19 พ.ค. 2020 เวลา 08:23 • ธุรกิจ
Special topic:
กรณีศึกษา ประวัติศาสตร์ Hyperinflation & Trend ในช่วง 1-2 ปีนับจากนี้ในมุมมองหมูน้อย โดย พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
ประวัติศาสตร์การเกิดเงินเฟ้อขั้นรุนแรง (Hyperinflation) ที่เกิดขึ้นในโลกเศรษฐกิจ จนมาถึงความเชื่อมโยงระหว่างมาตรการพยุงชีพเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ว่า...
ท้ายที่สุดแล้วจะนำไปสู่ภาวะ Hyperinflation ได้หรือไม่ รวมถึงมุมมองของหมูน้อยในระยะ 1 - 2 ปีข้างหน้า
Licensee : พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
ความเข้าใจพื้นฐานเรื่อง ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)
ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน
โดยปรกติแล้วเงินเฟ้อนั้นเกิดขึ้นมาจาก 2 สาเหตุหลักๆคือ
1
1. ความต้องการซื้อสินค้าและบริการใดๆ เพิ่มสูงขึ้น + สินค้าและบริการมีไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกันของ ความต้องการซื้อ (demand) และ ความต้องการขาย (supply) ดังนั้น ราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้นๆจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น นั่นคือผู้ผลิตมีต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องผลักภาระมาให้ผู้บริโภคโดยการขึ้นราคาสินค้าและบริการ
ยกตัวอย่างกรณีล่าสุด คือ หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ล้างแผล ในช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่า
ในช่วงแรกนั้นผู้บริโภคต่างมีความต้องการซื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเหนือกำลังการผลิตในภาวะปรกติ อีกทั้งวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตสินค้าขาดตลาด ทำให้ต้นทุนจากทางฝั่งผู้ผลิตเพิ่มสูงขึ้น นั่นจึงส่งผลให้ "ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว"
(แน่นอนว่าผมยังไม่ได้กล่าวถึงกรณีกักตุนสินค้า และ การตัดสต๊อคสินค้าออกมาจากระบบ)
จนมาถึงช่วงนี้ที่กำลังผลิตรวมถึงการส่งของเข้าสู่ตลาดกำลังกลับสู่ภาวะปรกติ ทำให้ราคาหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ล้างแผล ลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน
โดยปรกติแล้ว ทางธนาคารกลางหลายๆประเทศ ได้มีการตั้งเป้าหมายการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยใช้ "อัตราเงินเฟ้อ" เป็นเป้าหมาย
ข้างบนบอกว่าเงินเฟ้อทำให้คนลำบากขึ้นแล้วทำไมตอนนี้ถึงเอามาเป็นเป้าหมายล่ะ?
คำตอบง่ายๆก็คือ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น การขยายตัวของเศรษฐกิจที่สูงขึ้นตามไปด้วยจะทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับรายได้เพิ่มขึ้นจากผลของการขยายตัวของเศรษฐกิจตามไปด้วย
นั่นจึงทำให้เกิดความสมดุลขึ้นในระบบ
และทางธนาคารกลางของทุกประเทศ มีหน้าที่ควบคุม "สมดุล" ระหว่างการขยายตัวของเงินเฟ้อ และ การขยายตัวของเศรษฐกิจให้มันเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน
Licensee : พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
การเกิดเงินเฟ้อขั้นรุนแรง หรือ Hyperinflation
คือ การเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และยาวนาน
โดยที่ความเร็วในการเกิดภาวะเงินเฟ้อนั้น ทำให้ผู้คนสูญเสียความเชื่อมั่นในสินค้าอ้างอิงชนิดนั้นๆไป จนทำให้เกิดการเทขายครั้งใหญ่ขึ้นตามมาหลังจากนั้น
หนึ่งในสินทรัพย์ที่มีโอกาสเกิดภาวะ Hyperinflation ได้ คือ "ค่าเงิน"
ในอดีตช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา Hyperinflation เกิดขึ้นในหลายประเทศด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็น.....
