14 พ.ค. 2020 เวลา 02:05 • ไลฟ์สไตล์
“ DESIGN THINKING กระบวนการ ที่ไม่ใช่กระบวนการ “
โลกไม่ได้สนใจหรอกว่าคุณมั่นใจในตัวเองแค่ไหน แต่โลกนี้คาดหวัง “ความสำเร็จ” ที่เกิดจากความมั่นใจของคุณต่างหาก.....
เป็นคำพูดของ เจ้าพ่อ Microsoft ที่พลอยชอบมากเลยค่ะ
มาเจอกับเค้าอีกแล้วน๊าาา พอดีมีเวลาว่างนิดนึง (เอาจริงๆ ก็ว่างแหละค่ะ!!) เลยลองไปนั่งฟังเรื่อง คิดแบบสร้างสรรค์ของ คุณ ต้องกวีวุฒิ เจ้าของเพจแปดบรรทัดครึ่งนะคะ โดยเพจคุณฉุดคิดเป็นคนแนะนำหาความรู้มาให้เลยค่ะ!!
ตอนแรกก็จะเก็บไว้ฟังตอนว่างมากๆ ค่ะ แต่คุณฉุดก็บอกว่ามันดีมากเลยนะ อยากให้ลองไปฟังแล้วทำสรุปดู!!
〰️〰️〰️
ส่วนเค้าก็... ไปฟังดูก็ได้ เพราะหัวข้อมันน่าสนใจมากจริงๆ ค่ะ
วันนี้ก็เลยอยากสรุปเอาไว้ ในสไตล์ตามพลอยมาค่ะ 🐰🐰
มาดูกันค่ะ คิดแบบสร้างสรรค์ มันอย่างไง?! แล้วตัวเราหล่ะมีความคิดสร้างสรรค์ไหม!!!
บรรยายโดย คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร แนะนำโดยเพจ คุณฉุดคิด
Desigh Thinking ได้เป็นวิชาเรียนแล้วนะคะ จาก Design School ที่ Stanford University ประเทศสหรัฐอเมริกา ...
〰️〰️〰️
D. School คืออะไร?! สงสัยกันไหมคะ!! เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ
- - - การที่เราเอาเด็กจากหลากหลายคณะมานั่งเรียน ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้เห็นความแตกต่าง ลองนึกภาพตามนะคะ ถ้าเราจับ คนที่เรียนวิศวะ, บริหาร, หมอ, จิตวิทยา, บัญชี และคณะอื่นๆ
มารวมตัวกัน แล้วลองโยนโจทย์ให้ซักข้อ คิดดูสิค่ะ ว่าเราจะได้คำตอบที่หลากหลายขนาดไหน!! แค่คิดก็สนุกแล้ว
และมาพบกับเรื่องราว การสร้างคนที่เขาไม่ได้สร้างนวัตกรรม แหละคนส่วนมากชอบฟังเรื่องราวที่ประสบความสำเร็จของเขา มันเลยทำให้เราติดกักดับของกระบวนการความสำเร็จที่ไปไม่ถึงความสำเร็จ.....
มาค่ะ พลอยอยากให้พวกตัวดูอะไรหน่อย
บรรยายโดย คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร แนะนำโดยเพจ คุณฉุดคิด
พอเห็นรูปภาพที่ขึ้นปกแบบนี้ พวกตัวรู้สึกอะไรไหมคะ!! ตอนพลอยเห็นพลอยก็แบบ เห้ย!! เจ๋งชะมัด นี่มันฮอกวอตเลยนะเฟ้ยยย อ้อๆๆ โทษทีค่ะ ไม่ใช่ มันคือมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดเลยนะ คนเก่งๆ ก็จบจากที่ทั้งนั้น....
〰️〰️〰️
แต่ แต่.. หยุดความคิดแบบนั้นเลยค่ะ จริงๆ แล้วเขาไม่อยากให้ยึดติด เขาอยากให้เราดูที่ทัศนคติค่ะ
มาแล้วกับคำว่า “ทัศนคติ” เป็นคำที่พูดง่าย แต่ทำยากมากค่ะ เดี๋ยวพลอยจะค่อยๆ สรุปไปทีละอย่าง เพื่อให้พวกตัวเข้าใจไปกับเค้านะ...
พวกตัวเห็นรูป 5 ขั้นตอน ที่ทำให้เกิดกระบวนการคิดสร้างสรรค์ไหมค่ะ?!
พลอยตลกที่คุณต้องเล่ามากค่ะ เขาเล่าว่าตอนเขาไปสอนเด็กที่มหาลัย 400 กว่าที่ ส่วนใหญ่หลับค่ะ แต่พอเห็นรูปข้างล่างปุ๊ป ตื่นขึ้นมาถ่ายรูปเฉย ที่ตื่นขึ้นมาถ่าย เพื่อที่จะจำไป เพราะคิดว่ามันจะออกสอบ
〰️〰️
ซึ่ง.... การกระทำแบบนี้ เป็นการกระทำที่ผิดมากค่ะ เพราะมันไม่ได้นำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงค่ะ!!
บรรยายโดย คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร แนะนำโดยเพจ คุณฉุดคิด
ความจริงแล้ว D. Thinking ไม่ใช่กระบวนการนะคะ มันคือการฝึกฝน ยกตัวอย่างเช่น การขี่จักรยาน ถ้าเราไปหาข้อมูลในกูลเกิ้ล เราจะเจอทฤษฎีที่ทำให้เราขี่จักรยานเป็นเต็มไปหมดเลยค่ะ
〰️〰️〰️
ในขณะที่พวกตัว จำทฤษฎีได้อย่างขึ้นใจ แต่ไม่ได้ลงมือปฎิบัติมันจะไม่เกิดทักษะค่ะ
ให้ลองหลับตา นึกถึงการว่ายน้ำก็ได้ค่ะ เรารู้ว่าจะต้องตีขาอย่างไง แขนต้องไปอย่างไง ได้ใช่ไหมคะ!! แต่พวกเคยสังเกตไหม!!
〰️〰️
ว่าการว่ายน้ำในสระว่ายน้ำกับในทะเล ก็ใช้แรงไม่เหมือนกัน...
นี่เลยเป็นที่มาว่าทำไมเราต้องลงมือปฎิบัติค่ะ เพราะมันจะเป็นทักษะของเราอย่างไงคะ!!
แล้วทักษะที่ว่าเนี้ย มันประกอบไปด้วยอะไรบ้างหล่ะ?!
รักเรียนอาจจะมีความรู้ แต่ถ้ารักเค้าอาจจะมีความรักน๊าาา
อิอิ อย่างเพิ่งหมั่นไส้จิคะ!! 😆🙏🏻
บรรยายโดย คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร แนะนำโดยเพจ คุณฉุดคิด
ตามมาเลยค่ะ!!
Empathy แปลว่า เข้าใจแต่มันแตกต่าง จาก understand มากเลยนะคะ
ส่วนมากเราจะเจอคนที่ใช้ชีวิตว่า ต้องทำแบบนั้นสิ!! ทำแบบนี้สิ!! แต่ไม่ได้รู้ว่าการทำจริงมันยาก ไม่รู้ว่าจุดปัญหาของเขาเป็นอย่างไง แล้วเราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร!!
มันเริ่มจากตรงนี้ค่ะ “Feeling what other feel” ต้องรู้สึกเหมือนที่เขารู้สึก มันเป็นกุญแจของคำถามเลยค่ะ....
* ถ้าคุณอธิบายให้ผมเข้าใจไม่ได้ นั้นก็แปลว่า คุณไม่ได้เข้าใจมันดีพอ!! *
ความต้องการทางอารมณ์ ที่เราสื่อออกมาไม่เป็น เพราะเกิดจากการถามไม่เป็น!!
〰️〰️〰️
เอ้า!! แล้วเป็นต้องถามยังไงอ่ะ พลอยชอบเรื่องที่คุณต้องเล่ามากค่ะ มีครั้งหนึ่ง คุณต้องได้ไปฟังบรรยายของอีลอน มัสค์ ที่ใครๆ ก็ขนานนามว่าเขาไอสไตล์คนที่สองของโลก ซึ่งการบรรยายครั้งนั้น ก็คือ ฟังอีลอน มัสค์พูดไม่ค่อยรู้เรื่องค่ะ
แต่สิ่งที่ได้คือ มีนักศึกษาในคลาสนั้นถามว่า ทำไมคุณถึงประสบความสำเร็จ สิ่งที่อีลอน มัสค์ตอบคืออะไรรู้ไหมคะ
ทะแด่น แท่น แท๊น - - Chain why ค่ะ คือ ห่วงโซ่ของคำถาม เขาจะถามจนกว่าจะเข้าใจ....
🔺🔺ขอยกตัวอย่างเลยค่ะ....🔻🔻
มีลูกค้าเดินมาหาคุณ แล้วบอกว่าฉันอยากได้สะพานข้ามไปฝั่งนั้น!
〰️〰️
พวกตัวจะตอบว่าหรือถามว่าอะไรกันคะ?!
