11 พ.ค. 2020 เวลา 00:00
พันธุ์ข้าวพระราชทาน นวัตกรรมข้าวเพื่อชาวไทย
“…ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปี ประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชากรคนไทยไม่ยอม คนไทยต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราต้องปลูก…”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นาถบพิตร เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการโคกภูแล จ.นราธิวาส พ.ศ. 2536
2
ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย การที่จะให้คนไทยได้มีข้าวกินจึงเป็นเรื่องสำคัญ รัชกาลที่ 9 ได้ทรงวางแนวทางไว้ ถึงจัดให้มีแปลงนาทดลองขึ้นภายในพระราชวังสวนจิตรดา บนเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ เพื่อเป็นที่ศึกษา ทดลองและถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรนำไปพัฒนาต่อ
ในทุกปีพระองค์จะนำ "พันธุ์ข้าวพระราชทาน" ซึ่งเป็นเมล็ดที่ได้จากแปลงนาในวัง ซึ่งปลูกในเดือนสิงหาคม (ช่วงวันแม่) และเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคน (ซึ่งเป็นช่วงวันพ่อ) มาแจกจ่าย เพื่อให้ประชาชนได้นำไปขยายผลปลูกในไร่นาของตัวเอง
โดยเมล็ดข้าวแต่ละเมล็ด จะถูกปลูกและดูแลอย่างดี ผ่านการคัดแยก รวมทั้งพิธีทางสงฆ์และพราหมณ์ ก่อนนำมาแจกจ่าย เรียกได้ว่าครบเครื่องทั้งคุณภาพและความศักสิทธิ์ทีเดียว
โดยปีนี้ทางกรมการข้าวได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำพันธุ์ข้าวทั้งหมด 5 พันธุ์ จากนาปี 2562 ในโครงการนา
ทดลองในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มาแจกจ่าย
1
ในหลวงทรงหว่านข้าวในแปลงนาทดลอง โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
สำหรับพันธุ์ข้าวพระราชทานปี 2563 มีพันธุ์อะไรบ้างไปดูกัน
แบ่งเป็นข้าวเจ้า 4 สายพันธุ์คือ ขาวดอกมะลิ 105, ปทุมธานี 1, กข79, กข43 และข้าวเหนียว 1 สายพันธุ์คือ กข6
ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็มีคุณลักษณะที่โดดเด่นเฉพาะตัว
1
🔈เรามักได้ยินชื่อ ข้าวพันธุ์ กขXX รู้ไหมครับว่า กข นั้นคืออะไร (กข เป็นตัวย่อของกรมการข้าว ที่มีหน้าที่ในการพัฒนาปรับปรุงและรักษาพันธุ์ ข้าวของไทยไว้นั้นเอง)
โดยสายพันธุ์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในปีนี้คือ ขาวดอกมะลิ 105 ได้จากการรวบรวมรวงข้าวจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งแต่ปี 2493 แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection) และปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์ท้องถิ่นจนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะเด่นคงที่ จึงขึ้นทะเบียนพันธุ์ข้าวใน ปี 2502
1
ในขณะที่ข้าวเหนียว กข6 ถูกปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีแกมมา ชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งนับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดี พันธุ์แรกที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีนี้
📌การปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้มีพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ทนต่อโรค และมีคุณค่าทางสารอาหารที่หลากหลาย
วิธีการที่นิยมใช้คือการผสมเกษร
โดยเลือกลักษณะเด่นของต้นพ่อต้นแม่ แล้วนำเกษรมาผสมกัน
