20 พ.ค. 2020 เวลา 13:08 • การศึกษา
ถ้าคุณเป็นคนที่ทำได้หลายอย่าง แต่ไม่เก่งสักอย่าง เหมือนอย่าง "เป็ด"
คุณอาจเป็น "multipotentialite"
เคยไหม ??? เวลากรอกแบบฟอร์มใบสมัครต่าง ๆ ที่เขียนถามความสามารถพิเศษ เราก็ไม่รู้ว่าตัวเองพิเศษอะไร หรือ สิ่งที่เรามีอยู่มันใช่ความพิเศษหรือ
เปล่า ? จนเราเริ่มไม่มั่นใจในตนเอง..
เพราะเราเป็นคนที่อะไรก็ได้ ทำได้ทุกอย่าง แต่ไม่เชี่ยวชาญสักเรื่อง เหมือนที่เรียกกันว่า "เป็ด" ที่บินได้และดำน้ำได้แต่ไม่เก่งสักอย่าง พฤติกรรมแบบนี้มีสำนวนที่เรียกว่า "jack of all trades , master of none"
และในทางจิตวิทยาเราเรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่า "multipotentialite"
multi (มัลติ) แปลว่า หลาย
potential (โพเเทนเชียล) แปลว่า ศักยภาพ
lite ( ไลท์ ) เเปลว่า อะไรที่มันเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่สุดสักทาว
รวมแล้วคือ ศักยภาพหลายอย่างที่ไม่สุดสักทาง
ผู้ใหญ่มักบอกว่า เราไม่สามารถทำอะไรสองอย่างได้พร้อมกัน เพราะมันจะได้ผลงานออกมาไม่ดี เราต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น นั้นหมายความว่าทุกคนต้องเลือกที่จะมีตัวตนเดียว เท่านั้นไม่สามารถมีมากกว่าหนึ่งได้
ซึ่งจริงอยู่ว่าในโลกใบนี้มีหลายคนที่เกิดมามีพรสรรค์
เป็น specialist ในทางใดทางหนึ่งไปเลย
แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่ได้เป็น specialist แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าตัวเองทำอะไร
ได้หลายอย่าง มีความสนใจมากมายเต็มไปหมด
ไม่ได้สนใจอยู่กับแค่สิ่ง ๆ เดียว
พอคุณกลุ่มนี้สนใจด่ำดิ่งลงไปสู่หวงความรู้สักพักคนเหล่านี้ก็จะรู้สึกเบื่อและหาสิ่งใหม่ทำ
เราเรียกคนเหล่านี้ว่า "polymath"
แน่นอนว่าการทุ่มเททำสิ่ง ๆ เดียวนั้นเป็นเรื่องที่ดี การเป็น specialist เป็น
เรื่องดี เราทุกคนจึงชื่นชมกลุ่มคนเหล่านี้ คนที่ความสามารถพิเศษ เพราะเขาค้นพบสิ่งที่เขารักและเขาทำได้ดี และชอบเปรียบเทียบกับตัวเองว่าเราไม่มี
"อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน" ไม่มีอะไรพิเศษเหมือนคนอื่น ๆ จึงเกิดความรู้สึกเศร้าหมอง ท้อแท้ หมดกำลังใจ
การเป็นคนที่ไม่ได้เก่งอะไรด้านใดด้านหนึ่งนั้นไม่ใช่เรื่องผิดหรือเรื่องไม่ดี
เพราะการที่คนเหล่านี้เป็น " เป็ด " นั้น เขามีศักยภาพที่คนกลุ่มอื่นไม่อาจมี
1. IDEA SYNTHESIS ความคิดสร้างสรรค์
มันคือการรวมกันขององค์ความรู้ที่ของสองสิ่งหรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกัน
และสร้างสรรค์เป็นสิ่งใหม่ขึ้นมา
2. RAPID LEARNING การเรียนรู้อย่างรวดเร็ว
คนกลุ่มนี้เมื่อเวลาสนใจสิ่งใดแล้วจะจดจ่ออยู่กับแต่สิ่งนั้น อินไปกับมัน ทำให้สามารถเรียนรู้และเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว เพราะเขาได้ผ่านประสบการณ์หลากหลายรูปแบบ ทำให้มีพื้นฐานในการลองผิดลองถูกและทำหลาย ๆ อย่างมามากมาย พวกเขาจึงมักไม่ค่อยเริ่มต้นจากศูนย์