1
อาเจนจิน่า ระหว่างช่วง May 1989 - March 1990 ในขณะนั้น อัตราการเพิ่มสูงขึ้นของเงินเฟ้อ ขึ้นไปแตะที่ระดับสูงสุดที่ 20,266%
โดยช่วงเวลาก่อนที่จะเกิดเงินเฟ้อรุนแรงขึ้นนั้นกินระยะเวลายาวนานถึง 15 ปี
โบลิเวีย ระหว่างช่วง April 1984 - September 1985 อัตราการเพิ่มสูงขึ้นของเงินเฟ้อ ขึ้นไปแตะที่ระดับสูงสุดที่ 23,447%
บราซิล ระหว่างช่วง Dec 1989 - March 1990 อัตราการเพิ่มสูงขึ้นของเงินเฟ้อ ขึ้นไปแตะที่ระดับสูงสุดที่ 6,821%
เปรู ระหว่างช่วง July 1990 - August 1990 อัตราการเพิ่มสูงขึ้นของเงินเฟ้อ ขึ้นไปแตะที่ระดับสูงสุดที่ 12,378%
ยูเครน ระหว่างช่วง April 1991 - August 1994 อัตราการเพิ่มสูงขึ้นของเงินเฟ้อ ขึ้นไปแตะที่ระดับสูงสุดที่ 10,155%
หรือในกรณีล่าสุด....."เวเนซุเอล่า "
โดยที่ IMF ได้ประมาณการณ์ไว้ว่า เวเนฯ มีอัตราเงินเฟ้อสูงถึง 10,000,000% ในช่วงสิ้นปี 2019
ภาพด้านล่างนี้คือสภาพที่เงินกลายสภาพเป็นเศษกระดาษแทบจะซื้ออะไรไม่ได้ในประเทศเวเนซุเอล่า
https://i.insider.com/5cd4478693a15258f2621482?width=1136&format=jpeg
ซึ่งหลายๆประเทศที่เกิดภาวะ Hyperinflation นี้มีสาเหตุส่วนนึงมาจากการ
บริหารนโยบายการเงินและการคลังที่ผิดพลาดอย่างต่อเนื่อง “ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง"
ในขณะที่ผมได้ทำการศึกษาข้อมูลมาถึงจุดนึง
ผมได้ตั้งคำถามขึ้นกับตัวเองครับว่า
ทำไมประเทศที่เกิด Hyperinflation ขึ้นนั้น ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจไม่ใหญ่มาก หรือ เป็นประเทศที่ศักยภาพแข็งแกร่งเฉพาะด้านเท่านั้น
คำตอบที่ผมได้คือ ... ประเทศเหล่านี้ สร้างผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจโลกได้ไม่มากพอ
Licensee : พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
สหรัฐอเมริกาจะเกิด Hyperinflation หรือไม่
เป็นคำถามที่ คุณ นุ จากเพจ Savvy Investor ได้ถามถึงมุมมองของผมที่มีต่อเรื่องนี้เอาไว้
ในมุมมองของผมนะครับ
คำตอบสำหรับระยะ 2 ปีนี้ คือ อเมริกาจะไม่เกิดภาวะ Hyperinflation ขึ้นครับ
เพราะ อเมริกามีทั้ง "อำนาจทางโลก" "อำนาจทางการเงิน"
รวมถึง "ความเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆในโลกนี้" อยู่ในระดับที่ "มากพอ"
จากประวัติศาสตร์การเกิด Hyperinflation ในประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่ช่วงที่ผ่านมา
เหตุการณ์นี้มักจะเกิดขึ้นในประเทศต้นทางที่มีความเชื่อมโยงกับประเทศอื่นๆอยู่ในระดับที่ "น้อย" นั่นคือ หายนะมันไม่กว้างพอที่จะแจกจ่ายไปให้ทุกประเทศอย่างทั่วถึงนั่นเอง
เราจะสังเกตุได้ครับว่า ในอดีตหลายๆครั้ง Hyperinflation ก็ไม่เกิดขึ้นในประเทศที่มีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลกแบบหยั่งรากลึก
อีกทั้งเรายังอยู่ในยุคที่ การซื้อขายน้ำมันต้องชำระด้วยเงินสกุลดอลลาร์ (Petrodollar)
Licensee : พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
ในปี 1954 ทางประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำข้อตกลงกับซาอุดิอาระเบียหัวหอกของกลุ่ม OPEC ว่าการซื้อขายน้ำมันต้องทำการชำระด้วยเงินสกุลดอลลาร์เท่านั้น ทำให้เกิด Demand ในสกุลเงินดอลลาร์ขึ้น มาครับ
แต่สำหรับ"โลกยุคใหม่" จีนได้ทำการ "ลด" ความต้องการเงินสกุลดอลลาร์ไปบางส่วนด้วยการ ทำ Petroyuan ขึ้นมาแล้ว นั่นทำให้ความเข้มแข็งของสกุลเงินดอลลาร์ลดลง
ดังนั้นข้อสรุปของ หมูน้อยคือ Hyperinflation จะไม่เกิดในอเมริกา และ จีน
ต่อให้เกิด ก็จะเกิดในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
แน่นอนว่าเมื่อ Hyperinflation เกิดขึ้นใน 2 ประเทศนี้แล้ว ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก จะบังคับให้ทุกประเทศต้องเข้า
ร่วมการเจรจาอีกครั้งหนึ่ง เพราะ อำนาจทางโลก อำนาจทางการเงิน รวมถึง ความเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆในโลกนี้อยู่ในระดับที่ มากพอ นั่นเอง
*มีครั้งนึงที่อเมริกาอยู่ในจุดที่จะหลุดเข้าสู่วงจรของ Hyperinflation คือช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในปี 1861-1865
แน่นอนครับ ว่าการออกมาตรการในระดับที่ทำเอา balance sheet บวมไปได้ขนาดนี้ย่อมมีผลกระทบตามมา
หลังจากนี้อเมริกาจะไม่เพียงทำให้คนในประเทศตัวเองต้องจ่ายผลลัพธ์จากการกระทำในครั้งนี้ แค่เขาจะบีบให้คนทั้งโลกต้องได้รับผลกระทบไปด้วย!