แต่ก่อนที่จะได้เกษรมาผสมนั้น ต้องปั่นหัวต้นพ่อแม่ซะก่อน (เพราะแต่ละสายพันธุ์มีความพร้อมในการผสมไม่เหมือนกัน)
โดยการพาเข้าห้องมืดเพื่อให้ชะลอการเติบโต เป็นเวลา
3 เดือนก่อน
ซึ่งจะทำให้ต้นแม่ออกดอกพร้อมกัน แล้วจึงนำเกษรมาผสมมาก่อนคลุมถุงไว้ (คลุมถุงชนซะเลย)ทิ้ง 1 อาทิตย์
เมื่อได้ข้าวเปลือกจะถูกนำไปปลูกในแปลงทดลองเป็นเวลา
6 ปี เพื่อให้มั่นใจได้ว่า สายพันธุ์ และลักษณะต้นข้าว เมล็ดข้าวมีความเสถียรรวมไปถึงได้คุณภาพหลังการหุ่งในแบบที่ต้องการ
ก่อนจะนำไปขึ้นทะเบียนและผลิตเพื่อจำหน่าย จ่ายแจกให้ประชาชนต่อไป
ตัวอย่างการปรับปรุงพันธุ์ของขาวดอกมะลิ 105
ที่มีข้าวหอมที่โดดเด่นถูกใช้เป็นพ่อแม่ของข้าวไทยในอีกหลายรุ่น เพื่อให้มีลักษณะที่โดดเด่นอื่นๆเช่น ทนต่อดินเค็ม ทนต่อโรคและแมลงศัตรูพืช หรือลักษณะรวงสูงทนน้ำท่วมเป็นต้น
สาแหรกตระกูลข้าวดอกมะลิ 105
แต่การปรับปรุงพันธุ์ข้าวสมัยใหม่นั้น
มีการใช้ข้อมูลในระดับยีน เพื่อให้ได้ลักษณะ
ที่ต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น
📌รหัสพันธุกรรม เพื่อรักษาและพัฒนาคุณลักษณะข้าวไทย
โครงการพัฒนาจีโนมของข้าวไทย ด้วยความร่วมมือกับนานาชาติอีก 10 ประเทศในโครงการ International Rice Genome Sequencing Project (IRGSP) เพื่อสร้างแผนที่เชื่อมโยงลักษณะของยีน ต่อคุณสมบัติทางกายภาพ และชีวภาพของต้นข้าว
ตัวอย่างแผนที่จีโนมด้านล่าง คือผลของความร่วมมือในการศึกษา เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากการทำ DNA sequencing
โดยตำแหน่งบนโครโมโซมของข้าวนั้น มีอิทธิพลต่อลักษณะต่างๆของข้าว
เราเรียกตำแหน่งบนโครโมโซมเหล่านี้ว่า Quantitative trait loci (QTL)
เมื่อเราสามารถรู้ถึงจำนวน, ตำแหน่ง, อิทธิพล ของ QTL เราจะสามารถใช้ความรู้ทางพันธุศาสตร์ เพื่อพัฒนา ตัดแต่งสายพันธุ์ข้าวให้ตรงกับความต้องการได้แม่นยำขึ้น
อย่างเช่นการที่เรารู้ลักษณะและตำแหน่งของยีนที่ทำให้เกิดกลิ่นของข้าวหอมมะลิ (ซึ่งอยู่ในโครโมโซมตำแหน่งที่ 8) เราก็ใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงกลิ่น (aroma) ของข้าว
จีโนมข้าวไทย แสดงลักษณะโครโมโซมทั้ง 12 ตัวและลักษณะของยีน
นอกจากนี้เรายังใช้องค์ความรู้ของลักษณะพันธุกรรมต่อคุณลักษณะของจ้าว มาพัฒนาเพื่อใช้ในการจำแนกข้าวหอมมะลิไทยแท้ๆ จากข้าวชนิดอื่นได้อีกด้วย
เป็นการป้องกันการสวมรอยข้าวหอมมะลิไทยที่ดีจริงๆ ตัวอย่างเช่นลักษณะ (ลายนิ้วมือของข้างดอกมะลิ 105 ที่ต่างจากข้าวหอมอื่นๆ)
เห็นได้ชัดเจนว่าข้าวดอกมะลิ 105 มียีนที่แตกต่างจากข้าวหอมอื่นๆ
จะเห็นได้ว่า "ข้าว" ที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนไทย
ได้มีกระบวนการศึกษา วิจัย พัฒนาเพื่อให้คนไทย
โดยมีการเชื่อมโยงองค์ความรู้ชาวบ้าน ข้าวพื้นเมือง
เข้ากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อให้คนไทยได้บริโภคข้าวที่ดี
มีคุณประโยชน์ครบถ้วน และไม่ต้องซื้อข้าวต่างชาติกิน
2. รายการกบนอกกะลา ตอน ข้าวของแผ่นดิน
6. Phanchita VejchasarnApplication of Next-generation Sequencing Technologies for Purity Testing in Thai jasmine rice, Thai Rice Research Journal, Vol. 10 No. 2, July - December 2019
7. Takuji Sasaki and Benjamin Burr, International Rice Genome Sequencing Project: the effort to completely sequence the rice genome
1
โฆษณา