Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BigUp นอกตำรา ทั่ว[สาระ]ทิศ
•
ติดตาม
5 พ.ค. 2020 เวลา 12:33 • ความคิดเห็น
ระลึกถึง “จิตร ภูมิศักดิ์”
ปัญญาชนหัวก้าวหน้าผู้มาก่อนกาล
จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นทั้งนักเขียน, นักกวี, นักประวัติศาสตร์, นักนิรุกติศาสตร์, และนักปฏิวัติ
เขามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการต่อต้านระบอบเผด็จการและการกดขี่ขูดรีดทางชนชั้น อีกทั้งยังกลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เหล่าผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตยในยุคสมัยใหม่
,,
1
จิตรเกิดที่จังหวัดปราจีนบุรีในปีพ.ศ. 2473 ก่อนที่จะย้ายมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ เขาสอบติดคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ และสร้างสรรค์ผลงานด้านภาษาศาสตร์ตั้งแต่ปี 1
หลังจากอิ่มตัวจากการเขียนแนวเดิม ๆ จิตรก็เริ่มหันมาเขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์การเมือง ซึ่งผลงานของเขาก็ถูกสั่งไม่ให้ตีพิมพ์ตามระเบียบ
ไม่เพียงเท่านั้น เขายังถูกนิสิตคณะวิศวกรรมจับโยนลงจากเวทีหอประชุมใหญ่จนบาดเจ็บ และสภามหาวิทยาลัยก็มีมติให้พักการเรียนจิตร 1 ปี โทษฐานที่มีแนวคิดเอนไปทางซ้าย
// สมัยนั้น ระบบ SOTUS ที่จุฬาเข้มข้นมาก แนวคิดอนุรักษ์นิยมยังเฟื่องฟู
ตรงนี้คือจุดเปลี่ยนในชีวิตของจิตร เขาได้ค้นพบอุดมการณ์ที่แน่วแน่ของตัวเอง
จิตรกลับมาเรียนอีกครั้งจนจบการศึกษา และเริ่มต้นอาชีพครูที่โรงเรียนเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ควบคู่กับการเป็นอาจารย์พิเศษภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยศิลปกร
หนึ่งในผลงานค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ของจิตรที่เลื่องชื่อมากที่สุด เห็นจะเป็น โฉมหน้าศักดินาไทย” ซึ่งเรียกได้ว่าท้าทายรัฐไทยและท้าทายทุกชุดความเชื่อหลักของประเทศที่ถูกผูกขาดโดยฝ่ายชนชั้นนำ
ในงานเขียนของเขา เปิดเผยหมดเปลือกเกี่ยวกับความทุกข์ยากของประชาชนที่ถูกขูดรีด ในขณะที่เหล่าศักดินากินหรูอยู่สบาย อีกทั้งยังมีเรื่องที่ชนชั้นศักดินาพยายามบิดเบือนความจริงที่ว่าตัวเองกำลังเอารัดเอาเปรียบมวลชน และใช้เล่ห์เพทุบายในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
1
เขาบรรยายว่าระบบศักดินานั้น ไม่ต่างจากระบบฟิวเดล (ศักดินาสวามิภักดิ์) ของยุโรปในยุคกลาง และเป็นระบบที่วิวัฒนาการมาจากยุคทาส
จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนโดยอ้างอิงหลักฐานจาก "พงศาวดารล้านช้าง" ชี้ให้เห็นว่าไทยเคยผ่านระบบทาส และสังคมสุโขทัยก็มีทาส (ซึ่งขัดกับสิ่งที่สอนกันในโรงเรียนตอนนั้น)
ภาพจำลองระบอบการปกครองแบบฟิวดัล - การจัดสรรที่ดินจะเป็นไปตามระดับชั้น เป็นทอด ๆ
ไม่เคยมีคนไทยคนไหนกล้าเขียนวิเคราะห์แบบนี้มาก่อน . . และแน่นอนว่าผลงานชิ้นนั้นของเขา ได้กลายเป็นหนังสือต้องห้ามไปในบัดดล
// แต่มันก็ได้รับการยกย่องภายหลังให้เป็น 1 ใน 100 หนังสือที่คนไทยควรอ่าน เนื่องจากเป็นงานเขียนที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง
“วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยความชัดเจนในการต่อสู้ทางสังคมของมนุษย์ ซึ่งวิชานี้เสมือนตัวอย่างของการต่อสู้ทางสังคมแห่งชีวิตของชนรุ่นหลัง การศึกษาประวัติศาสตร์จึงเป็นหัวใจแห่งการศึกษาความเป็นมาของสังคม เป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขไปสู่การปฏิวัติอันถูกต้อง”
จิตรเขียนเอาไว้ในหนังสือของเขา ✍🏻
วันที่ 20 ตุลาคม 2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประการยึดอำนาจ และเริ่มกวาดล้างนักคิดทั้งหลายโดยการออกหมายจับนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย ซึ่งแน่นอนว่า จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นหนึ่งในรายชื่อที่ทางการต้องการตัว
จิตรถูกจับคุมขังเป็นเวลา 6 ปี ณ เรือนจำลาดยาว ระหว่างนั้นเขาก็สร้างสรรค์ผลงานออกมาจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง, บทกวี, บทละคร, รวมถึงบทเพลง
งานวิชาการที่จิตรเป็นผู้แต่งระหว่างอยู่ในเรือนจำที่คาดว่าหลายคนน่าจะรู้จักกันดี ก็คือ “ความเป็นมาของคำสยามไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ”
ภายหลังจากที่ได้รับอิสรภาพในวันที่ 30 ตุลาคม 2507 จิตรก็เริ่มต่อสู้กับการปกครองด้วยระบบเผด็จการทหาร ทำให้เขาถูกติดตามคุกคามอย่างหนักจนไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุข เขาจึงตัดสินใจหนีเข้าไปในป่าในช่วงปลายปี 2508
จิตรเข้าร่วมกับกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย โดยเขาใช้ชื่อแทนตัวเองว่า “สหายปรีชา” และแสดงตัวชัดเจนว่าเป็นปรปักษ์ต่อหน้าเจ้าหน้าที่รัฐ
สุดท้าย เขาก็ถูกเจ้าหน้าที่ล้อมยิงที่ชายป่า จ.สกลนคร
จิตร ภูมิศักดิ์ เสียชีวิตด้วยวัย 36 ปี ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2509
ความตายของเขาแทบไม่มีใครรับรู้ ชื่อเสียงของเขาก็ค่อย ๆ จางหายไป . .
แต่หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม จอมพลถนอม กิตติขจร ก็ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม และปกครองด้วยระบบเผด็จการเรื่อยมา จนกระทั่งมีการจัดเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในปี 2512
ผลปรากฏว่า จอมพลถนอมได้เป็นนายกต่อไป แต่แล้วลูกพรรคของเขาก็เกิดทะเลาะกันเองแย่งผลประโยชน์ แถมยังโดนฝ่ายค้านโจมตีไม่หยุด จอมพลถนอมจึงรัฐประหารตัวเอง [ ฉีกรัฐธรรมนูญ, ยุบสภา, ยกเลิกพรรคการเมือง, รวบอำนาจไว้ที่ตัวเองคนเดียว ] แล้วก็ปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
💥 มีการแก้ไขเรื่องพันเอกณรงค์ 💥
บทบาทของพันเอกณรงค์ กิตติขจร โดดเด่นขึ้นมา โดยเขามีอำนาจสูงมากในกองทัพ
ประชาชนเริ่มไม่ชอบใจในระบอบที่ปกครองโดย 3 หน่อ : ถนอม-ประภาส-ณรงค์
ประวัติศาสตร์ที่เคลื่อนไปข้างหน้า คนจำนวนมากแสวงหาภูมิปัญญาและแนวคิดฝ่ายซ้าย
จุดนี้เองที่ทำให้จิตร ภูมิศักดิ์ ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง กระแสเรียกร้องประชาธิปไตยอยู่ในระดับเข้มข้น
กระแสต่อต้านรัฐบาลขยายตัว ประชาชนราว 5 แสนคน มารวมตัวกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนจะเดินขบวนไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า เรียกร้องให้รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
(**) ก่อนหน้านี้ เผด็จการทหารใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญนานถึง 9 ปี แต่ใช้ได้แค่เพียง 3 ปี ถนอมก็ยึดอำนาจตัวเอง (**)
การชุมนุมของผู้ต้องการประชาธิปไตย นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามผู้ประท้วงอย่างโหดร้าย ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 หรือที่เรารู้จักกันในนาม “วันมหาวิปโยค”
เหตุการณ์สงบลงในคืนวันต่อมา เมื่อถนอมลาออกและบินหนีไปต่างประเทศ
ถือเป็นอันสิ้นสุดอำนาจเผด็จการทหารที่กินระยะเวลายาวนานถึง 16 ปี
บรรยากาศประชาธิปไตยกลับมาอีกครั้งในประเทศ ทำให้ผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ ได้รับการเผยแพร่อย่างเสรี
ชื่อเสียงของเขาขจรไปไกลกว่าเดิมหลายเท่า
,,
อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เคยกล่าวถึงจิตร ภูมิศักดิ์ ว่า
“เขาเป็นปัญญาชนนักปฏิวัติที่หลากหลาย ล้ำลึก และเป็นอมตะ เป็นผู้ที่มีทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ ความคิดและปัญญาของเขายังไม่ตาย”
ขอปิดท้ายด้วยบางท่อนบางตอนจาก “โคลงสรรเสริญเกียรติ กรุงเทพมหานครยุคไทยพัฒนา" ซึ่งเป็นอีกหนึ่งงานเขียนของจิตร ภูมิศักดิ์
. . ฟ้ามืดเมื่อมีได้ ก็ฟ้าใหม่ย่อมคงมี
แสงทองเหนือธรณี จะท้าทายอย่างทรนง
เมื่อนั้นแหละคนนี้ จะยืดตัวได้หยัดตรง
ประกาศอย่างอาจอง "กูใช่ทาสหากคือไท". .
2
21 บันทึก
97
11
32
21
97
11
32
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย