10 พ.ค. 2020 เวลา 11:00
ในวันที่คุณหมอ เสนอให้คุณพ่อ “ฝังเข็ม”
Cr. Sriphat Medical Center
อยู่ๆ คุณพ่อของพวกเราก็มีอาการอ่อนแรงทั้งแขนขาแบบเฉียบพลัน
คุณหมอแจ้งว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หลังจากได้ยาและทำกายภาพกันมาสักพัก คุณหมอเริ่มแนะนำทางเลือกให้คุณพ่อ ด้วยวิธี “การฝังเข็ม”
คุณหมอบอกว่า การฝังเข็มเป็นแพทย์ทางเลือกสาขาหนึ่งที่สามารถเลือกใช้ รักษาร่วมไปกับการรักษาแผนปัจจุบันได้ โดยมีงานวิจัยที่รองรับผลการรักษาโดยการฝังเข็มว่าได้ผล อีกทั้งกรณีคุณพ่อก็ไม่มีข้อห้ามในการฝังเข็ม หลังจากคุณหมอแนะนำเสร็จ ก็ส่งเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับการฝังเข็มให้พวกเราไปตัดสินใจกันก่อน
เอกสารนั้นเป็นข้อมูลจาก อ.พญ.ชนัดดา วงศ์เอกชูตระกูล แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและแพทย์ฝังเข็มประจำศูนย์ศรีพัฒน์ฯ กล่าวถึงการฝังเข็มไว้ว่า “การ ฝังเข็ม” เป็นศาสตร์หนึ่งในการรักษาโรคด้วยการใช้เข็มฝังตามจุดต่างๆ บนร่างกาย ซึ่งมีมานานนับ 4,000 กว่าปีโดยใช้หลักการรักษาของแพทย์แผน จีนทำให้ระบบลมปราณหมุนเวียนดีขึ้นและช่วยปรับสมดุลของร่างกาย
มีงานวิจัยในปัจจุบันพบว่าการฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทที่ ช่วยระงับปวด ลดการอักเสบและเพิ่มการไหลเวียนเลือดในบริเวณที่มีการ อักเสบด้วย ซึ่งปัจจุบันองค์การอนามัยโลกหรือ WHO (World Health Organization) ได้ประกาศรับรองผลการรักษาโรคด้วยวิธีนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522
การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง
องค์การอนามัยโลก (WHO) มีประกาศเกี่ยวกับโรคที่รักษาด้วยการฝังเข็มแล้วได้ผลดี มีหลักฐานชัดเจนจากงานวิจัยรองรับดังนี้
 
อาการปวด เช่น ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดศอก ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดจาก โรคข้อรูมาตอยด์ ปวดเคล็ดขัดยอกปวดกระเพาะและลำไส้ ปวดประจำเดือน ปวดนิ่วในถุงน้ำดี ปวดไมเกรน ปวดศีรษะที่มีสาเหตุมาจากความเครียด หรือก่อนการมีประจำเดือน ปวดในระบบทางเดินปัสสาวะ ปวดเส้นประสาท ปวด เส้นประสาทบนใบหน้า ปวดหลังการผ่าตัด
โรคทั่วไป เช่นโรคอัมพฤกษ์อัมพาตและผลข้างเคียงจากป่วยด้วยโรคทาง สมอง ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ ภูมิแพ้ หอบหืด อาการซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ แพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มโรคอื่นๆอีกมากมายที่รักษาหรือบรรเทาได้ด้วยการฝังเข็มสามารถสอบถามแพทย์เพิ่มเติมก่อนการรักษา
ผู้ป่วยกลุ่มไหนบ้างที่ไม่เหมาะต่อการฝังเข็ม
 
1. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด หรือใช้ยาที่มีผลต่อ การแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาร์ฟาริน (Warfarin)
 
2. ผู้ป่วยที่ไม่เข้าใจการสื่อสาร ไม่สามารถให้ความร่วมมือระหว่างการฝังเข็มได้
 
3. ผู้ป่วยที่กลัวเข็มมาก ไม่สามารถควบคุมตนเองได้
 
4. ผู้ป่วยโรคที่จำเป็นต้องผ่าตัด หรือโรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษาทาง การแพทย์แผนปัจจุบัน
 
5. สตรีตั้งครรภ์ (หากต้องการฝังเข็ม จำเป็นต้องแจ้งแพทย์ก่อนฝังเข็ม)
เมื่อคุณพ่อตัดสินใจเลือกฝังเข็มร่วมกับการรักษาหลัก เราจึงได้เห็นว่า การ ฝังเข็มเขาทำกันยังไง เข็มที่ใช้ฝังมีขนาดเล็กและบางมาก บางเท่าลวดบางๆ แต่ปลายแหลม คุณหมอแจ้งว่าเข็มนี้จะใช้เพียงครั้งเดียวสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ใช้แล้วทิ้งไม่นำกลับมาใช้ซ้ำเด็ดขาด ซึ่งการฝังแต่ละจุดบนร่างกายนั้นจะแล้วแต่อาการปวดและอาการป่วยของแต่ละคน
คุณหมอบอกคุณพ่อว่า จะฝังเข็มคาไว้ประมาณ 20-30 นาทีให้คุณพ่อผ่อน คลาย อาจหลับตาและหายใจเข้าออกช้าๆให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เพื่อช่วย ทำให้จิตใจสงบระหว่างการรักษา และควรนอนนิ่งๆไม่ควรขยับแขนขา หรือบริเวณที่ฝังเข็มไว้จะทำให้ปวดได้ หากมีอาการผิดปกติหรือไม่สบายใดๆ เกิดขึ้น เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หน้ามืด รู้สึกวิงเวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลม ให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลทันที
เมื่อครบเวลาและดึงเข็มออกแล้ว คุณหมอให้สังเกตอาการหลังการฝังเข็ม แต่ละครั้งว่าดีขึ้นมากน้อยขนาดไหน “ไม่ใช่เฉพาะแต่ปัญหาการอ่อนแรง” แต่เป็นปัญหาสุขภาพอื่นๆโดยรวมของคุณพ่อด้วย เพราะการฝังเข็มไม่ได้ เน้นรักษาเฉพาะโรคใดโรคหนึ่ง แต่เน้นการปรับสมดุลร่างกายแบบองค์รวม เพื่อให้ร่างกายบำบัดรักษาตัวเองต่อไป โดยไม่ใช้ยาหรือสารเคมีใดๆ ร่วมด้วยเลย
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สามารถติดตามช่องทางเพิ่มเติมได้ที่
• Call center : 0-5393-6900-1
• LINE Official : https://lin.ee/h3Wxyp3
• Facebook : https://bit.ly/2Kid6X9
• Instagram: https://bit.ly/2VnrTGo
• Blockdit : https://bit.ly/2VqvL9D
โฆษณา