13 พ.ค. 2020 เวลา 10:11 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แท่นพิมพ์...Disruptive Technology แห่งศตวรรษที่ 15 ที่กำลังจะถูก
Disrupt
Credit: Mari77/Pixabay
จะว่าไปแล้วก่อนการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 นั้น
ไม่มีนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ใดที่จะสามารถแพร่กระจายความรู้ในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ได้มากเท่ากับ “แท่นพิมพ์” (Printing Press) ของ “โยฮันเนส
กูเตนเบิร์ก” (Johannes Gutenberg) เลย แม้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับ "การพิมพ์แบบตัวเรียง" (Movable Type Printing) ซึ่งเป็นการพิมพ์ที่มีการนำเอาตัว
อักษรเป็นตัว ๆ มาเรียงและพิมพ์เป็นคำหรือประโยคจะไม่ใช่ของใหม่ เพราะในจีนเองก็มีการใช้ตัวอักษรที่ทำจากกระเบื้องเคลือบ (Porcelain) ในการ
พิมพ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1040 หรือในเกาหลีเองก็มีการใช้ตัวอักษรที่ทำจากโลหะ
เพื่อพิมพ์หนังสือในปี ค.ศ. 1377 แต่กูเตนเบิร์กเป็นคนแรกที่พัฒนาอุปกรณ์กลไกที่ใช้แรงกดเพื่อถ่ายโอนหมึกลงบนสื่อสิ่งพิมพ์ได้สำเร็จในปี ค.ศ.
1440
Credit: Wikipedia
และนี่ก็อาจนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มของการปฏิวัติการพิมพ์ในยุคต่อมาเลยที
เดียว เพราะหลังจากนั้นไม่นาน แท่นพิมพ์ของกูเตนเบิร์กก็แพร่หลายไปทั่ว
ทวีปยุโรป ด้วยกระบวนการพิมพ์ตามที่ได้รับการออกแบบใหม่นี้ แท่นพิมพ์
จะสามารถทำสำเนาหนังสือได้รวดเร็วกว่าเดิมหลายเท่า อาจมากถึง 3,600 หน้าในแต่ละวัน เปรียบเทียบกับ "การพิมพ์ด้วยมือ" (Hand Printing) ที่ทำได้เพียง 40 หน้า หรือ "การคัดลอกเนื้อหาด้วยมือ" (Hand Copying) ที่ทำ
ได้เพียงไม่กี่หน้าเท่านั้น ก่อให้เกิดการเผยแพร่ความรู้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ประมาณการกันว่า มีการใช้แท่นพิมพ์ดังกล่าวมากกว่า 1,000 เครื่องทั่วยุโรป และมีการตีพิมพ์หนังสือจำนวนกว่า 20 ล้านภายในปี ค.ศ. 1500
Credit: Wikipedia
ก่อนที่หนังสือจะแพร่หลาย หนังสือเป็นสิ่งที่มีราคาแพงและจำกัดเฉพาะชน
ชั้นสูงเท่านั้น ดังนั้นแท่นพิมพ์จึงไม่เพียงแต่ทำให้หนังสือมีราคาถูกลง และ
สามารถเข้าถึงมากขึ้นได้โดยคนระดับล่าง แต่ยังช่วยจุดประกาย “ยุคแห่ง
ความสว่างไสวทางปัญญา” (Age of Enlightenment) ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1650 - 1700 ที่ส่งเสริมการใช้เหตุผล การใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน อันเป็นรากฐานของแนวคิดทางตะวันตกมาจนถึงทุกวันนี้
เทคโนโลยีการพิมพ์พัฒนาต่อมาอีกหลายศตวรรษ และหนังสือได้กลายเป็น
เครื่องมือสำคัญในการบันทึกและถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ของผู้คนมาตลอด จนกระทั่งการก่อตัวขึ้นของคลื่นลูกใหม่ทางด้านเทคโนโลยี ใช่แล้วครับ สิ่ง
นั้นคือ "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" (Personal Computer) ที่แพร่หลายใน
