16 พ.ค. 2020 เวลา 01:29 • การศึกษา
💡💡 เคล็ดลับ: อยู่อย่างไรให้ 'สมอง' ไม่แก่
[แบ่งปันเคล็ดลับจากหนังสือที่เขียนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง] 😊😊😊
ชื่อหนังสือ: 'อยู่อย่างไรให้สมองไม่แก่'
เขียนโดยคุณหมอเฉพาะทางสมอง คือคุณ 'ซุกิยะมะ ทะคะชิ' ซึ่งจบการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตจากคณะแพทยศาสตร์
ท่านเคยเป็นหัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรมประสาท และสมองที่ศูนย์การแพทย์เด็ก และในปี 1992 ได้ก่อตั้ง 'แผนกเฉพาะทางด้านการทำงานขั้นสูงของสมอง' เพื่อฟื้นฟูการทำงานของสมองให้แก่คนไข้ที่มีความผิดปกติทางสมอง ในปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางการแพทย์โคโนะ
เพราะ 'สมอง' คือส่วนที่มีความสำคัญมากในชีวิตของเรา หากเราดูแลได้ถูกวิธีแล้ว ชีวีของเราก็จะเป็นสุข ลองปรับพฤติกรรมของเราตามคำแนะนำของคุณหมอดู ง่าย ๆ เลย เราก็จะสามารถยืดอายุการใช้งาน 'สมอง' ของเราได้อีกยาวนาน ^^
❤ พฤติกรรมที่ 1: จัดระเบียบชีวิต😍
สมองจะกระฉับกระเฉง ถ้าใช้งานแขน ขา และปากในตอนเช้า
- บริหารสมองให้ตื่นตัว พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (ให้ลองทำอะไรใหม่ ๆ ดูบ้าง) 👟🖍
- แต่สิ่งที่ควรทำให้เหมือนเดิมคือ จังหวะชีวิต => แนะนำ: ตื่นเช้า นอนเร็ว ในเวลาเดิม ๆ ช่วยให้สมองพักและทำงานเป็นเวลา😴😴
- อย่าใช้ชีวิตแบบตามใจตัวเองมาก เดี๋ยวสมองจะขี้เกียจ ให้ลองเอาตัวเองไปอยู่ในระเบียบดู เช่น ลงเรียนเสริมทักษะ📖
- อุ่นเครื่องสมองสัก 2ชม. ก่อนเริ่มงานเช้า โดย.. *ออกกำลังเบา ๆ *เก็บกวาดห้อง *ทำอาหาร *ทำสวน ***ทักทายคุยเล่นสั้น ๆ กับคนอื่น ๆ *อ่านออกเสียงสัก 10นาที💪💪
❤ พฤติกรรมที่ 2: เพิ่มสมาธิ
คิดว่า กำลัง 'ส อ บ' อยู่เสมอ🤓🤓🤓
- กำหนดเส้นตายให้ตัวเอง เป็นการบังคับให้สมองขยันขึ้น (อุ่นเครื่อง->กำหนดเส้นตายไม่ควรเกิน 2ชม.->พัก และเริ่มใหม่ วนไป) *อย่าทำงานไปเรื่อย ๆ จนเสร็จไปเอง
❤ พฤติกรรมที่ 3: ให้ความสำคัญกับการนอน😴😴
- เวลานอน คือช่วงที่สมองทำการจัดระเบียบความคิด ถ้านอนน้อย สมองก็จัดระเบียบได้น้อย ควรนอนอย่างน้อย 6ชม. แนะนำ อ่านหนังสือสบาย ๆ ก่อนนอน ตื่นมาจะมีไอเดีย💡💡💡
❤ พฤติกรรมที่ 4: เพิ่มสมรรถภาพของสมอง👗🌳
- ฝึกสมองให้ อึด โดยหมั่นทำงานจุกจิกอยู่เสมอ อย่างเช่น งานบ้านทั้งหลาย ซักผ้า รดน้ำต้นไม้ ให้ฝึกเอาชนะตัวเองโดยเริ่มทีละนิด วันละ 1-2 อย่าง ห้ามขี้เกียจ และลองทำอะไรใหม่ ๆ ด้วยนะ เช่น ฝึกทำอาหารใหม่ ๆ จัดห้องใหม่
❤ พฤติกรรมที่ 5: ตั้งกฎ กับ วางแผน เพื่อกระตุ้นตัวเอง (พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา)📒📃📄
- ให้ลองตั้งกฎดู ง่าย ๆ เช่น กฎในการจัดโต๊ะ กฎระเบียบครัว
- เขียนแผนงาน ช่วยให้เราจดจ่อกับงานมากขึ้น (กำหนดเส้นตายด้วย)
❤ พฤติกรรมที่ 6: จัดระเบียบความคิด เวลายุ่ง ๆ ต้องจัดโต๊ะ📚
- คนขี้ลืม มักเกิดจากเป็นคนที่ทำอะไรไม่เป็นระเบียบ ให้จัดโต๊ะ จัดของให้เป็นหมวดหมู่
- เวลายุ่งมาก ๆ ให้จัดระเบียบข้าวของรอบตัวก่อน
❤ พฤติกรรมที่ 7: สนใจสิ่งรอบข้างมากขึ้น (หัดกวาดตาดู และ เงี่ยหูฟัง) ☁🌞🐜
- เราจ้องมือถือมากเกินไป ให้ลดละพฤติกรรมเหล่านี้โดย ออกเดินเล่นบ้าง ฝึกมองไกลไปท้องฟ้า เฝ้ามองโลกใบเล็กของมด เอาหูฟังออกบ้าง สมองจะได้รับข้อมูลจากตาและหูแบบสัมพันธ์ได้
❤ พฤติกรรมที่ 8: เพิ่มประสิทธิภาพการจำ (หมั่นเขียน 'รายงาน' 'สรุป' และ 'บล็อก')📔📑✏
- รับข้อมูลเข้าสมอง -> เรียบเรียงข้อมูล -> ส่งออกข้อมูล ฝึก ๆ ๆ ๆ โดยตระหนักเสมอว่า เมื่อรับข้อมูลมาแล้ว ต้องส่งต่อข้อมูลนั้นให้คนอื่นต่อ เราจะ 'ตั้งใจ' รับข้อมูลโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้จำได้ดีกว่า
- แปลงข้อมูลเป็นความทรงจำโดย ตีความข้อมูลโดยการนึกภาพและทำความเข้าใจคร่าว ๆ
- เขียนบล็อก ถ้าไม่ค่อยได้คุยกับใคร วิธีนี้ถือเป็นการบริหารสมองที่ยอดเยี่ยม เพราะเราต้องคิดว่า จะเขียนอย่างไรให้คนเข้าใจ อ่านแล้วสนุก
❤ พฤติกรรมที่ 9: เพิ่มทักษะการพูด (ใช้โน้ตหรือรูปภาพเพื่อให้พูดได้นานขึ้น)📅🗓📈
- ฝึกตั้งคำถามเพื่อยืดบทสนทนา หรือจดโน้ตไว้จะคุยเรื่องอะไรบ้าง
- ฝึกบันทึกเรื่องราวในชีวิต เช่น ดูหนังมา และนำไปส่งออกโดยจดบันทึก และเล่าให้คนในชีวิตฟัง
- ไปเที่ยว ถ่ายรูปสวย ๆ มา แล้วมาบรรยายเล่าให้เพื่อนฟัง
❤ พฤติกรรมที่ 10: เพิ่มทักษะทางภาษา (แทรกการเปรียบเปรยลงไปในบทสนทนา และเอาใจเขามาใส่ใจเราขณะพูด)❤💓💙💚
- ให้ฝึกพูดจริง ๆ โดยตั้งคำถามให้กับตัวเอง และฝึกตอบจริงจัง อาจมีการทำโน้ตตอบคำถามเหล่านั้น
- ให้ลองคิดในมุมของอีกฝ่ายเสมอ 'เอาใจเขามาใส่ใจเรา' เพื่อให้คุยกันเข้าใจมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงคำเฉพาะทาง ให้พยายามหาศัพท์ที่ผู้ฟังเข้าใจมาใช้
- พูดเปรียบเปรยบ่อย ๆ โดยพูดแบบเข้าใจผู้ฟังด้วย เพราะการพูดเปรียบเปรย เราจำเป็นต้องตีความข้อมูลในแบบเราก่อนด้วย
❤ พฤติกรรมที่ 11: กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพสมอง (ออกกำลังกายให้เพียงพอ กิน แค่ พอ อิ่ม)🍊🍎🍉
- เน้นออกกำลังกาย เพราะถ้าอ้วนเกินไป เกิดโรค เช่น ความดัน เบาหวาน แล้วจะส่งผลกระทบต่อสมอง
❤ พฤติกรรมที่ 12: ตรวจสุขภาพสมอง🤓
- ถ้าเป็นไปได้ MRI ปีละครั้ง ตรวจสอบโรคร้าย ดูว่าสมองส่วนไหนมีปัญหา เช่น ส่วนที่ใช้งานน้อยจะแฟบ ถ้าเรารู้ เราก็มาฝึกใช้สมองส่วนนั้นให้มากขึ้น
❤ พฤติกรรมที่ 13: ดูแลสมองด้วยตัวเราเอง (เขียน 'บันทึกความผิดพลาด' และให้ความสำคัญกับคนที่วิจารณ์ตัวเรา)📖📗
- ความผิดพลาดเป็นสัญญานเตือนภัยจากสมอง เช่น เราชอบลืมมือถือ ให้เราหัดจดบันทึกความผิดพลาดเอาไว้ จดเวลาที่เกิดเหตุด้วยนะ และวิเคราะห์หาสาเหตุ ซึ่งมักเกิดจากความไม่ใส่ใจ และหาทางแก้โดยใส่ใจมากขึ้นกับเหตุการณ์นั้น และทำให้เป็นนิสัย พยายามทำตัวให้เป็นระเบียบ จะช่วยได้มากขึ้น
❤ พฤติกรรมที่ 14: พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (ไอเดียแฝงอยู่ใน 'เรื่องที่ไม่เกี่ยวกัน' มาหัดทำกิจกรรมให้หลากหลายกันดีกว่า)
- ให้คิดก่อนว่า ไอเดียที่ว่า 'มีประโยชน์กับใคร' สมองจะจัดระเบียบลำดับความคิดได้ง่ายขึ้น
- คบคนให้มาก ลองทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่ชอบดู และ พยายามสนุกกับชีวิต จะช่วยให้สมองสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงหลาย ๆ ด้านได้ จนเกิดเป็นไอเดียใหม่
- รวบรวมข้อมูลไอเดียคร่าว ๆ ก่อน แล้วนอนซะ เดี๋ยวไอเดียจะมาตอนเช้า ^^
❤ พฤติกรรมที่ 15: เพิ่มแรงจูงใจ (หัดชมคนอื่นและเปิดเผยความไม่เอาไหนของตัวเองบ้าง)😚😚😚
- แรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญช่วยเป็นคันเร่งได้ สิ่งที่ช่วยเพิ่มแรงจูงใจได้คือ การกระทำและผลลัพธ์ที่เกิดจากความตั้งใจของตัวเอง เอาแค่เรื่องง่าย ๆ เช่น เก็บกวาดห้องให้เป็นระเบียบ
- คำชมจากคนรอบข้างก็สำคัญมาก หรือแม้เวลาทำผิดก็มีกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ โดยให้เราฝึกชื่นชมคนอื่นเสมอ ให้เรารู้จักสังเกตุคนรอบข้าง หาข้อดีมาช่วยให้เราเห็นสถานการณ์รอบข้างมากขึ้น
- ทำตัวไม่เอาถ่านบ้าง เพราะถ้าเราเอาแต่พยายามสมบูรณ์แบบ คนรอบข้างจะไม่กล้าชมความสำเร็จเล็ก ๆ พอทำอะไรพลาดมาจะเห็นชัด
- การพบรักช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง❤❤..ง่อววว ตามหารักแท้กันเถอะะะ 😍😉
ขอขอบคุณหนังสือ อยู่อย่างไรให้สมองไม่แก่
#อ่านหนังสือกันเถอะ ^^
โฆษณา