16 พ.ค. 2020 เวลา 06:00 • การศึกษา

ขอศาลตั้งผู้จัดการมรดกมีขั้นตอนอย่างไร

หลายคนคงเคยได้ยินว่าเมื่อคน ๆ หนึ่งเสียชีวิตแล้ว ทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายจะตกทอดแก่ทายาททันที
แต่ในความเป็นจริงเมื่อทายาทไปขอจัดการทรัพย์สิน เช่นเบิกเงินจากธนาคาร ๆ จะไม่เชื่อว่าบุคคลนั้นเป็นทายาทผู้มีสิทธิ์จัดการมรดก ธนาคารจะขอดูคำสั่งศาลที่ตั้งทายาทคนนั้นเป็นผู้จัดการมรดกแล้วจึงจะให้เบิกเงิน
เมื่อผู้จัดการมรดกเบิกเงินไปแล้วก็ไม่ใช่ว่าเอาไปเป็นของตัวเองคนเดียวแต่ต้องเอาไปแบ่งให้ทายาทให้ถูกต้อง เช่นกรณีเจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้ก่อนตาย ผู้จัดการมรดกก็ต้องแบ่งให้ผู้รับพินัยกรรมตามที่ระบุไว้ให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก แต่หากไม่มีพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกก็ต้องแบ่งให้ทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามกฎหมายให้ครบทุกคนอย่างถูกต้อง ถ้าผู้จัดการมรดกเบิกเงินธนาคารไปแล้วไม่แบ่งให้ทายาทดังกล่าวก็จะมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
การจัดการทรัพย์สินของผู้ตายต้องจัดการโดยผู้จัดการมรดก แต่ผู้จัดการมรดกไม่จำเป็นต้องตั้งโดยคำสั่งศาลเสมอไป ตัวอย่างเช่น การโอนที่ดิน
สำนักงานที่ดินได้มีระเบียบเรื่องการโอนที่ดินจากเจ้ามรดกมายังทายาทโดยไม่ต้องใช้คำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกจากศาล แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนที่สำนักงานที่ดินได้ประกาศไว้ ซึ่งสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานที่ดินทุกแห่งหรือค้นหาข้อมูลจากกูเกิ้ลก็ได้ ผู้เขียนเองก็เป็นคนหนึ่งที่ทำเรื่องโอนที่ดินมรดกของพ่อด้วยตัวเองไม่ได้ใช้คำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก และได้ทำก่อนจะเรียนกฎหมาย ก่อนจะมีกูเกิ้ลด้วย ใช้วิธีสอบถามที่สำนักงานที่ดินสาขาที่ทรัพย์มรดกตั้งอยู่แล้วทำตามขั้นตอน
ในบทความนี้จะเล่าถึงขั้นตอนกรณีขอศาลตั้งผู้จัดการมรดกว่ามีขั้นตอนอย่างไร
1. อันดับแรกต้องมีเหตุขัดข้องก่อน เช่นบัญชีธนาคารเป็นชื่อสามีคนเดียวเมื่อสามีเสียชีวิตไม่มีใครเบิกเงินได้ แต่ถ้าบัญชีเป็นชื่อสามีหรือภรรยา ก็ไม่มีเหตุขัดข้อง ภรรยาคนเดียวก็ถอนได้แล้วนำเงินมาแบ่งตามสัดส่วนทายาทตามกฎหมายให้ถูกต้อง เช่นถ้าพ่อแม่สามียังมีชีวิตอยู่ก็ต้องนำเงินในส่วนมรดกของสามีมาแบ่งให้ด้วย ถ้าไม่แบ่งภรรยาก็มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
2. เมื่อมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์สิน ให้รวบรวมรายการทรัพย์สินทั้งหมดที่มีเหตุขัดข้องในการจัดการเหล่านั้นว่ามีรายการอะไรบ้าง ถ้ามีรายการที่ดินก็ใส่ไปด้วยเพราะไหน ๆ จะขอศาลตั้งผู้จัดการมรดกแล้วจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปทำที่สำนักงานที่ดินอีกรอบ
3.รวบรวมรายชื่อทายาทผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกว่ามีใครบ้าง ถ้ามีพินัยกรรมให้อ้างอิงตามพินัยกรรม ถ้าไม่มีพินัยกรรมให้อ้างอิงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629 - 1631แล้วทำบัญชีเครือญาติเป็นแผนผังแสดงความเกี่ยวข้องกับเจ้ามรดก โดยให้ใส่ทุกคนและถ้าทายาทคนใดเสียชีวิตแล้วให้ระบุไปด้วยว่าเสียชีวิตแล้ว ให้ทำหนังสือยินยอมจากทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกทุกคนว่ายินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกด้วย
1
4............
อ่านต่อได้ที่บทความฉบับเต็มที่ http://bit.ly/39TE9md
สรุปเอกสารที่ต้องเตรียมในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
1)เอกสารผู้ร้อง
1.สำเนาพินัยกรรม(ถ้ามี)
2.สำเนาใบสูติบัตรผู้ร้อง(กรณีผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย)
3.สำเนาทะเบียนสมรสผู้ตาย(กรณีผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย/คู่สมรส)
4.สำเนาใบสูติบัตรผู้ตาย(กรณีผู้ร้องเป็นบิดา/มารดา)
5.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ร้อง
6. สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุลผู้ร้อง(ถ้ามี)
2)เอกสารผู้ตาย(เจ้ามรดก)
1.สำเนามรณบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย(เจ้ามรดก)
2.สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุลผู้ตาย (เจ้ามรดก)(ถ้ามี)
3) หลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์มรดก 
โฉนดที่ดิน, รายการจดทะเบียนรถ, ทะเบียนปืน, สัญญาเช่าซื้อ, ใบหุ้น, พันธบัตร, สลากออมสิน, บัญชีเงินฝาก(กรณีบัญชีเงินฝากต้องปรับสมุดบัญชีให้เป็นปัจจุบัน ) ใช้สำเนาแนบคำร้อง
4) เอกสารอื่นๆ
1.บัญชีเครือญาติ
2.หนังสือให้ความยินยอมจากทายาทอื่น
3.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านทายาทอื่น
4สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้จัดการมรดก (กรณีเป็นคนละคนกับผู้ร้อง)
5.สำเนามรณบัตรบิดา/มารดา/สามี/ภริยา/บุตร/พี่น้องร่วมบิดามารดา(ผู้ตาย)
6.สำเนาใบสำคัญการหย่าผู้ตาย
ค่าธรรมเนียมศาล200 บาท
ขอบคุณตัวอย่างเอกสารบัญชีเครือญาติ หนังสือให้ความยินยอมจากเว็บไซต์ศาลยุติธรรม
โฆษณา