ช่วงปี ’80 และตามมาด้วย "อินเทอร์เน็ต"ในช่วงปี ’90 ซึ่งเมื่อถูกนำมา
ผนวกรวมกันแล้วทำให้วิถีชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็วอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
Credit: Wikipedia
ย้อนกลับไปในปลายยุค ’90 รูปแบบของหนังสือที่เราคุ้นเคยเริ่มขยับขยาย
ไปสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ โดยผู้อ่านสามารถซื้อหาหนังสือที่ต้องการได้จาก
ร้านขายหนังสือออนไลน์รุ่นบุกเบิกอย่าง Amazon รวมไปถึงร้านขายหนังสือเก่าแก่ที่เพิ่มช่องทางการขายผ่านเว็บไซต์อย่าง Barnes & Noble นี่ยังไม่
นับร้านขายหนังสือออนไลน์รายใหม่ที่ทยอยเกิดขึ้นราวกับดอกเห็ด ส่วนในประเทศไทยในสมัยนั้น เจ้าตลาดอย่างศูนย์หนังสือจุฬาฯ ก็ยังต้องปรับตัว
ให้เข้ากับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน
Credit: Tumisu/Pixabay
ต่อมารูปแบบของ "หนังสืออิเล็กทรอนิกส์" หรือ e-book นั้น เริ่มได้รับความนิยม ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ที่ถูกลงและทันสมัยมากขึ้นจนทำให้พฤติกรรมการอ่านนั้นเปลี่ยนรูปแบบ
ไปจากเดิมมาก อุตสาหกรรมส่ิงพิมพ์ที่ไม่ได้ปรับตัวเริ่มได้รับผลกระทบรุน
แรง จนมีความกังวลว่ายอดขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อาจจะเริ่มแซงหน้า
หนังสือแบบเดิมในไม่ช้า
Credit: Free-Photos/Pixabay
อย่างไรก็ดี ข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2019 ที่ผ่านมาเปิดเผยให้เห็นว่ายอดขายรวมทั้งสิ้นของหนังสือในสหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่าเกือบ 2.6 หมื่นล้านเหรียญ (หรือประมาณ 8.3 แสนล้านบาท) นั้น มาจากยอดขายหนังสือที่ตีพิมพ์เป็นรูปเล่มสูงถึง 2.26 หมื่นล้านเหรียญ (หรือประมาณ 7.25 แสนล้านบาท) เลยทีเดียว ในขณะที่ยอดขายหนังสือ e-book มีเพียง 2.04 พันล้านเหรียญ (หรือประ
มาณ 6.5 หมื่นล้านบาท) เท่านั้น ข้อมูลนี้อาจทำให้หลายคนตกใจหรือไม่ก็
ตั้งคำถามรัว ๆ ว่าเป็นไปได้หรือ? ใครที่เห็นด้วยกับข่าวนี้อาจมองว่าสื่อ
ดิจิทัลแม้จะทำให้ธุรกิจสื่อ รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบ แต่ผู้คนจำนวนมากยังคงนิยมการอ่านหนังสือในรูปแบบเดิม ๆ ที่มีเอก
ลักษณ์และเสน่ห์ ซึ่งไม่สามารถทดแทนโดยหนังสือรูปแบบใหม่ได้ ส่วนใครที่ไม่เห็นด้วยก็อาจจะแย้งว่าการเก็บข้อมูลดังกล่าวอาจไม่ครอบคลุมหรือมี
ข้อผิดพลาดเมื่อพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นรอบตัวในปัจจุบันและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
เทคโนโลยีที่ใช้อุตสาหกรรมการพิมพ์ที่เคยเป็น Disruptive Technology
ในสมัยศตวรรษที่ 15 และส่งอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของผู้คนมายาวนานกว่า
500 ปีมาถึงตอนนี้กำลังจะถูก Disrupt โดยเทคโนโลยีอื่นบ้างแล้ว เกมนี้
ใครจะอยู่หรือใครจะไป ส่วนตัวผมเห็นว่าคงไม่ได้เป็นเรื่องยากที่จะตัดสิน
และหลายคนอาจจะมีคำตอบอยู่แล้วในใจ เพียงแค่รอให้เวลาเป็นเครื่อง
พิสูจน์เท่านั้น
โฆษณา