13 พ.ค. 2020 เวลา 02:42 • ประวัติศาสตร์
วัดพระธรรมกาย

ทำไมวัดพระธรรมกายถึงสร้างพระมหาธรรมกายเจดีย์รูปทรงแบบนี้

พระมหาธรรมกายเจดีย์ พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์
จริง ๆ ทางวัดไม่ได้สร้างเป็นรูปจานบิน แต่สร้างโดยอาศัยพุทธปรัชญา ความรู้จากการปฏิบัติธรรม และสถาปัตยกรรมของพระพุทธศาสนาในสมัยโบราณเป็นต้นแบบ ซึ่งหากย้อนยุคไปดูสถูปหรือเจดีย์ทางพระพุทธศาสนายุคแรกของโลกจากหลักฐานที่ค้นพบทางโบราณคดีแล้วจะพบว่า
1
..สถูปหรือเจดีย์ทางพระพุทธศาสนายุคแรกของโลกที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้นเป็นทรงโอคว่ำ ครึ่งทรงกลม หรือทรงโดม
อีกทั้งจากหลักฐานทางโบราณสถานจำนวนมากก็แสดงให้เห็นว่า..สถูปหรือเจดีย์ยุคดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นทรงโอคว่ำ ครึ่งทรงกลม หรือทรงโดม ซึ่งพระมหาธรรมกายเจดีย์ก็เช่นกัน ได้สร้างตรงตามรูปแบบและหลักการในยุคดั้งเดิม คือ เป็นทรงโอคว่ำ ครึ่งทรงกลม หรือทรงโดม
วิวัฒนาการของสถูปตั้งแต่ในยุคเริ่มแรกเรียงลำดับจาก 1-4 Early Evolution of the Stupa
ยอดโดมของมหาธรรมกายเจดีย์เป็นทรงโดมเหมือนมหาสถูปสาญจี
เจดีย์ทรงโดม
รูปทรงมหาสถูปยุคดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นโอคว่ำ
สถูปโบราณรูปทรงโอคว่ำ
สถูปทรงโอคว่ำหลายแห่ง
แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องการออกแบบสร้างสถูปหรือเจดีย์ไว้อย่างไร ?
จากบันทึกการจาริกของสมณะเสวียนจั้งหรือพระถังซัมจั๋ง*** ในครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณใหม่ ๆ มีบุรุษชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ เข้ามาน้อมถวายสัตตุก้อนสัตตุผงเจือน้ำผึ้ง แล้วฟังธรรม และก่อนจากไปก็ได้ขอวัตถุสิ่งของที่เนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้บูชา ซึ่งพระองค์ก็ได้ประทานพระเกศ (ผม) และพระนขา (เล็บ) ที่ตัดแล้วให้ จากนั้นพวกเขาทั้งสองจึงได้ทูลถามถึงวิธีการสักการบูชาสิ่งที่เนื่องด้วยพระองค์ว่าจะต้องทำอย่างไร
ด้วยเหตุนี้..พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงกำหนดรูปแบบสถูปสำหรับบูชาขึ้น โดยนำผ้าสังฆาฏิพับวางเป็นทรงสี่เหลี่ยมไว้ด้านล่าง แล้ววางซ้อนด้วยผ้าอุตราสงค์ ทับซ้อนด้วยจีวร ตามด้วยบาตร แล้วจึงตั้งธงคทาขึ้นด้านบน
ดังนั้น..รูปแบบสถูปหรือเจดีย์ทรงบาตรคว่ำที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ จึงเป็นต้นแบบของการสร้างเจดีย์นับแต่นั้นมา ดังตัวอย่างรูปทรงของสถูปสาญจี ซึ่งเป็นสถูปเก่าแก่ที่สร้างขึ้นราว ๒,๒๐๐ ปีก่อน ซึ่งมีรูปครึ่งทรงกลม โดยประยุกต์มาจากรูปทรงบาตรคว่ำ
ต้นแบบการออกแบบเจดีย์มาจากบาตรวางบนจีวร
พระปฐมเจดีย์ยุคแรกสร้างเป็นทรงโอคว่ำ เพราะถอดแบบการสร้างมาจากมหาสถูปสาญจี
พระปฐมเจดีย์ ถือเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ยืนยันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดียมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิครั้งแรก โดยพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระสมณทูต ๕ องค์มาเผยแผ่ จนพระพุทธศาสนาปักหลักในประเทศไทยมาถึงยุคปัจจุบัน
พระปฐมเจดีย์
พระปฐมเจดีย์ถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๓-๔ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงถวายแด่พระสมณทูตที่มาเผยแผ่ ซึ่ง พระปฐมเจดีย์นี้ได้ถอดแบบการสร้างมาจากมหาสถูปสาญจี (มหาสถูปยุคแรกในพระพุทธศาสนา จากหลักฐานทางโบราณคดี)
แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป พระปฐมเจดีย์ถูกบูรณะซ่อมแซมในยุคต่อ ๆ มา โดยสร้างองค์เจดีย์ที่มียอดแหลมขึ้นครอบเจดีย์องค์เดิมหลายครั้ง จนทำให้พระปฐมเจดีย์มียอดแหลมสูงขึ้นดังปัจจุบัน ตามประวัติการบูรณะดังนี้ (ข้อมูลจากหนังสือภาพจิตรกรรมฝาผนัง ของวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร)
