10 พ.ค. 2020 เวลา 11:14 • การศึกษา
- ชีวิตสัมพันธ์ (1) -
ท้าวความ...
นับตั้งแต่ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุมเมื่อ พ.ศ. 2504 นั่นเป็นการลั่นกลอง ตีระฆังของการเข้าสู่ยุคปฏิวัติเกษตรกรรม หรือ "การปฏิวัติเขียว" ในประเทศเทศไทย เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้สารเคมีในการปลูกพืช ปุ๋ยเคมีเริ่มเข้ามามีบทบาทในทุกการผลิตพืช จากนั้นก็ตามมาด้วยยาฆ่าแมลง สารป้องกันเชื้อรา และยาฆ่าหญ้า ซึ่งถ้าเปรียบเทียบจากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ปาเข้าเกือบ 60 ปี แล้ว สิ่งที่สังเกตได้ชัดคือทั้งปริมาณ ชนิด ความรุนแรงของสารออกฤทธิ์เพิ่มสูงขึ้นทุกปี แต่สวนทางกับความเป็นอยู่ ความมั่งคั่งของเกษตรกร (ซึ่งถ้าเทียบกัน ผมว่าประเทศไทยเราถือเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ระดับต้นๆ ของโลกเลยทีเดียว) ดูเหมือนว่าสิ่งเดียวที่ไปทางเดียวกันกับปริมาณการใช้สารเคมีเหล่านี้ก็คือ จำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ "NCDs" ยอดฮิต ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง ปฏิเสธไม่ได้ครับว่า อาหารทุกมื้อที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้มีส่วนปนเปื้อนของสารเคมีสังเคราะห์แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพืช ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ต่างๆ
ปัจจุบัน...
สมัยผมเรียนชั้นประถม เคยทราบมาว่าธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชนั้นมีเพียง N, P, K เท่านั้น และเพิ่ม Ca, Mg, S, B, Mo และธาตุอื่นๆ อีกรวมเป็น 13 ธาตุ เมื่อตอนเรียนมหาวิทยาลัย (บ่งบอกถึงอายุได้ดีทีเดียว...555) แต่ในปัจุบันตามวิทยาการของนักวิทยาศาสตร์ที่มากขึ้น มีการค้นพบธาตุอาหารที่จำเป็นกับพืชแล้วมากกว่า 42 ชนิด...แล้วอีก 10 ปี หรือ 20 ข้างหน้าหล่ะ?...
ด้วยวิธีทางเคมี ตลอดเกือบ 60 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ต้องใช้ทั้งปุ๋ยและสารเคมีในปริมาณที่เพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตก็ไม่ได้เพิ่มตาม แถมยังมีโรคและแมลงที่ดูเหมือนจะรุนแรงมากขึ้นด้วย ความอุดมสมบูรณ์ของกุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด ตามธรรมชาตินั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา และหน้าดินแข็ง ตาย เป็นกรด ปลูกพืชไม่งาม ไส้เดือนหายไป จนทำให้เกษตรกรทุกวันนี้เข้าใจ และมีวลีติดปากว่า "ปลูกพืช ถ้าไม่ใส่ปุ๋ย ไม่ฉีดยา ไม่ได้กินหร้อก"...
เราเน้น "พืชเชิงเดี่ยว" และไม่ค่อยให้ความสนใจกับความสัมพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ทั้งที่มองเห็น และมองไม่เห็นในดินเท่าใดนัก
แล้วเมื่อ 60-70 ปีก่อน ร้อยปี พันปีก่อนหน้านั้นหล่ะ ความอุดมสมบูรณ์เหล่านั้นมาจากไหน?..
ทำไมทุกวันนี้ยิ่งทำยิ่งแย่ ยิ่งทำยิ่งขาดทุน?..
เป็นหนี้เป็นสินก็เยอะ เสียที่เสียทางก็เยอะ...
ใครพอมีกำลัง ก็ผลักลูกผลักหลานให้ออกไกลจากอาชีพเกษตรกร...
ทางเลือกหล่ะ พอมีบ้างไหม?...
ก่อนที่จะไปถึงทางเลือกนั้น ผมว่าถึงเวลาแล้วที่เราควรให้ความสำคัญแบบจริงจัง กับหลักของธรรมชาติ เรียนรู้ทำความเข้าใจของกลไกที่แม่ธรณีทำไว้นับพัน นับหมื่นปีมาแล้ว...
ตามที่ผมได้ลองค้น ตามอ่าน ตามศึกษางานวิจัยค้นคว้าของหลายๆ ท่านที่เกี่ยวกับวิถี organics, nature ways, permaculture และ regenerative agriculture ก็พบว่ามีอยู่ท่านหนึ่งที่ได้ศึกษา วิจัย และให้แนวคิดของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในดิน การหมุนเวียนของธาตุอาหาร ในดิน และความสัมพันธุ์กับการเจริญเติบโตของพืช ไว้อย่างน่าสนใจ ท่านนั้นคือ "Dr. Elaine Ingham" ผู้เชียวชาญด้าน Soil Biology ผู้ก่อตั้ง "soil food web" ซึ่งโดยส่วนตัวผมว่าเป็นเหตุเป็นผลมากที่สุด เท่าที่วิทยาการ และวิทยาศาสตร์จะเข้าถึงได้ในเวลานี้...
น่าจะได้แค่เกริ่นนำครับโพสต์นี้ เพราะเนื้อหาค่อนข้างยาว ไว้ผมจะมาเจียระไนไว้ในตอนต่อๆ ไปนะครับ...
โฆษณา