19 พ.ค. 2020 เวลา 03:08 • การศึกษา
ตอนที่ 4 : Gout กับยา "probenecid"
https://en.wikipedia.org/wiki/Probenecid
สำหรับยารักษาโรคเก๊าท์กลุ่มสุดท้ายที่จะพูดถึงคือกลุ่มที่ 3 "เพิ่มการขับออก" หรือชื่อทางการของมันก็คือ Uricosuric agent หรือ กลุ่มยาเร่งการขับกรดยูริกทางไต ได้แก่ ยา Probenecid, Sulfinpyrazole, Benzbromarone
ยากลุ่มนี้จะพิจารณาให้ในผู้ป่วย กลุ่ม 3 หลักๆ คือ
1
กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีการขับ uric acid ออกน้อยกว่าปกติ คือ มีปริมาณกรดยูริกในปัสสาวะน้อยกว่า 800 มิลลิกรัมต่อวัน โดยจะต้องมีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง และนำมาวัดระดับ uric acid ก่อน ถ้าระดับ uric acid น้อยกว่า 800มิลลิกรัมต่อวัน จะถือว่ามีการขับ uric acid ออกน้อยกว่าปกติ นั่นเอง
กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยที่มีข้อห้ามในการใช้ยาหรือมีประวัติแพ้ยา allopurinol
กลุ่มที่ 3 ผู้ป่วยที่ใช้ยา allopurinol แล้วยังไม่ได้ผล
อย่างไรก็ตามทั้ง probenecid และ sulfinpyrazone ต่างก็มีประสิทธิภาพในการลดระดับกรดยูริกในเลือดด้อยกว่า allopurinol
http://tmedweb.tulane.edu/pharmwiki/doku.php/probenecid
จากรูป ฝั่งขวามือ (วงกลมสีน้ำเงิน) ...
ขออธิบายกลไกของยา probenecid แบบใช้ศัพท์ทางการแพทย์น้อยที่สุด เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจได้ง่ายที่สุดนะคะ
โดยปกติ ในท่อไตของเราจะมีปั๊มที่คอยทำหน้าที่ดูดสารต่างๆจากน้ำปัสสาวะกลับเข้าสู่กระแสเลือด (วงกลมสีน้ำเงิน) เพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย ซึ่งมีปั๊มๆนึงค่ะ เราตั้งชื่อให้มันว่า ปั๊ม URAT ทำหน้าที่ในการดูดกรดยูริกจากน้ำปัสสาวะกลับเข้าสู่ร่างกาย
ลองคิดภาพตามนะคะ
ถ้าปั๊ม URAT ตัวนี้ทำงานแบบไม่หยุด ... แทนที่เราจะขับกรดยูริกไปกับน้ำปัสสาวะออกได้เยอะๆ กลับกลายเป็นว่าปั๊ม URAT จะดูดกรดยูริกกลับเข้าร่างกายมาแทนซะงั้น ซึ่งเราไม่ได้ต้องการมันเลย
ดังนั้นจึงมีการพัฒนายารักษาโรคเก๊าท์ขึ้นมา เพื่อหยุดการทำงานของปั๊มตัวนี้ซะ นั่นก็คือ .... ยา probenecid ซึ่งมันจะเข้าไปจับกับปั๊ม URAT ตัวนี้แหละ จนไม่สามารถทำงานได้
,,,, ท้ายสุด เราก็จะไม่ดูดกรดยูริกกลับเข้าสู่ร่างกาย และ Bye ๆๆ มันไปพร้อมกับฉี่ของเรา 55555+
โดยขนาดยา probenecid ที่แนะนำให้ใช้คือ 500-3000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 2ครั้ง อาจเริ่มต้นยาด้วยขนาด 250มิลลิกรัมวันละ 2ครั้ง ตามความเหมาะสม
ฟังเหมือนจะดีนะคะ แต่ยาทุกตัวมีข้อควรระวังหมด พยายามจะไม่ใช่คำว่าข้อเสีย เพราะยาต้องใช้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุดค่ะ
เนื่องจากยากลุ่มนี้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วกรดยูริกในทางเดินปัสสาวะได้ จึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีปริมาณกรดยูริกในปัสสาวะมากกว่า 1000 มิลลิกรัมต่อวัน รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะอยู่ หรือเคยมีประวัติเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และในการใช้ยานี้แนะนำให้ดื่มน้ำมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน และมักจะให้ยา sodamint หรือ potassium bicarbonate หรือ potassium citrate ร่วมด้วย เพื่อปรับปัสสาวะให้เป็นด่าง (อย่าลืมว่ากรดยูริก เป็นกรด ต้องมีการรักษาสมดุลของน้ำปัสสาวะ) และสามารถลดการตกตะกอนของกรดยูริกภายในเนื้อไตและท่อไตได้อีกด้วย
และอีก 1 ข้อที่ต้องระวังมากๆ จากรูปจะเห็นได้ว่า ด้วยกลไกการทำงานของ ยา probenecid ที่มีหน้าที่ในการปิดปั๊มต่างๆ ซึ่งปั๊มดังกล่าวเป็นปั๊มที่ใช้ในการกำจัดยาตัวอื่นๆด้วยหากใช้ร่วมกับยาบางตัว (วงกลมสีแดง) อาจส่งผลต่อปริมาณยาหลายชนิด เช่น methotrexate, ketorolac, furosemide, sulfonylurea, penicillin, ampicillin, nafcillin, rifampicin, indomethacin, dapsone, heparin , aspirin เป็นต้น
ดังนั้น อย่าหงุดหงิด อย่าโมโหเลยนะคะ ถ้าเภสัชจะถามเซ้าซี้ไปบ้าง
กินยา อาหารเสริมไรมั๊ย
เคยแพ้ยาอะไรมั๊ย
มีโรคประจำตัวอื่นๆอะไรบ้าง
เพราะเราถามด้วยความห่วงใย จีงจีง
ปูลู .. หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับใครสักคน ... ไม่มาก ก็น้อย
อย่าลืมกดติดตาม กดไลค์ให้กำลังใจด้วยนะคะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา