10 พ.ค. 2020 เวลา 10:55 • ประวัติศาสตร์
TOPIC : ชาวมุสลิม ใน ระบบคอมมิวนิสต์จีน ตอนที่ 1
TITLE : อุยกูร์ กับการกดขี่ภายใต้ผู้ปกครองคอมมิวนิสต์จีน
ภาพวาดเชิงสัญลักษณ์ ชาวมุสลิมอุยกูร์ ภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์จีน
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน สาธารณรัฐประชาชนจีนมีอำนาจการปกครองเหนือ 22 มณฑล นอกจากนี้ยังแบ่งเขตการปกครองเป็นเขตปกครองตนเอง 5 แห่ง (แต่ละแห่งมีชื่อเรียกตามชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่) เทศบาลนคร 4 แห่ง และเขตบริหารพิเศษ 2 แห่ง ซึ่งมีสิทธิ์ปกครองตนเองอยู่ในระดับหนึ่ง ดินแดนเหล่านี้ถูกเรียกรวมกันว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีน" ตามนโยบายจีนเดียว แต่ฮ่องกง และไต้หวันยังยืนกราดและต่อต้านนโยบายนี้อย่างเข้มแข็ง
ในกลุ่มชาติพันธ์ุทั้งหมด 56 กลุ่มในสาธารณรัฐประชาชนจีนนี้ มี 8 กลุ่มชาติพันธ์ุที่นับถือ ศาสนาอิสลาม แต่บทความนี้ผมจะเขียนถึงกลุ่มชาติพันธ์ุ อุยกูร์ (Uyghur) ซึงอยู่ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เป็นเขตปกครองตนเองใหญ่ที่สุดของจีน มีเมืองเอกคือ อุรุมชี (อูหลู่มู่ฉี) Urumqi เพราะความพิเศษของเขตปกครองพิเศษนี้ มีประชากร ที่นับถือศาสนาอิสลามเกิน 10 ล้านคนจากประชากรทั้งหมดประมาณ 24,870,000 คน คิดเป็นประมาน58% เรียกได้ว่าเป็นเมืองที่มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดพื้นที่หนึ่งในจีน ก่อนที่รัฐบาลจีนจะส่งชนชาติฮั่นซึ่งเป็นชาติพันธ์ุกลุ่มใหญ่สุดของประเทศ เข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่อจะกลืนวัฒธรรม ของผู้ตั้งถิ่นฐานเดิม
พื้นที่สีเหลืองในแผนที่ : เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
ภาพ 5 สาวงามเชื้อสาย อุยกูร์ จากเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
1 Tong Liya (Chinese: 佟丽娅)
Dilraba Dilmurat (Uyghur: دىلرەبا دىلمۇرات‎) (simplified Chinese: 迪丽热巴)
Gülnezer Bextiyar (Chinese: 古力娜扎)
Jiang Xin (Chinese: 蒋欣)
Madina Memet (Uyghur: مادىنا مەمەت‎) ,(Chinese: 麦迪娜·买买提)
ประวัติเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ โดยย่อ :
ภาพเส้นทางสายไหม สังเกตเมือง Kashgar เมืองแหล่งนำ้กลางทะเลทรายของ ซินเจียง (ค่อนไปทางกลางซ้ายของเส้นทาง)
ก่อนจะเข้าเรื่องการถูกกดขี่จากรัฐบาลจีนในยุคปัจจุบัน ผมจึงจะขออนุญาตเท้าความย้อนหลังประวัติศาสตร์ ของ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้มีความเข้าใจสถานะของชาวอุยกูร์ในปัจจุบันมากขึ้น
เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ มีปะวัติศาสตร์ย้อนหลังไปยาวนาน จากหลักฐานปรากฎว่าเมืองนี้มีผู้คนก่อร่างสร้างเมืองย้อนหลังไปได้มากกว่า 2500 ปี เป็นเมืองที่สำคัญในอดีต ประชากรพื้นเมืองของซินเจียง ไม่ใช่ชาวจีนแต่เป็นคนเชื้อสายเติร์กที่เรียกตัวเองว่าชาว “อุยกูร์” เป็นชนเผ่าที่นับถือศาสนาอิสลาม เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านทางการค้าของเส้นทางสายไหมอันรุ่งเรือง และด้วยยุทศาสตร์ที่ตั้งเป็นเมืองเส้นทางหลักโบราณ ที่เชื่อมจีนนกับเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และยุโรป อณาจักรที่รุ่งเรืองในอดีตจึงหมายมั่นทำสงครามเพื่อยึดเมืองยุทธศาสตร์สำคัญแห่งนี้ไว้เป็นส่วนหนึ่งของอณาจักร ก่อนศตวรรษที่ 18 เมืองแห่งนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น Altishahr, Khotan, Khotay, Chinese Tartary, High Tartary, East Chagatay (it was the eastern part of the Chagatai Khanate, Moghulistan , Kashgaria, Little Bokhara, Serindia เป็นชื่อเรียกบริเวณเขตนี้ตามแต่กาลเวลาและอิทธิพลของผู้ปกครองในดินแดนแถบนี้ แต่โดยรวมๆแล้ว ผู้คนที่อาศัยในดินแถบแถบนี้จะถูกเรียกว่า ผู้ที่อยู่ไกลออกไปทางเหนือของเทือกเขาเทียนชาน (Dzungaria north of the Tianshan Mountains)..., ผู้ที่อยู่แถบลุมแม่นำ้ทาซินทางใต้ของเทือกเขาเทียนซาน ซึ่งเป็นเขตที่อยู่อาศัยหลักของชาติพันธุ์อุยกูร์ ก่อนจะถูกเรียกชื่อใหม่โดยราชวงค์ชิง ในค.