* พญาพานทรงสร้าง เจดีย์ทรงปรางค์ครอบเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ โดยมีความสูงระดับนกเขาเหิน
* พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระเจดีย์รูประฆังคว่ำครอบเจดีย์ทรงปรางค์
* พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ประดับกระเบื้องเคลือบที่องค์เจดีย์ และสร้างระเบียงชั้นล่างรอบองค์เจดีย์ทั้ง ๔ ด้าน อีกทั้งเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธียกยอดพระมหามงกุฎพระปฐมเจดีย์
วัดพระปฐมเจดีย
* พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ประดับกระเบื้องที่ยังค้างอยู่ให้เสร็จ และปรับปรุงพระวิหารต่าง ๆ และที่สำคัญทรงให้เขียนภาพจิตรกรรมแสดงความเป็นมาของพระปฐมเจดีย์ที่ตั้งซ้อนกันถึง ๓ องค์
* พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารของรัชกาลที่ ๖ บรรจุใต้ฐานพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ ซึ่งถือเป็นการเสร็จสมบูรณ์
ดูจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว แม้เจดีย์แห่งแรกในดินแดนสุวรรณภูมิก็ยังสร้างเป็นทรงโอคว่ำ ซึ่งพระมหาธรรมกายเจดีย์ก็สร้างเป็นทรงโอคว่ำหรือทรงโดมเช่นกัน แล้วจะมากล่าวหาว่า..พระมหาธรรมกายเจดีย์สร้างผิดเพี้ยนจากหลักการได้อย่างไร...
หลักฐานแสดงการซ้อนกันภายในขององค์เจดีย์
พระธาตุพนมในยุคดั้งเดิมสร้างเป็นทรงเตี้ย
มากไปกว่านั้น..ถ้าเราได้ศึกษาประวัติศาสตร์การสร้างเจดีย์อย่างถ่องแท้ จะพบว่าการสร้างเจดีย์ให้มียอดสูงแหลมนั้นเกิดขึ้นในยุคหลัง ๆ ดังวิวัฒนาการของ “พระธาตุพนม” ซึ่งเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็สร้างเป็นทรงป้อม ๆ เตี้ย ๆ โดยใช้ดินก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยมแล้วเผาให้สุก ขนาดกว้าง ยาว สูง อย่างละ ๒ วา จากนั้นได้มีการบูรณะจนมียอดแหลมสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคต่อ ๆ มา ดังรูป
สุดทึ่ง! มหาสถูปเกสริยาคล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์มาก
มหาสถูปเกสริยา มหาสถูปที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งเป็นมหาสถูปที่ประดิษฐานบาตรของพระพุทธเจ้าที่ประทานแก่ชาววัชชี ก็มีลักษณะคล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์มาก และที่น่าทึ่งไปกว่านั้น..มหาสถูปเกสริยายังมีองค์พระปฏิมากรประดิษฐานอยู่รายล้อมองค์พระเจดีย์ คล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์ที่มีองค์พระปฏิมากรรายล้อมองค์พระเจดีย์อีกด้วย
1
เจดีย์บุโรพุทโธมีพุทธปฏิมากรรายล้อมคล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์
อย่างกรณีของ เจดีย์บุโรพุทโธ ในประเทศอินโดนีเซียก็เช่นกัน เป็นเจดีย์ที่มีพุทธปฏิมากรรายล้อมองค์พระเจดีย์คล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์เหมือนกัน
พระพุทธรูปรายล้อม รอบพระมหาธรรมกายเจดีย์
พระพุทธรูปรายล้อม รอบเจดีบรมพุทโธ
จากหลักฐานทางโบราณสถานในพระพุทธศาสนาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นว่าพระมหาธรรมกายเจดีย์สร้างขึ้นตรงตามหลักการยุคดั้งเดิมในประวัติศาสตร์ใกล้ยุคพุทธกาลมากที่สุด
พระพุทธรูปนับล้านองค์
ดังนั้น จะกล่าวหาว่าพระมหาธรรมกายเจดีย์สร้างผิดเพี้ยนได้อย่างไร ก็ในเมื่อสถูปหรือเจดีย์ยุคดั้งเดิมเกือบทั้งหมดสร้างเป็นทรงโอคว่ำ ครึ่งทรงกลม หรือทรงโดม อีกทั้งเจดีย์หลาย ๆ องค์ก็ยังมีพระปฏิมากรประดิษฐานบนเจดีย์อีกด้วย
ร.ลิ่วเฉลิมวงศ์
🌟รับธรรมะดี ๆ ที่เป็นประโยชน์และเป็นกำลังใจในการปฏิบัติธรรม เพื่อให้เข้าถึงความสุขภายในได้ที่นี่
⚡️Line
⚡️Facebook
⚡️YouTube
⚡️Instagram

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา