10 พ.ค. 2020 เวลา 07:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ยานอวกาศใหม่ของจีนกลับสู่โลกอย่างเป็นทางการ
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ภาพถ่ายเมื่อว้นที่ 5 พฤษภาคม จรวด long march 5B ยกตัวออกจากไซต์การปล่อยต้ว wenchang บนเกาะไหหลำบนเกาะตอนใต้ของจีน
ยานอวกาศของจีน "ประสบความสำเร็จในการลงจอด" เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
นับเป็นก้าวสำคัญในความทะเยอทะยานของจีน ในการใช้งานสถานีอวกาศ
ถาวรเเละส่งนักบินอวกาศไปดวงจันทร์!!
องค์การอวกาศของประเทศจีนกล่าวไว้ว่าหลังจากการทดสอบครั้งสำคัญนี้ว่า
โครงการห้องโดยสารของยานอวกาศได้รับการยืนยันว่า ไม่เสียหาย
การลงจอดครั้งนี้จีนได้ตรวจสอบความสามารถของยานอวกาศเช่นความต้านทานความร้อนของยานอวกาศในการกลับเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศของโลกที่ในเผชิญกับสภาวะอากาศที่สูง
จีนหวังว่าวันหนึ่งยานอวกาศของพวกเขาจะส่งนักบินอวกาศไปยังสถานีอวกาศของจีน ที่พวกเขาได้ว่างเเผนไว้จะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี พ.ศ. 2565 เเละในที่สุดก็ถึงดวงจันทร์
1
การทดลองจรวด long march 5B ไม่ใข้ความประสบความสำเร็จครั้งเเรกของจีน จีนเคยทดสอบจรวด ล้มเหลวก่อนหน้านี้สองครั้งโดยจรวด long march 7A ทำงานผิดปกติในเดือนมีนาคมในขณะที่ long march 3B ไม่สามารถขึ้นบินได้ในต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา
Andrew Jones ผู้รายงานกิจกรรมอวกาศของจีนสำหรับเว็ปไซต์ Spacenews กล่าวว่าจีนสามารถ "เดินหน้าต่อไปตามเเผนของสถานีอวกาศเเละโมดูล
เเรกอาจเปิดตัวในต้นปี2021"
การประสบความสำเร็จในการลงจอดยานอวกาศใหม่จากวงโคจรสู่พื้นโลก
ยังเเสดงให้เห็นว่าจีนมีความสำคัญอย่างมากต่อการส่งนักบินอวกาศออก
นอกวงโคจรของโลก ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกันที่ NASA ประสบความสำเร็จเเละในที่สุดก็ส่งนักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ได้ในที่สุด
เฉินหลันนักวิเคราะห์อิสระที่ GoTaikonauts.com ซึ่งมีความเชี่ยวชาญใน
โครงการอวกาศของจีนกล่าวเสริมว่า "เราสามารถพูดได้ว่าจีนมีความสามารถด้านอวกาศคล้าย ๆ กันในสหรัฐฯและรัสเซีย"
ประเทศจีนกลายเป็นประเทศแรกที่ลงจอดบนฝั่งไกลของดวงจันทร์ในเดือนมกราคม 2562 โดยใช้รถแลนด์โรเวอร์จันทรคติซึ่งขับรถมาได้ประมาณ 450 เมตร (1,500 ฟุต)
โฆษณา