17 พ.ค. 2020 เวลา 00:40 • ปรัชญา
EP94
สิ่งที่ทำแล้วมีสุขมากกว่า
ทํ า ส ม า ธิ กั น ดี ก ว่ า …
ปัจจุบันนี้ ชาวตะวันตกในกลุ่มนักจิตวิทยานักบำบัดต่างๆได้มาให้ความสนใจกับเทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) การใส่ใจสุขภาพทางจิตทางใจ การปรับความสมดุลย์เกี่ยวกับความคิดความรู้สึกให้เกิดการดำรงชีวิตที่เป็นสุขมากขึ้นต่อตนเอง คนข้างเคียงทั้งที่ทำงานและที่บ้าน แม้แต่ในบริษัทใหญ่ๆในโลกดิจิตอลที่สำคัญๆ อย่างเช่น แอปเปิล กูเกิ้ล ยาฮู เป็นต้น ต่างมีการอบรม มีห้องทำสมาธิ เรียนการฝึกลมหายใจตามแนวเซน หรือโยคีของชาวตะวันออก
หนีไม่พ้นที่จะใช้วิหารธรรมหลักของพระตถาคตนั่นคือ การเจริญสติ (mindfulness) หรือ “อานาปานสติ” แม้คำสอนของพระองค์จะเก่าแก่มานานเป็นสองพันหกร้อยปี แต่ฝรั่งชาวตะวันตกก็ได้ลองนำวิธีการฝึกธรรมของพระองค์มาใช้
2
การนำการเจริญสติมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของชาวตะวันตกนั้น เป็นที่กล่าวขานถึงคุโณปการมากมายทั้งในการงาน และสภาพจิตของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น
ป ร ะ โ ย ช น์ ข อ ง ส ม า ธิ
1. ทำให้ การโฟกัสดีขึ้น (Better Focus) ไม่ฟุ้งซ่าน เน้นในการกระทำและการเห็นความเป็นไปรอบข้างดีขึ้น คุณภาพงานดีขึ้น
1
2. ทำให้สุขภาพจิตดี ร่างกายดีตามไปด้วย (Better Mantal and Physical Health) นิ่ง สงบอารมณ์ได้ ไม่เครียด ไม่ความดันขึ้น ไม่ปวดโน่นนี่ สบายสุดๆ
1
3. ทำให้รับสถานการณ์เก่งขึ้น (Greater Resilience) รับรู้สภาพความเป็นไปได้ดีขึ้น อยู่ท่ามกลางความตึงเครียดโดยไม่ไปอินมากเกินได้ดีขึ้น ฉลาดคิดฉลาดพูดทันการณ์
4. ทำให้มีการปรับปรุงสัมพันธ์ภาพที่ทำงานและที่บ้านดีขึ้น (Improved Relationships at Work and at Home) การฝึกสติส่งผลต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ การพยายามมีสติจะต้องใช้ความตระหนักในตนเองสูง ส่งผลให้สามารถเข้าใจคนรอบข้างได้มากขึ้น เชื่อมโยงและตอบสนองเขาได้ดีขึ้น นำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีในบ้านและที่ทำงาน
5. ทำให้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น (Improved Creativity) การฝึกสติทำให้คุณสามารถหาวิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์เพื่อแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เป็นประโยชน์ระยะยาวที่สามารถมีอิทธิพลต่อสถานะของคุณในที่ทำงานช่วยให้คุณได้รับการเลื่อนตำแหน่งและถูกมองว่าเป็นพนักงานที่มีความสามารถ
1
ในวิธีการทำสมาธิที่ชาวตะวันตกใช้กันแพร่หลาย เมื่อนำมาเทียบเคียงกับพระสูตรของพระพุทธเจ้าจะพบว่าส่วนที่นิยมนำมาใช้กันคือ การทำกายคตาสติ คือการพยายามให้กายนั้นเป็นเหมือนเสาหลักและนำเชือกผูกสัตว์หกชนิดให้เชื่องนอนนิ่งอยู่ข้างเสา อุปมัยดังจิตที่พยายามไม่เพลินไปกับสฬายตนะ ทางตะวันตกนักfacilitator ทั้งหลายจะฝึกโดยการพูดนำระหว่างทำสมาธิให้จิตเพ่งไปตามร่างกายที่เรียกว่า “Body Scan”
2
การเจริญอานาปานสติให้สติรู้ลมหายใจ “Breath Focus”
การเจริญสติปัฏฐานสี่ ได้แก่การมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันต่อกาย เวทนา จิต และธรรม ทางตะวันตกก็ฝึก skill นั่งสมาธิและตื่นตัวเสมอ alert&lebeling ที่จะเฝ้ามองจิตให้ทันเมื่อจิตไปเกาะอารมณ์ความรู้สึก feeling หรือ ความคิด thought เป็นต้น
2
การฝึกสมาธิให้ได้เป็นประจำจนเคยชินเช่นวันละครั้งสัก 5-15 นาทีแล้วแต่เรา ส่งผลประโยชน์เป็นความสุข เป็นสุภาพกายและใจที่ตามมา
1
เครดิตภาพ : https://www.sanctuaryoftransformation.com/mindfulness-to-treat-addiction/
นั่ ง ส ม า ธิ. : ทํ า อ ะ ไ ร ใ น 5 น า ที. ?
นั่งในท่าทางที่กระดูกสันหลังตั้งตรงบนเก้าอี้ หลับตาลง… รู้สึกในส่วนที่สัมผัสใต้ร่างกายเช่นก้นที่สัมผัสเก้าอี้ ฝ่าเท้าที่สัมผัสพื้น หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว สามครั้ง หายใจปกติ …
รู้สึกที่หัว ที่กล้ามเนื้อคอ ขยับเล็กน้อยให้ผ่อนคลาย ที่ไหล่ ที่อก ที่สันหลัง ที่ท้อง ที่ท่อนขา ที่น่อง ที่เท้า ตื่นตัวรู้เท่าทัน และผ่อนคลาย(alert and relax)…
ความรู้สึกต่อจุดต่างๆของร่างกายอาจจะ เป็นความหนัก ความเย็นความร้อน ความขยาย ความหด หรือไม่รู้สึกอะไรบริเวณนั้น ไม่สำคัญว่าจะถูกหรือผิด…
ในระหว่างนั่งอยู่ให้สังเกตุและตื่นตัวต่อลมหายใจเข้าที่เย็นที่จมูกหรือปาก ลมหายใจออกที่อุ่นร้อน การพยายามเพ่งจิตอยู่เฉพาะลมหายใจอาจฝึกโดยนับลมหายใจออกจากหนึ่งถึงห้า หรือสิบ…
หากทุกครั้งที่เกิดสติหลุดไปเพลินที่อื่น ให้ตื่นตัวและสังเกตว่า เป็นความรู้สึกก็กำหนดรู้ว่าเป็นความรู้สึก (feeling labeling)หรือหากหลงเพลินไปคิดอดีตหรืออนาคตก็ให้กำหนดรู้ว่าเป็นความคิด…(thought labeling) เมื่อปฏิบัติครบประมาณห้านาที หรือสิบนาทีไว้ก็ค่อยๆลืมตาขึ้น…
ที่กล่าวมาข้างต้น ผมลองสรุปจากที่ได้ลองรีวิวแอปหนึ่งในไอโอเอสสโตร์ที่ชื่อว่า “balance “ ซึ่งอาจเป็นแอปหนึ่งที่ผมแนะนำ อาจเป็นเพราะเนื้อหาการสอนใกล้เคียงกับคำพระศาสดา บางแอปนำเสียงเพลงมาประกอบการสอนก็ไม่อยากแนะนำนัก เพราะดูเผินๆเหมือนทำให้ผ่อนคลายดีแต่ไม่มีลักษณะฝึกจิตให้หยุดฟุ้งหยุดเพลินตามแนวทางที่ตถาคตสอน
1
ในแอปสโตร์หรือกูเกิลปัจจุบันหากคีย์เวิร์ดลงไปในคำว่า”mediation””mindfulness “ เราจะพบแอปภาษาอังกฤษจำนวนมาก มีทั้งแบบเสียตังค์ และไม่เสียตังค์เยอะไปหมด เราท่านอาจลองดูว่าจะถนัดอย่างไรนะครับ
2
ไ ม่ ล อ ง ไ ม่ รู้ ค รั บ
ความเพียรบริหารจิตใจนั้น ก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากพอๆกับการบริหารสุขภาพร่างกายนะครับ ทำทั้งสองเรื่องร่างกายและจิตใจสมดุลย์กัน พอเราฝึกสมาธิบ่อยขึ้นคุ้นชินในการตื่นตัวและผ่อนคลายมากขึ้น ครั้นเวลาที่เราปฏิบัติตัวปกติไม่ว่าจะ เดิน ขับรถ ทำงาน เล่นกีฬา ทานอาหาร ขับถ่าย หลับนอน ฯลฯ เราจะตื่นตัวในจิตใจ ร่างกาย และสัมผัสต่อสิ่งรอบตัวได้อย่างรู้เท่าทัน และอยู่กับปัจจุบันอย่างมีสติ ไม่หลงเพลินไปในอำนาจของอารมณ์ต่างๆ
2
อย่างไรก็ตามนักบำบัดหรือนักจิตวิทยาอาจฝึกเราเพื่อวัตถุประสงค์ความสมดุลย์ในระบบชีวิตดีขึ้น แต่พระศาสดาสอนเราฝึกสมาธินี้เพื่อให้รู้ตน และเพียรเผากิเลสนำความอยากได้และความทุกข์ใจในโลกให้ออกไปจากตัวที่ชอบหลงติดยึดอยู่ ไม่ลองไม่รู้ครับ ความสุขอยู่ที่เราเองครับผม
ที่มา:
พระพุทธวจนปิฎก : พระสูตรอานาปานสติ, Tenille Bentley: mindfulness, balance app, https://www.sanctuaryoftransformation.com/mindfulness-to-treat-addiction/
เครดิตภาพ : balance app
โฆษณา