8 พ.ค. 2020 เวลา 01:37
COVID ทำให้รู้ว่า… สุขภาพทางการเงินของเราป่วยแค่ไหน
cr. pinterest
ตื่นเช้ามาฟังข่าวเปลี่ยนไปแล้วหลายช่อง ก็เจอแต่เรื่องผู้คนที่เครียดเพราะตกงาน ไม่มีเงิน ไม่มีรายได้ ก่ออาชญากรรมบ้าง ฆ่าตัวตายบ้าง ถ่ายทอดเรื่องราวของความสิ้นหวังของผู้คน เป้าหมายตอนนี้ของพวกเขาเหล่านั้น คือ การรอให้มีคนมาช่วยเหลือ การรอรับสิทธิ์บางอย่างที่เหมือนไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ทำให้ย้อนกลับมาคิดได้ว่า ปัญหาของมันก็คือ มีผู้คนมากมายที่ไม่มีความรู้ด้านการบริหารจัดการเงิน แปลกแต่จริงเพราะมันเป็นวิชาที่ไม่มีอยู่ในระบบการศึกษาไทย
.
แน่นอนว่าหลายคนมีรายได้ลดลง ในขณะที่รายจ่ายก็ยังคงเท่าเดิม สาเหตุหนึ่งมาจากการไม่สนใจใฝ่รู้เรื่องของเงินๆทองๆ การมองเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญแต่ไม่ด่วนอยู่ตลอดเวลา และทิ้งมันไว้เป็นเป้าหมาย Reuse ที่ว่าจะทำในทุกๆปี แต่ไม่เคยทำ
.
หลายคนก็พยายามทำอยู่ แต่อาจจะยังแบ่งเงินไว้ในตระกร้าสำรองฉุกเฉินไม่เพียงพอก็เกิดสถานการณ์ไม่คาดคิดขึ้น ในขณะที่บางคนกลับให้ค่าของเงิน โดยเน้นไปที่ความสุขในการใช้สอยมากเกินไป เช่น การออกไปกินข้าวนอกบ้านบ่อยครั้ง การจับจ่ายใช้สอยสินค้าฟุ่ยเฟื่อย แทนการแบ่งเงินมาออมบ้างหรือนำไปลงทุนบ้าง
.
วันนี้ จึงอยากนำเคล็บลับเพื่อสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้นแบบง่ายๆ ที่เชื่อว่าหลายๆคนก็น่าจะรู้กันอยู่แล้ว แต่ว่าอาจจะมีหลายข้อที่ยังไม่ได้ลงมือทำ
.
1.แยกระหว่าง Need กับ Want
ก่อนตัดสินใจซื้อของ ให้หยุดคิด ก่อนว่าเป็นของที่จำ เป็นหรือเป็นของที่อยากได้ ซื้อแล้วคุ้มค่ามั้ย ได้ใช้หรือเปล่า เราจำเป็นต้องซื้อมันเพราะอะไร อย่าปล่อยให้อารมณ์ของความอยากได้ (Want) มาครอบงำเรามากเกินไป เพราะมันจะทำให้เงินในบัญชีเราร่อยหรอ มารู้ตัวอีกทีก็เจ็บตัวไปแล้ว
.
เทคนิคก็คือ ถ้ามันเป็นของชิ้นใหญ่ ราคาสูง ลองแบ่งกระปุกเพื่อเก็บเงินดู เช่น สมมติอยากได้ของราคา 20,000 บาท ก็ลองหยอดกระปุกเดือนละ 2,000 บาท 10 เดือน ดู พอเงินครบแล้ว ลองถามตัวเองว่า ยังอยากได้อยู่มั้ย?? พลังของการเก็บหอมรอมริบนานๆติดกันเป็นเวลา 10 เดือน พอคุณหยิบมันมาใช้ อาจจะทำให้เกิดอาการเปลี่ยนใจ และเริ่มเสียดายเงินในที่สุด
.
หรือถ้าเป็นของชิ้นเล็กๆ ลองทำใจนิ่งๆไว้ถึงแม้ว่าจะอยากได้ เมื่อนึกอยากได้ขึ้นมาเมื่อไหร่ ให้ไปเปิดดูรูป ดูราคา แล้วก็ทำแบบนี้ไป 5 วันทุกครั้งที่นึกถึงของชิ้นนั้น แล้วเราจะเริ่มคิดได้ว่ามันเป็นสิ่งไม่จำเป็นและตัดสินใจให้ Need ชนะ Want ได้ในที่สุด (เคยทดสอบกับตัวเองมาแล้วว่าได้ผล ตอนอยากซื้อตุ๊กตาน่าๆรักๆใน IG)
.