ศ. 1884 ว่า ซินเจียง (Xinjiang 新疆) ซึ่งงมีความหมายว่า เมือง ชายแดนใหม่ เมืองซินเจียงผ่านหลายช่วงสำคัญทางประวัติศาสตร์ เปลี่ยนผ่านหลายผู้ปกครอง เคยถูกปกครองโดยชนเผ่าเติร์ก ในช่วงศตวรรษที่ 8-9 จากนั้นกองทัพมองโกลอันเกรียงไกร ก็เข้ามาปกครองล่วงเลยจนมาถึง ค.ศ. ที่17 พื้นที่นี้ก็ตกเป็นของราชวงค์ชิง และท้ายที่สุด หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ปี ค.ศ. 1946 สาธารณรัฐประชาชนจีนก็ผนวกซินเจียง เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ด้านศาสนานั้น ศาสนาพุทธนิกายมหายานเคยเจริญรุ่งเรืองมากในแถบนี้ รวมถึง ศาสนาพุทธนิกายอิหร่าน (Iranian Buddhist Khotan) และศาสนาอิสลามสายเติร์ก (Turkic Muslim) สุดท้ายประชาชนส่วนใหญ่ของเมืองก็โอบรับความศรัทธาของศาสนาอิสลามที่เข้ามาช่วง ศตวรรษที่ 8 เป็นศาสนาประจำชาติพันธ์ุ ชาวอุยกูร์มีวัฒนธรรมและศาสนาที่คล้ายคลึงกับกลุ่มชาติพันธุ์เอเชียกลางอื่นๆ เช่น กลุ่มอุซเบกและกลุ่มคาซัก ภาษาหลักของชาติพันธุ์คือภาษา ที่เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกับภาษาอุซเบก และมีความคล้ายคลึงกับภาษาคาซัก ภาษาคีร์กีซ และภาษาเตอร์กิก
ดินแดนแถบนี้อยู่ภายใต้การปกครองของอณาจักรจีนตั้งแต่ ศตวรรษที่ 17 ภายใต้การปกครองของอณาจักรจีนมีการทำการต่อต้านผู้ปกครองจีนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างเหตุการณ์ก่อกบฏที่สำคํญเหตุการณ์หนึ่ง คือ
กบฏไทปิง ภายใต้การนำทัพของ Yaqub Beg เป็นการร่วมมือกันก่อกบฏต่อต้านราชวงค์ชิง (1862–1877) โดยการร่วมมือกันของชาวมุสลิมฮุ่ย และกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมอื่น ๆ ในมณฑลส่านซี กานซู หนิงเซี่ย และชาวมุสลิมในซินเจียง กองทัพของYaqub Begสามารถยึดพื้นที่และเมืองสำคัญส่วนใหญ่ในดินแดนแถบนี้ไว้ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่สุดท้าย ผลของสงคราม ราชวงค์ชิงก็สามารถส่งกองทัพมาปราบกฏบ และยึดพื้นที่ทั้งหมดที่ถูกกลุมกฎบยึดไปในช่วงการทำสงคราม กลับมาได้ทั้งหมด
ภาพวาดของราชสำนักราชวงค์ ชิง เมื่อครั้งปราบ กบฏไทปิง
เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ภายใต้สาธารณรัฐประชาชนจีน
หลังจาก พรรคคอมมิวนิสต์จีน มีชัยเหนือพรรคก๊กมินตั๋งใน เหมา เจ๋อตุง ได้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีน จึงได้ผนวกดินแดนซินเจียงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ตามแนวคิดจีนดั้งเดิม ช่วงต้นปี 1951 ทางการจีนได้จับตัวนายอุสมานผู้นำของกลุ่มที่ทำการเคลื่อนไหวเพื่อแบ่งแยกดินแดนซินเจียงประหารชีวิต รวมถึงการทำลายมัสยิสหลายแห่งที่มีอยู่เดิม 29,000 เหลือเพียง 14,000 แห่ง ในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรมไม่ใช่แค่ศาสนาอิสลามที่ถูกลดบทบาท เหมา เจ๋อตุงได้ทำลายศาสนสถานและเผาคัมภีร์ทุกศาสนาทั่วประเทศ เช่นใน ทิเบต และซินเจียงเป็นต้น (การปฏิวัติวัฒนธรรม 1966-1976) ตามความเชื่อของเหมานั้น เขามองว่าศาสนาเป็นเหมือนยาที่หน่วงเหนี่ยวจิตใจ ไม่มีประโยชน์ รังแต่จะฉุดรั้งเป้าหมายสังคมในอุดมคติตามความเชื่อของเขา
เหมา เจ๋อ ตุง และ ลุงเคอร์บานชาวชาติพันธ์ุอุยกูร์ (Kurban Tulum) ผู้ที่ ต่อมาขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมาแสดงไมตรีจิตเป็นเชิงสัญลักษณ์ เพื่อแสดงออกถึงความสามัคคีและความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับชาวอุยกูร์
ต่อ..
ผู้คนในเมือง อุรุมชี เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ร่วมฉลอง 10 ปีแห่งการเป็นหนึ่งเดียวกับจีน
เหมา เจ๋อ ตุง และ ลุง เคอร์บาน (Kurban)
อนุเสาวรีย์ การจับมือกัน ของ เหมา เจ๋อ ตุง และ ลุง เคอร์บาน (Kurban)ณเมืองอุรุมชี ซึ่งดูขัดแย้งกับทหารจีนที่เดินลาดตระเวนในเมือง
รถบรรทุกทหารจีนเต็มคัน วิ่งในเมือง เมืองอุรุมชี
EDITOR : Soulless
CREDIT : blogspot.com / usembassy.gov / scmp.com / bbc.com / wikipedia.org / alJazeera.com / จุลสารความมั่นคงศึกษา
โฆษณา