14 พ.ค. 2020 เวลา 11:57
"ทางลึก" เส้นทางของคนสมัยก่อน เมื่อครั้งสมัยก่อน การคมนาคมยังไม่ทันสมัยเหมือนทุกวันนี้ ผู้คนจึงใช้แรงงาน วัว ควาย เทียมเกวียนเพื่อใช้เป็นยานพาหนะในครั้งนั้น ใช้ขนส่งสิ่งของ ถนนหนทางก็ยังเป็นทางดิน ทางลูกรัง เมื่อใช้เส้นทางนาน ๆ เข้าถนนก็มีการสึกกร่อนตามการเวลา
บทความนี้ผู้เขียนจึงได้ยกเรื่องราวของถนนสมัยก่อน มานำเสนอให้ทุกคนได้รู้กัน กับคำว่า ทางลึก
มันคืออะไร?
เกิดจากอะไร?
มีความโดดเด่นยังไง?
มีความพิเศษยังไง?
อยากรู้กันหรือยังครับ พร้อมแล้ว มาสัมผัสกัน!
เมื่อเกิดการสัญจรไปมาของ วัว ควายเทียมเกวียน นาน ๆ เข้า จึงเป็นเหตุให้ถนนมีความลึกลงไปเรื่อย ๆ ประกอบกับน้ำฝน ที่กัดเซาะดิน จนเกิดเป็นร่องลึก ลักษณะเหมือนคลองน้ำแห้ง ระยะทางประมาณ1-2 กิโลเมตร เมื่อใช้งานกันทุกวัน ลึกลงทุกวัน จึงได้ขนานนามว่า ทางลึก
ทุกวันนี้ผู้คนยังใช้เส้นทางนี้อยู่ มันเป็นลักษณะเส้นทางลัด แต่ทุกวันนี้ใช้เป็นทางเดิน หรือคนใหนมีวัวมีควาย เขาก็จะไล่ผ่านเส้นทางนี้ ไม่มีเกวียนเหมือนเมื่อก่อนแล้ว ทางลึก เมื่อตอนนั้นมีอยู่เกือบทุกหมู่บ้าน เพราะเป็นทางของคนสมัยก่อน จนมาถึงทุกวันนี้ ส่วนใหญ่เขาจะถมทำเป็นถนนกันหมดเเล้ว เหลือให้เห็นเพียงไม่กี่ที่ ส่วนหมู่บ้านที่คงเหลือไว้นั้น คงเป็นเชิง อนุรักษ์เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ดู ส่วนนี้ผู้เขียนว่าดีนะ สมควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เพราะเริ่มจะไม่มีแล้ว
ลัษณะเส้นทางจะเป็นเดินทรายที่ไหลลงมาจากหน้าดินข้างบน มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมตลอดเส้นทาง เป็นบรรยากาศที่สวยงามอีกแบบ เวลาฝนตกน้ำก็จะไหลลงมาจากฝั่งข้างบน ราวกับเป็นสายน้ำตก ที่งดงามตา บรรยากาศเย็นสาย มีเสียงนก เสียงการ้องไปตามทาง มีรากต้นไม้เกี้ยวพันกันตามข้างฝั่งทาง เหมาะแก่คนที่ชอบถ่ายภาพเป็นอย่างดี
สัมผัสความสยอง แน่นอนอยู่แล้วทางลึก ๆ แบบนี้ผู้คนใดที่เดินผ่านคงต้อง ผวา ยิ่งถ้าเป็นเวลาพบค่ำ ยิ่งกลัว ถึงต้องวิ่งกันเลย เดินไม่ได้ ต้องทำความเร็วให้ถึงที่สุด บรรยายเงียบ วังเวง มีเสียงกอไผเสียดสีกัน เสียงวิ่งของกระรอก บ้างก็มีกิ่งไม้ตกลงมา ประกอบกับคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ เกี่ยวกับเรื่องราวของ ทางลึกนี้ พลางก็ร้องเพลงไปด้วย เปล่งให้สุดเสียงกันเลย กว่าจะสุดทางตัวนี้เกร็งไปหมด ฮ่า ฮ่า
เมื่อทุกคนรู้เรื่องราวของทางลึกนี้แล้ว ก็จะเห็นถึงคนสมัยเก่า ว่าผู้คนในตอนนั้นเขาดำเนินชีวิตยังไง กับการคมนาคม จึงเป็นประจักษ์หลักฐาน เป็นเครื่องยืนยันให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา เส้นทางในวันนั้น กลับเป็นธรรมชาติที่สวยงามในวันนี้ ผู้เขียนว่าสมควรที่จะอนุรักษ์ไว้ เพื่อเป็นสมบัติทางธรรมชาติสืบต่อไป อาจจะมีเชิงวิชาการเข้ามาให้ความสำคัญยกระดับขึ้นอีกต่อไปได้
ภาพหน้าปกโดย : ผู้เขียน
ภาพประกอบ 1,2,3,4 โดย : ผู้เขียน
โฆษณา