2. ฝันอยากได้อะไรต้องมีแผน
สมมติว่าอยากจะผ่อนสิ่งของ อยากซื้อบ้าน ซื้อรถ อยากซื้อ Notebook ราคารแพง ควรจะวางแผนทางการเงินดีๆ เพราะมีผลต่อสภาพคล่องในระยะยาว อย่างน้อยที่สุดควรจะตั้งคำถามถามตัวเอง และตอบมันให้ได้ รวมถึงลองวิเคราะห์ดูว่าฝันที่เราอยากมีนั้น ถ้าเราซื้อมันไปแล้ว มันจะเป็นฝันร้าย หรือฝันดี ตัวอย่างของแผนการซื้อรถ ที่ได้เรียนรู้มาจากหนังสือ 101 ของพี่หนุ่ม Money Coach แล้วลองมาทำสรุปใส่ ตาราง Excel ไว้ ให้สามารถเอาไปใช้กันได้เลย
เทคนิควางแผนและทำ Check list ถามตัวเองก่อนตัดสินใจซื้อเป็นสิ่งที่อยากแนะนำมาก เคยเห็นหลายคนซื้อของราคาหลักหมื่น หลักแสน โดยไม่คิดวางแผนอะไรมั้ย บางคนหนักกว่าซื้อของหลักล้านอย่างบ้าน คอนโด แต่ไม่ได้วางแผนทางการเงินก่อนซื้อทรัพย์นั้น เป็นเรื่องที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก ตารางนี้อย่างน้อยทำให้เราบอกตัวเองได้ว่า เราซื้อของเพราะเรามีเหตุผล (ไม่มีผิด ไม่มีถูกเพราะมันเป็นเหตุผลและความจำเป็นของตัวเรา) สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ บ่อยครั้งที่เราซื้อของโดยใช้อารมณ์ Check list นี้จะช่วยคุณกรองสิ่งนั้น
2
3.สำรองเงินไว้หลายกระเป๋า
.
Covid 19 สอนให้เรารู้ว่า มีเรื่องมากมายที่ไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นได้เสมอ ใครเจ็บมาแล้วต้องจำ หลักสำคัญก็คือถ้าเรามีเงินสำรองมากพอ เราจะไม่เดือดร้อน ถึงคุณจะรู้สึกล้ม คุณก็ล้มที่ฟูก คุณเลยไม่เจ็บหนัก คนที่เจ็บหนักตอนนี้ คือคนที่ไม่เคยคิดและวางแผนสำหรับเหตุการณ์อะไรไว้เลย อย่างน้อยเหตุการณ์ Covid 19 สอนเราเสมอว่า เราต้องเก็บเงินสำรองเอาไว้ก้อนหนึ่ง ประมาณ 3- 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เพื่อเตรียมเบาะสำรองไว้ เพราะถ้าถึงคราวที่มันจะล้ม ก็จะไม่ทำให้เรากลับไปเจ็บหนักได้อีก
.
4.ออมก่อนใช้ทีหลัง
.
การวางแผนที่ดีมีชัยไปกว่าขึ้น การบังคับฝึกวินัยในตนเองเรื่องการออมเงิน ถือเป็นกฎข้อแรกๆที่ควรทำถ้าอยากให้สุขภาพทางการเงินดีขึ้น เราควรหันมาสนใจเรื่องการออมเงินอย่างจริงจัง หันมาใช้ชีวิต แบบ “ออมก่อน ใช้ทีหลัง” โดย ออมให้พอเหมาะพอดี ไม่ตึงหรือไม่ หย่อนจนเกินไป หรืออย่างน้อย ควรออมให้ได้ 10% ของเงินเดือน
5.ลงทุนในความรู้ เพื่อเพิ่มความมั่งคั่ง
.
ความรู้เรื่องการเงินนั้น สำคัญที่สุด ถึงแม้ว่าเราอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องยาก แต่อย่างน้อยเราควรพยายามทำความเข้าใจเรื่องการเงินพื้นฐานส่วนบุคคล เพราะมันเป็นความรู้ที่น่าลงทุนด้วยเวลาเป็นอย่างมาก
บางคนเป็นคนเก่ง หาเงินได้มาก แต่ไม่มีความรู้หรือความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงินเลย เงินที่หามาได้ ก็หมดอยู่วันยังค่ำ ถ้าไม่เคยวางแผนที่จะให้เงินทำงานให้เรา วันหนึ่งถ้าเราล้มป่วย ก็ไม่มีรายได้ และวนกลับไปStep ด้านบน รอรับการช่วยเหลือที่อาจจะไม่มีอยู่จริง
.
หากวันนี้เรายังมีกำลังทำงานไหวก็ทำงาน ออมเงิน แบ่งเงินไปลงทุน แบ่งเวลาไปเรียนรู้บ้าง และพยายามหาช่องทางให้เงินทำเงินให้คุณได้อีก สำรองแผนทางการเงินเอาไว้ เผื่อว่าวันหนึ่งร่างกายของเราไม่สามารถพาเราไปทำงานได้แบบเคย
โฆษณา