3. ADAPTABILITY ความสามารถในการปรับตัว
เพราะคุณจะเป็นใครก็ได้ ทำอะไรก็ได้ อยู่ตรงไหนก็ได้ เพราะคุณผ่านมันมาหลายรูปแบบเเล้ว
การรู้หลายอย่างทำได้อย่างหลายไม่ใช่เรื่องไม่ดี อาจเป็นเพราะค่านิยมในยุคนี้ที่ทำให้เกิดแนวคิดที่ว่า "ทำอะไรต้องไปให้สุด มันถึงจะดี" ชาว Molymatn บางคนก็เลยเกิดคำถามกับตัวเองว่า แท้จริงแล้วสกิลของความหลากหลายนี้ เป็นพรหรือคำสาปกันแน่ เพราะคนที่ทำอะไรหลายๆ อย่างไปพร้อมๆ กัน มักถูกมองว่าจับจด ไม่จริงจัง ไม่มีความรับผิดชอบ หรือไม่เก่งจริงสักอย่าง
เปลี่ยนไปเรื่อย จึงดูเป็นพวกที่ไม่มีความแน่นอนในชีวิต
1
หากลองมองย้อนกลับ Aristotle (อลิสโตเติล) ก็เป็นทั้งนักปรัชญาและนัก
วิทยาศาสตร์ หรือ ลีโอนาโด ( Leonardo Di Vinci ) ก็มีความสามารถที่หลากหลายที่เป็นทั้งจิตรกร นักประดิษฐ์ นักกายวิภาคศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์
หรือกระทั่งบุคคลที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีคือ "พ่อหลวงของเรา" ท่านเอง
ก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ทรงพระปรีชาสามารถในหลายด้าน ทั้งดนตรี กีฬา
วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
ในโลกปัจจุบันนี้เรามีคนเก่งที่เจาะลึกในสิ่งนั้นได้อย่างลึกซึ้ง และในขณะเดียวกันผู้ที่มีความสามารถหลากหลายก็ได้นำความรู้เหล่านี้มาสร้างสรรค์เป็น
สิ่งใหม่ให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นกว่าเดิม เราจึงไม่สามารถขาดคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ได้ และไม่มีสามารถมีคนแต่เพียงกลุ่มเดียวได้เท่านั้น
ถ้าหากคุณไม่มีความสามารถพิเศษอะไรที่โดดเด่น ไม่เหมือนกับคนอื่น ไ
ม่รู้ว่าตัวชอบอะไร และทำอะไรได้ดี ไม่ได้หมายความว่าเราหาตัวเองไม่เจอ
แต่เรากำลังเจอตัวเองให้หลาย ๆ เวอร์ชั่นมากกว่า เหลือแค่นำมาปรับใช้ให้
เข้ากับความสนใจของเราเท่านั้น
สุดท้ายแล้ว การทบทวนหาความสามารถความสนใจของตัวเองจริงนั้นเป็น
สิ่งที่ดีและควรทำ เพราะบางทีเราอาจกำลังอ้างตัวเองว่าเป็น "Multipotentialite’ ทั้งที่จริง ๆ แล้ว เราอาจไม่ได้เป็นอะไรเลยก็ได้
จงภูมิใจในความเป็นเป็ดของคุณ เพราะคุณคือคนที่ทำอะไรได้หลายอย่าง
ปลุกพลังความเป็นเป็ดในตัวคุณขึ้นมา "จงเป็นเป็ดที่มีจิตใจดั่งฟีนิกส์"
เพราะเมื่อคนล้มแล้วคุณจะลุกขึ้นมาใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ดังเช่นฟีนิกส์ที่ตายแล้วเกิดใหม่ได้ตลอดไป
ข้อคิดจากคนเข้าป่า : อย่าพยายามทำตัวกลมกลืน ถ้าเราเกิดมาเพื่อแตกต่าง
เรียบเรียงโดย : เรื่องเล่าคนเข้าป่า
อ่านกับฟังนั้นแตกต่างกันลองสละเวลา 12 นาทีมาฟังคลิปต้นฉบับกันครับ
โฆษณา