14 พ.ค. 2020 เวลา 10:13
การ์ตูนซ่อนศิลป์ #2 ตัวละครไม่ซ้ำหน้าลวดลายไม่ซ้ำใคร
ในบรรดาการ์ตูนสำหรับเด็กที่ถูกผลิตออกมามากมายจนนับไม่ถ้วน หลายคนที่ผ่านพ้นวัยเด็กมาแล้วอาจมองข้ามการ์ตูนเหล่านี้ไปด้วยเหตุผลว่า ลายเส้นไม่สวย เนื้อเรื่องดูเด็ก ๆ เกินไป แต่ท่ามกลางงานผลิตที่ล้นตลาดนั้นก็มี
การ์ตูนเรื่องหนึ่งที่แฝงงานศิลป์เอาไว้ในตัวละครและฉากหลัง ซึ่งสร้าง
เอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างและไม่ซ้ำใคร
วันนี้สะดุดศิลป์ขอเสนอแอนิเมชั่นเรื่อง Chowder
ชาวเดอร์หรือเจ้าแร็คคูนสีม่วงแก้มยุ้ยตัวนี้เป็นทีวีซีรีย์อีกหนึ่งเรื่องจากช่อง
Cartoon Network ช่องการ์ตูนอเมริกันขวัญใจชาวไทยตัวน้อย สร้างโดย C. H. Greenblatt หรือ Carl Harvey Greenblatt ออกอากาศครั้งแรกในปีค.ศ. 2007
เนื้อเรื่องย่อ : ชาวเดอร์เป็นเด็กน้อยที่ฝันอยากจะเป็นกุ๊กที่มีฝีมือ เขาได้มา
เป็นลูกศิษย์ของมุง ดาล ยอดกุ๊กฝีมือดี และเข้ามาอาศัยอยู่ด้วยกันที่ร้าน
Mung daal catering company โดยมีชาวเดอร์ ชนิทเซล และมุง ที่ช่วยกันทำอาหารให้ลูกค้าอยู่ในครัวและทรัฟเฟิลภรรยาของมุงที่เป็นคนรับออเดอร์
งานศิลป์ : มาถึงหัวข้อนี้หลายคนอาจจะคิดว่าการ์ตูนเด็ก ๆ แบบนี้ไม่เห็นจะมีงานศิลป์อะไรสวยงามเลย ถ้าหากว่ามองแบบผิวเผินอาจไม่เห็นอะไร แต่ถ้า
ลองสังเกตการ์ตูนเรื่องนี้ดูดี ๆ จะเห็นงานออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ซ่อนอยู่
Pattern หรือ ลวดลาย คือเสน่ห์ของการ์ตูนเรื่องนี้เพราะตัวละครแทบทุกตัว
จะต้องมีลวดลายเป็นส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเสมอเช่น เสื้อผ้า ทรงผม หรือแม้แต่ผิวหนังตัวละคร
ที่สำคัญไปกว่านี้มีอีกสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์มาก ๆ คือลวดลายทั้งหมดที่ปรากฏตามส่วนต่าง ๆ ของตัวละครนั้นจะถูกตรึงเอาไว้กับฉากหลังไม่ให้เคลื่อนไหว จะมีเพียงตัวละครที่เคลื่อนไหวไปตามปกติแต่ลวดลายเหล่านี้จะหยุดอยู่นิ่ง ๆ ซึ่งการทำแบบนี้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
อย่างแรกเลยคือช่วยลดอาการตาลายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กที่ดูได้ หากทุกคนได้ชมการ์ตูนที่มีลวดลายในตัวละครมากขนาดนี้แล้วลายเหล่านั้นยังเคลื่อน
ไหวตามตัวละครอย่างต่อเนื่องอีก คงต้องมีเวียนหัวกันบ้างอย่างแน่นอน
นอกจากนี้เวลาที่ตัวละครกำลังเดินไปด้านข้างแต่ไม่เกินขอบจอโดยผ่าน
ลวดลายที่ตรึงไว้อยู่กับที่ ถ้ามองในมุมกลับกันก็จะให้ความรู้สึกเหมือนลาย
นั้นกำลังเลื่อนผ่านตัวละครอีกด้วย
พูดถึงตัวละครไปแล้วต่อไปขอพูดถึงฉากกันบ้าง อีกหนึ่งเทคนิคที่ทีมผู้สร้างเลือกใช้ในการสร้างพื้นผิวแก่ฉาก เป็นตัวช่วยในการคุมโทนฉากทั้งหมดให้
เข้ากันได้ลงตัว
เทคนิคนั้นคือ "สีน้ำ" จากรูปข้างบนถ้าเราลองสังเกตบริเวณพื้นห้องครัวดูดี ๆ ก็จะเห็นคราบด่างเป็นวงซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเสน่ห์ของการใช้เทคนิคสีน้ำ
หลาย ๆ ฉากในเรื่องจะแสดงพื้นผิวของสีน้ำให้เห็นอยู่เสมอ เช่น พื้น ผนัง
ตึก ทิวทัศน์ต่าง ๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ในบางตอนนั้นยังมีการใช้ภาพประกอบที่ทำจากวัสดุจริงไม่ใช่ภาพการ์ตูนอีกด้วย เช่น ฉากโฟกัสอาหาร ฉากที่เน้นไปที่หน้าตัวละครหรือ
สิ่งของ เป็นต้น
สุดท้ายนี้หากใครที่ทำงานในด้านออกแบบหรือต้องการศึกษาตัวอย่างการ
ออกแบบลวดลายต่าง ๆ นี่เป็นหนึ่งในการ์ตูนที่คุณอาจสนใจและนำไปศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของงานออกแบบในอนาคตได้
ขอขอบคุณทุกท่านที่คลิกเข้ามาอ่านบทความของผมด้วยนะครับ สามารถ
กดติดตามเพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะได้ที่เพจ สะดุดศิลป์ และติดตามดู
ผลงานแอนิเมชั่นที่มีส่วนประกอบของงานศิลป์ได้ที่ ซีรีย์ การ์ตูนซ่อนศิลป์
นะครับ ไว้พบกันใหม่บทความหน้าครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา