลี่ยนความคิด หรือย้ำเตือนว่าบางทีเขาอาจจะมองข้ามข้อมูลชิ้นนี้ไปก็ได้
3. ถ้าเราสามารถมองเห็นตัวเองในเงาที่สะท้อนกลับมา เราจะเปิดกว้างให้ผู้อื่นเข้ามาเกลี้ยกล่อมได้ง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง ถ้าคุณสามารถสนทนากับเขาบริเวณที่มีกระจกเงาหรือฉากกั้นที่มีเงาสะท้อนย่อมเพิ่มโอกาสที่เขาจะรับฟังและทำตามคำแนะนำของคุณมากยิ่งขึ้น
4. การโน้มน้าวใจซึ่งกันและกัน เช่นถ้าคุณเคยปฏิเสธคำขอของเขา มีแนวโน้มว่าเขาจะปฏิเสธคำขอของคุณด้วยเช่นกัน คุณสามารถใช้ประโยชน์ด้วยคำพูดว่า “ ฉันลองนั่งคิดถึงเรื่องที่คุณพูดไว้ คุณพูดถูกเลยทีเดียว ฉันเห็นด้วยกับความคิดของคุณนะ”
5. เมื่อเขาไม่เห็นด้วยกับคุณ คุณจึงควรนำเสนอมุมมองของทั้งสองฝ่าย (อย่าลืมสร้างความประทับใจตั้งแรกครั้งแรก และนำเสนอความคิดของตัวเองก่อน)
6. ทำให้เขาคิดว่าเขามีส่วนร่วมในความคิดนั้นด้วย ซึ่งจะส่งผลดีในหลายเรื่องด้วยกัน เมื่อไม่มีแรงต่อต้านแล้วคุณควรเดินหน้าโดยใช้กลวิธีจิตวิทยาเพื่อจูงใจให้เขาลงมือทำทันนี
จงจำไว้ว่า สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่เหตุผล แต่อยู่ที่วิธีนำเสนอของคุณต่างหาก นั่นคือ คุณต้องพยายามผนวกความปรารถนาของคุณ เข้ากับความมีจรรยาบรรณและความเป็นตัวตนของเขา
ไม่อยากพลาดข้อต่อไป 👉🏽👉🏽 รีบกดติดตามเลย
อยากให้เพื่อนได้ข้อมูลดีๆ 👉🏽👉🏽 โปรดแชร์
โฆษณา