14 พ.ค. 2020 เวลา 05:39 • ความคิดเห็น
EP3: Smooth as silk? รักคุณเท่าฟ้า?
ช่วงนี้ฟีดข่าวการบินไทยเยอะมากๆครับ ลังเลอยู่นานว่าจะเขียนความเห็นตัวเองดีไหม (เอาละ)ในฐานะอดีตที่ปรึกษาธุรกิจก็อยากแสดงความเห็นบ้าง พยายามจะมองหลายๆมุมนะครับ here we go......
ทางเลือกของการบินไทยในความคิดผม
3 ทางเลือกของการบินไทย
1. รัฐบาลอุ้มต่อไป
หลังจากมีประกาศจากรัฐบาล ก็มีเสียงคัดค้านดังระงม ซึ่งไม่น่าแปลกใจถ้าเรามองดูสภาพการบินไทยเมื่อสิ้นปี 2562 ก่อนเกิด COVID-19 สภาพป่วยร่อแร่โดยไม่ต้องอ้าง COVID-19 ได้เลยครับ
การบินไทยขาดทุนสะสมมาต่อเนื่อง (มีกำไรบางปีก็จุ๋มจิ๋มน่ารัก)
ปี 2562 ขาดทุนประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท
ปี 2561 ขาดทุนประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท
(ไม่ย้อนไกลละกันครับ)
ทรัพย์สิน = หนี้สิน + ส่วนทุน
สิ้นปี 2562 (หน่วยล้านบาท) 256,665 = 244,899 + ส่วนทุน
แปลว่าส่วนทุนเหลือแค่ 11,766 ล้านบาทหรือประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ไม่ต้องคิดซับซ้อนจะเห็นว่าถ้าขาดทุนประมาณเดิม (ไม่มีโรคระบาด) ก็ไม่เหลือส่วนทุนแล้ว
การที่รัฐบาลเข้ามาอุ้ม แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็เป็นการยื้ออาการโคม่าเท่านั้น เท่าที่ผมอ่านส่วนใหญ่คนจะเห็นตรงกันในจุดนี้
แต่ก็มีกลุ่มคนจำนวนนึงเห็นว่าควรจะยื้อต่อไปเพราะการบินไทยสามารถกลับมาทำกำไรได้อย่าง ปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเหมือนกัน รัฐอาจเสียสายการบินแห่งชาติ เสียโอกาส/ ผลประโยชน์ระยะยาว
ปตท. และบริษัทในเครือเป็นลูกค้ารายใหญ่ในไทยของบริษัทเก่าผมครับ ต้องบอกว่าบริบทปตท. กับการบินไทยต่างกันมาก
1. ปตท. ยังอยู่ในธุรกิจ(ค่อนข้างผูกขาด) ชัดเจนในส่วนก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย รวมทั้งการนำเข้าจากพม่า และรวมถึงการนำเข้าก๊าซเหลว (LNG) ปตท.เป็นผู้ควบคุมรายเดียว
2. ในส่วนธุรกิจน้ำมัน มีปั๊มอื่นๆ นอกจากปตท. ก็จริง แต่โรงกลั่นน้ำมันในไทยเกือบทั้งหมดถือหุ้นใหญ่โดยปตท. ไม่ว่าจะเป็น PTT Global Chemical, Thai Oil, IRPC (จริงๆแต่เดิมถือหุ้นใหญ่บางจากด้วย)
3. ปตท.มีการปรับตัว ส่วนนี้ต้องให้เครดิตปตท.ครับ โครงสร้างการบริหารงานของปตท.ในปัจจุบันอยู่ในสถานะเป็น holding company ถือหุ้นในบริษัทลูกเสียมากกว่า โดยถือหุ้นในสัดส่วนไม่เกิน 50% ซึ่งเข้าเกณฑ์ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ เลยมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการของบริษัทลูกต่างๆ
ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันก็มีการพัฒนาเสริมเพิ่มความต่าง ตัวอย่างชัดเจนคือกาแฟอะเมซอน ซึ่งมาร์จิ้นตอนนี้ดีกว่าขายน้ำมันสำเร็จรูปเสียอีก และปตท. ยังมีการจัดตั้ง Venture Capital ของตัวเองเพื่อดูโอกาสการลงทุนนอกกลุ่ม นวัตกรรมใหม่ๆ
1
ส่วนการบินไทยนั้นในอดีต 60 ปีที่ผ่านมามีช่วงรุ่งเรืองมากๆ แต่จุดเปลี่ยนสำคัญหลังการเปิดเสรีการบินในปี 2547 บวกกับการเข้ามาแข่งขันของสายการบินต้นทุนต่ำ และการบินไทยเองที่ไม่มีการปรับตัว สภาพก็อย่างที่ทุกคนเห็นๆกันครับ
2. ทำแผนฟื้นฟูผ่านศาลล้มละลาย
เจ็บแต่(น่าจะ)จบ ก่อนจะใส่เงิน(ก้อนใหญ่)ก้อนใหม่ ต้องมีการปรับโครงสร้างกันก่อน การเข้าสู่กระบวนการทำแผนฟื้นฟูผ่านศาลล้มละลายอย่างเป็นทางการจะนำไปสู่การเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ ประนอม/ปรับโครงสร้างหนี้ แปลงหนี้เป็นทุน ต่อรองกับสหภาพแรงงาน เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมทุนใหม่ ลดสัดส่วนการถือหุ้นโดยรัฐ เป็นต้น
ตัวอย่างมีให้เห็นใกล้ๆตัว ก็ Japan Airlines (JAL) ที่ยื่นเข้าสู่กระบวนการล้มละลายในปี 2553 หลังจากนั้นองค์กรก็ lean ขึ้น ตัวเบาลง
(เกร็ดเล็กน้อย: JAL มีธุรกิจดิวตี้ฟรีที่เป็นส่วนทำเงินด้วยนะครับ แต่ในไทย รัฐบาล/AOT กลับให้สัมปทานกับ.......เข้ามาผูกขาดแทน)
3. แปลงสภาพเป็นเอกชน (Privatization)
แนวทางนี้อาจจะสุดโต่ง แต่ใช่ว่าไม่มีคนทำนะครับ อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กอังกฤษ มาร์กาเรต แทตเชอร์ ก็แปลงสภาพ British Airways เป็นบริษัทเอกชนโดยไม่มีรัฐถือหุ้นเลยมาแล้ว (ฺฺBritish Petroleum หรือ BP บริษัทน้ำมันแห่งชาติก็โดน privatized ด้วย) แล้วรัฐบาลก็มีรายรับจากภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย (ผมเคยได้ฟังดร.ยรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหารเกียรตินาคินภัทร อดีตกรรมการการบินไทยให้สัมภาษณ์สนับสนุนแนวทางนี้ครับ ส่วนตัวผมคิดว่าคนไทยไม่น่ารับแนวทางนี้ )
สรุปแล้วการเข้าสู่กระบวนการล้มละลายน่าจะดีที่สุดสำหรับการบินไทย เก็บเงิน 5.5 หมื่นล้านบาทไปทำอย่างอื่นดีกว่า เช่นถ้าช่วยเหลือประชาชน"ทุกคน" ที่อยู่ในระบบประกันสังคมทุกมาตรา (ประมาณ 16.6 ล้านคน) ก็จะได้คนละประมาณ 3,300 บาทเลยนะครับท่าน ไม่ต้องมารอพิจารณาให้/ ไม่ให้คนที่ลำบากจริงๆแบบที่เห็น
ถ้าชอบ ให้กำลังใจกันด้วยการกดไลค์ กด follow ด้วยนะครับ
ขอบคุณครับผม _/|\_
May the force be with all of us....
14 May 2020
โฆษณา