อยากได้สะพานแบบไหน?, ถ้าเป็นวิศวกรก็จะหานวัตกรรมใหม่ของวัสดุมาเสนอถูกไหมคะ?!
แต่ แต่ ถ้าเราเปลี่ยนคำถามเป็นว่า คุณจะสร้างสะพานไปทำไม?!
แล้วคำตอบคือ จะสร้างไปหาแฟน คิดถึงกันมาก!! แหนะคิดออกไหมคะ ว่าคนถามจะคิดอย่างไงต่อ... เขาก็จะคิดว่าทำยังไงให้ลูกค้าหายคิดถึงแฟน ตะนี้ แหละค่ะไอเดียเราจะถูกกระตุ้นแล้วค่ะ
ทำแอปพลิเคชั่นแชทหาแฟนได้ไหม สร้างเรือแทนได้หรือป่าว ถ้าเหงาทำเป็นแอปหาคู่ได้ไหม?! ยิ่งเราเกิดคำถามกับลูกค้าไปเรื่อย เราก็ยิ่งเข้าใจเขาขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
ขอแค่เราเข้าใจเขา การขายสินค้าชิ้นหนึ่งให้กับลูกค้าจะไม่ยากเลยค่ะ
อีกอย่างที่ต้องมีคือ Empathy Work ค่ะ สงสัยไหมคะ?!
มันคือการลงไปทำวิจัยค่ะ
〰️〰️〰️
เอาหล่ะสิ!! การทำวิจัยที่ว่าคืออะไร สงสัยไหมคะ!! ตามพลอยมาเลยค่ะ
- - Observe : คือการไปนั่งดูค่ะ เกิดจากการนั่งดูทั้งวัน และสังเกตการณ์
🔻🔻ขอยกตัวอย่าง 🔺🔺
จากปู่วอเรนเลยค่ะ ปู่เล่าให้ฟังว่าปู่อยากลงทุนบ. หัวรถไฟ แต่เกิดอะไรขึ้นรู้ไหมคะ?! ปู่ได้เห็นว่า รถไฟจะต้องมีทางสำหรับรถไฟ และอีกอย่างรถไฟก็ได้ขนส่งสินค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้ปู่วอเรนซื้อกิจการ บ.เบอร์ลิงตัน นอร์ทเทิร์น ซานตา คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทสร้างทางรถไฟขนาดใหญ่แทนค่ะ!! (ลองหาอ่านกันดูได้ค่ะ พลอยไม่แน่ใจว่าถ่านหรือหัวรถไฟ) 😆
- - Immerse : ต้องลองเข้าไปเป็นลูกค้าค่ะ
ลองดูรายการนี้ได้เลยค่ะ Undercover Boss เป็นรายการของต่างประเทศที่นำเอาเจ้าของกิจการ มาปลอมตัวเข้าไปทำงาน
ขอเม้าส์อีกนิดค่ะ!! ลักษณะรายการคือ จะสร้างสถานการณ์ว่า บอส รายนั้นเพิ่งเจ๊งไป เข้าไปฝึกงาน เพื่อต้องหาเงินทุนไปทำธุรกิจอีกครั้ง... อยากรู้ว่าเป็นไงไปตามดูได้เลยค่ะ
มันทำให้เราได้เห็นปัญหาจริงๆ เจอกับปัญหาที่ต้องแก้จริงๆ ค่ะ
- - Interview เข้าไปคุย เข้าไปถามเลยค่ะว่าทำไม เจาะลึกไปเลยค่ะ ว่าลูกค้าต้องการแบบไหน...
ชอบพูดยาว แชร์ประสบการณ์ พูดบนความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ได้มีไอเดียเพิ่มเติม แหนะๆๆ สงสัยกันไหมคะ!! คืออะไร แล้วจะทำไงถ้าเจอคนแบบนี้ หรือว่าเราเป็นแบบนี้ซ่ะเอง!!
มาร่วมอ่านกับงานสรุปสไตล์ตามพลอยมาในครั้งหน้านะคะ
วันนี้ ยาวมากเลยกลัวทุกคนจะปวดตาอ่ะค่ะ ไม่ได้เป็นหมอหรอก!! แต่เป็นห่วง อิอิ 🤣😙🥰
งานสรุปสไตล์ตามพลอยมา
แต่ถ้าใครทนรอภาคสุดท้ายไม่ไหว นี่เลยค่ะ เค้าแปะลิ้งค์ลิ้งค์ต้นเรื่องให้ จิ้มเข้าไปเลยค่ะ เผื่อมีคนอยากสรุปให้เค้าอ่านบ้าง...😙
🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻
ขอบคุณทุกคนมากนะคะ
Ariya p_

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา