Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
All about เพลง
•
ติดตาม
10 พ.ค. 2020 เวลา 08:40 • บันเทิง
ทำไมสมองพวกเราถึงชอบเสียงเบส?
ที่มา... บ้านตากอากาศการดนตรี
เบส คือเสียงส่วนที่ต่ำที่สุดของเสียงประสาน(Harmony)ในบทเพลงต่างๆที่พวกเราได้ยินกันในทุกวันๆ นับศตวรรษแล้วที่มนุษย์นั้นมีปฏิกิริยาที่คล้ายๆ
กันต่อเสียงเบสหรือเสียงย่านความถี่ต่ำไม่ว่าจะเป็นดนตรีแบบไหนก็ตาม
ยิ่งในปัจจุบันที่โปรดิวเซอร์หรือนักแต่งเพลงส่วนมากมักจะให้ความสำคัญกับพาร์ทของเบสและเสียงย่านความถี่ต่ำเป็นอย่างมาก เพราะมันสามารถทำให้ผู้ฟังรู้สนุกจนต้องอยากออกไปเต้นเลยทีเดียว
แล้วอะไรของเบสกันหล่ะที่สามารถทำให้ดนตรีนั้นมีพลังและสามารถทำให้
พวกเรารู้สึกชิลได้ทุกๆครั้งในเวลาที่เรารับฟังดนตรี?
มนุษย์นั้นมีความสัมพันธ์กับเสียงย่านความถี่ต่ำมาตั้งแต่ยังเป็นทารก จาก
การศึกษาของ Karin Stromswold นักวิทยาศาสตร์ด้านการรับรู้ของมนุษย์
มหาวิทยาลัย Rutgers ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ศึกษาไว้ว่า เมื่อส่วนการได้
ยินของลูกอ่อนในครรภ์เริ่มจะทำงาน ทารกส่วนใหญ่จะได้ยินแต่เสียงที่มีย่านความถี่ต่ำ เช่น การเต้นของหัวใจมารดา หรือจังหวะของเสียงตัวมารดาเอง
เสียงที่มีความถี่ที่สูงกว่าส่วนใหญ่ที่อยู่ข้างนอกครรภ์นั้นมักจะถูกซับเสียง
ด้วยร่างกายของมารดา นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากก็ยังมีความเห็นด้วยว่าเสียงย่านความถี่ต่ำนั้นอาจจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้ทางภาษาช่วงแรกเริ่มของทารก
เบสในดนตรีต่างๆนั้นมีผลกระทบที่พิเศษเป็นอย่างมากต่อร่างกายของมนุษย์ มันสามารถที่จะเปลี่ยนอะดรีนาลีนและอัตราการเต้นของหัวใจของพวกเราได้
ในขณะฟังเพลง สมองของเราจะทำการหาจังหวะของเพลงด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Neural Entatrainment เข้าใจง่ายๆก็คือการที่สมองของเรานั้น
ประสานคลื่นความถี่สมองให้เข้ากับสิ่งเร้าภายนอกเช่นการได้ยิน เห็นหรือ
สัมผัสและคลื่นความถี่ตั้งแต่ 32 Hz ถึง 512 Hz คือส่วนที่ทำให้สมองของเรา
สามารถจับจังหวะเข้าใจจังหวะของเพลงได้ง่ายขึ้น
สมองของเรามักจับความผิดปกติของจังหวะจากเสียงย่านความถี่ต่ำได้มาก
กว่าความผิดปกติของจังหวะจากเสียงย่านความถี่สูง สถาบัน MacMaster
Institute for Music and the Mind ประเทศแคนนาดา ได้ทำการทดลอง
เกี่ยวกับปฏิกิริยาของสมองมนุษย์ต่อคลื่นความที่ต่ำและสูงในดนตรี โดยทางสถาบันให้ผู้เข้ารับการทดลองได้ฟังโน็ตเปียโนต่ำและสูงไปเรื่อยๆ บางครั้ง
จะทำการเล่นหนึ่งในสองโน็ตให้เป็น offbeat 50 milliseconds และเมื่อ
สมองของผู้เข้ารับการทดลองจับได้ว่ามันไม่ตรงจังหวะ มันก็จะเกิดคลื่นเล็กๆขึ้นมาบนสมอง หรือที่เขาเรียกกันว่า Mismactch Negativity (MMN)
คลื่นเล็กๆเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นกับการเล่นไม่ตรงของโน้ตที่มีPitchที่ต่ำมาก
กว่าโน้ตที่มีPitchที่สูง การวิจัยนั้นยังพบอีกว่าสมองของมนุษย์นั้นเซนต์ซิทีฟกับการผันผวนของจังหวะในโน้ตที่มีความถี่ต่ำมากกว่า นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า
เราสามารถรับได้กับไลน์เมโลดี้ที่แกว่งไปแกว่งมา แต่กลับรู้สึกสับสนได้โดยง่ายหากไลน์เบสนั้นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา Dr.Laurel Trainor ผู้อำนวยการ
สถาบันได้ให้ข้อสรุปว่า “เห็นได้ชัดว่าผู้คนมักจะมีปฏิกิริยากับเพลงมากขึ้น
เมื่อเพลงนั้นมีเครื่องดนตรีที่มีPitchที่ต่ำ”
1
เหล่านักประพันธ์เพลงมากมายได้ใช้ข้อเท็จจริงเหล่านี้ในการเชื่อมโยงผู้คนกับดนตรีเข้าด้วยกัน มนุษย์นั้นเชื่อมโยงกับเสียงย่านความถี่ต่ำมานับตั้งแต่
ยุคหิน ดังนั้นครั้งหน้าที่คุณได้ฟังเพลงจนรู้สึกอยากจะเต้นซะเหลือเกิน ก็ขอให้รู้ไว้เลยว่า “ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับเบส”
ที่มา... บ้านตากอากาศการดนตรี
facebook.com
บ้านตากอากาศ การดนตรี
บ้านตากอากาศ การดนตรี. 333 likes · 15 talking about this. Oasis ทางดนตรี สำหรับทุกสรรพชีวิต
2 บันทึก
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย