13 พ.ค. 2020 เวลา 08:10 • ศิลปะ & ออกแบบ
วัดสวนดอก หนึ่งในพุทธสถานที่แสดงเด่นชัด ถึงความรุ่งเรืองทางศาสนาแห่งยุคสมัยล้านนา
ซึ่งถือเป็นวัดที่สำคัญยิ่งในสมัยนั้นที่สำคัญยิ่งในสมัยนั้น สาเหตุที่ พระองค์ทรงสร้างเพราะศรัทธาในพระพุทธศาสนา อีกทั้งเพื่อเป็นสถานที่อยู่และปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์พร้อมกันนั้นก็เป็นที่พุทธศาสนิกชนได้ใช้เป็นสถานที่ทำบุญและประกอบพิธีกรรมตามประเพณีของชาวพุทธอีกด้วย ซึ่งคาดว่าวัดสวนดอกได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ.1962
เจดีย์วัดสวนดอกที่มีความโดดเด่นสวยงาม สร้างในปี พ.ส.1916 ศิลปะแบบลังกา-สุโขทัย -มีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับเวียงโบราณสวนดอก -หมู่โกฎิเก็บอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือ -วิหารและพระประทานขนาดใหญ่
ขนาดพื้นที่ (ไร่)
 
 
ที่อยู่
ตำบล/แขวงสุเทพ อำเภอ/เขตเมืองเชียงใหม่ สุเทพ เมืองเชียงใหม่
การเดินทาง
 
จักรยาน มอเตอร์ไซด์ รถโดยสารประจำทาง รถยนต์
หมายเหตุการเดินทาง
 
 
กิจกรรม
 
กราบไหว้พระสักการะ
สิ่งอำนวยความสะดวก
ทางลาด
สุขา มัคคุเทศก์ท้องถิ่น ป้ายสื่อความหมาย ป้ายชี้ทางเข้าถึง ทางลาด ห้องน้ำสำหรับคนพิการ
สาธารณูปโภค
 
 
ข้อมูลเพิ่มเติม
 
พระเจ้าเก้าตื้อ
พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง ("ตื้อ" เป็นคำในภาษาไทยเหนือ แปลว่า หนักพันชั่ง) พระญาเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2047 "พระเจ้าเก้าตื้อ" เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง 8 ศอก หรือ 3 เมตร สูง 4.70 เมตร เพื่อเป็นพระองค์ประธานใน วัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์เป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า "วัดเก้าตื้อ" แทน ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ในปี พ.ศ. 2475 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478
พระพุทธปฏิมาค่าคิง และวิหารหลวงที่ใหญ่ที่สุดในล้านนา
พระพุทธปฏิมาค่าคิง (เท่าพระวรกาย) เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา พ.ศ. 1916 หล่อด้วยทองสำริด ขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา หน้าตักกว้างสองเมตร สูงสองเมตรครึ่ง เรียกชื่อตามภาษาถิ่นล้านนาว่า “พระเจ้าค่าคิง”
กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ
กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2450 โดยพระดำริใน พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ซึ่งทรงเห็นว่าทำเลที่ตั้งของวัดสวนดอกกว้างขวาง จึงโปรดให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิของ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ พระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน ณ ที่นี่ รวมทั้งได้ประทานทรัพย์ให้การทำนุบำรุงมาโดยตลอดพระชนม์ชีพ หลังจาก พระราชชายา เจ้าดารารัศมี สิ้นพระชนม์ ได้มีการแบ่งพระอัฐิของพระองค์มาประดิษฐานไว้ ณ กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่งนี้ (อีกส่วนหนึ่งแบ่งประดิษฐานไว้ใน สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร) ปัจจุบัน กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่งนี้ ได้ถูกจดทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478
โฆษณา