ดังที่เราได้เห็นไปในเบื้องต้นแล้วครับว่า ธนาคารกลางสหรัฐในยุคของเจเน็ต เยนเลน ที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องจนทำให้เศรษฐกิจของประเทศที่เชื่อมโยงกับอเมริกาต้องปรับตัวอย่างไร
และ
ขณะที่ขึ้นดอกเบี้ยไปขนาดนั้น ยังลด balance sheet ลงมาได้ไม่เท่าไหร่
ครั้งนี้ก็… น่าจะส่งผลไปถึงรุ่นลูก รุ่นหลานพอสมควรครับ
เทรนในช่วง 1 - 2 ปีข้างหน้านี้
แม้ในสภาวะที่ไม่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 พวกเราก็ยังสังเกตได้ครับ ว่า...การเคลื่อนไหวของโลกใบนี้
มีการเคลื่อนตัวไปสู่โลกออนไลน์กันมากขึ้น (และ COVID-19 เร่งให้มันเร็วขึ้นไปอีก)
เทคโนโลยีที่ทรงอิทธิพลของโลกในตอนนี้อยู่ในมือของธุรกิจที่มี "ข้อมูล" อยู่ในมือเป็นปริมาณมหาศาล
ส่วนนี้ผมยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุดคือ
Facebook ในระยะเริ่มแรกที่ ข้อมูล ที่อยู่ในมือของเฟสบุ๊คมีปริมาณน้อย
ธุรกิจนี้ย่อมถูกผู้คนตราหน้าว่า ก็เป็นแค่ Platform ใหม่ตัวนึง เกิด แล้ว ก็จะดับไปตามเวลา
แต่เมื่อมีฐานข้อมูลของผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นมามากขึ้น Facebook ก็ได้ทำให้โลกรู้ครับว่า การนำข้อมูลที่มีอยู่ในมือมาใช้มันทำกันยังไง
แต่ในสายตาของ หมูน้อย ในเรื่องของข้อมูลนะครับ Facebook เนี่ย เค้ายังสู้ Google (บริษัทอัลฟาเบต) ซึ่งเป็นผู้นำด้านข้อมูลไม่ได้
ถ้าเปรียบเป็นนักมวย Facebook เป็นแค่ เณรหัดชกกระสอบทรายเท่านั้น ส่วน Google คือนักมวยแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวท ครับ
Licensee : พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
ชีวิตของหมูน้อยนี้ต้องยอมรับว่า ต่อให้ไม่ต้องใช้ Facebook รวมถึงบริการที่เชื่อมโยงกันในระดับ 100% ผมสามารถทำได้ครับ
แต่ถ้าไม่ใช้ Google ผมอาจจะถึงขั้นเป็นผู้ป่วยอัมพาตเลยทีเดียว
ดังนั้นข้อสรุปของ เทรนในระยะถัดไปจะมาในส่วนของความเคลื่อนไหวในโลกออนไลน์มากขึ้น รวมถึงบริการที่เกี่ยวข้อง เช่น
ส่วนความปลอดภัยของข้อมูล ความรวดเร็วในการส่งผ่านข้อมูล อย่างผู้ให้บริการอุปกรณ์ระบบเครือข่าย
รวมถึง "ความรู้และข้อมูลที่มีคุณภาพอยู่ในระดับสูง"
รูปแบบธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้ จะไม่เน้นไปที่การขายสินค้าครั้งเดียวจบอีกต่อไปแล้วครับ แต่จะขายเป็นค่าใช้บริการ รายครั้ง รายวัน รายเดือน รายปี
สื่อที่ให้บริการข้อมูลระดับสูง ก็มีบริการอย่าง Bloomberg Terminal, WSJ Pro
หรือระดับใกล้ตัวอย่าง Masterclass, Youtube Premium, Cloud data storages etc.
สิ่งต่างๆเหล่านี้แทรกซึมอยู่ในชีวิตเราแทบทุกอนู ดังนั้น ต่อให้โลกจะเกิดหายนะทางการเงินขึ้นอีกกี่ครั้ง Google จะยังดำรง
อยู่คู่กับโลกใบนี้
1
นี่คือ โลก ที่ผมมองนับจากนี้ไปอีก 1 - 2 ปีครับ
หวังว่าบทความชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านเช่นเคย
ฝากกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้หมูน้อยด้วยนะครับ
ขอบพระคุณมากครับ
หมูน้อย
*หวังว่าจะตอบคำถามของคุณ นุ Savvy Investor ได้ในระดับนึงครับ ตั้งแต่เปิดเพจมานับว่าเป็นครั้งแรกที่มีคนรีเควสบทความกับเขา
reference

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา