Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Thinker นักคิด
•
ติดตาม
18 พ.ค. 2020 เวลา 15:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
10 สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับความทรงจำที่เราทุกคนควรรู้
ความทรงจำเป็นสิ่งที่ทำให้เราเป็นตัวเราทุกวันนี้ เราเริ่มจำตั้งแต่
เหตุการณ์สำคัญในวัยเด็กจนกระทั่งถึงเรื่องที่ว่า ฉันทำกุญแจหายที่ไหนนะ ?
ควารทรงจำมีบทบาทที่สำคัญในชีวิตเราของเรามากมาย มันบ่งบอกถึงความเป็นตัวเราเองและสานต่อกระบวนการทางความทรงจำในชีวิตเรา
ถ้าจะเปรียบเทียบว่า ความทรงจำของเราก็เหมือนกับห้องเก็บของที่คอยเก็บข้อมูล แล้วถ้าต้องการดึงมาใช้ ก็แค่นึกถึงมันเท่านั้นเอง
แต่ในความเป็นจริงความทรงจำของเราใช้หลายส่วนในสมองของเรา
ความทรงจำของเราสามารถอยู่ได้อย่างเนิ่นนานตั้งแต่เราเป็นเด็ก5ขวบ
จนแก่ 80 ปี แต่ว่า เมื่อเราแก่ตัวลง ความทรงจำของเรามีแนวโน้มที่เลือน
ลาง ไม่แม่นยำ
10 สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับความทรงจำของเรา
1. สมองส่วนฮิปโปแคมปัส( hippocampus) มีบทบาทที่สำคัญต่อความทรงจำของเรา
สีแดงคือ ฮิปโปแคมปัส
สมองส่วนฮิปโปแคมปัสมีหน้าที่สำคัญคือ เปลี่ยนจากความทรงจำระยะสั้น ( short-term memory) ไปสู่ความทรงจำระยะยาว (long-term memory)
อยู่ใกล้กับระบบลิมบิก (limbic system) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์
และความทรงจำระยะยาว ฮิปโปแคมปัสยังทำหน้าที่ รวบรวมข้อมูล
เรียบเรียงข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลอีกด้วย
สมองของเราเชื่อมต่อกันทั้งซีกซ้ายและขวา เพราะฉะนั้นฮิปโปแคมปัสจะพบได้ทั้ง 2 ซีก ของสมอง หากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสได้รับความเสียหายย่อมส่งผลถึงการสร้างความทรงจำใหม่และกระทบถึงการดึงข้อมูลความทรงจำ
เก่าอีกด้วย ทำให้มีอาการ หลงลืม (amnesia)
สมองส่วนฮิปโปแคมปัสจะมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
หากอายุสัก 80 ปีจะยิ่งเห็นได้ชัด เส้นใยประสาทจะเริ่มเสื่อมลงตามวัย และ
ส่งผลต่อระบบความรู้ความเข้าใจอีกด้วย
2.ความทรงจำระยะสั้น ส่วนใหญ่มักถูกลืม
(เมื่อกี้ผมวางปากกาไว้ตรงไหนนะ?)
ความจุของความจำระยะสั้นนั้นมีจำกัด ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า มนุษย์เราสามารถจำสิ่งของ 7 อย่างได้มากสุดแค่ใน 20 - 30 วินาที แต่ว่ายังมีวิธีเพิ่มความทรงจำของเราให้ดีด้วยวิธีการ การจำแบบกลุ่ม หรือ ที่เรียกกันว่า chunking
มีงานเขียนที่ได้รับการตีพิมพืเมื่อปี 1956 โดย นักจิตวิทยาชื่อว่า
George Miller มีแนวคิดที่ว่า ความทรงจำระยะสั้นของมนุษย์เรานั้น จะ
สามารถจำสิ่งของ5 - 9 อย่างเท่านั้น
ผู้เชี่ยวชาญทุกวันนี้เชื่อกันว่า ความทรงจำระยะสั้นของมนุษย์เราลดลงจำได้
เพียง 4 อย่างเท่านั้น
เรามาลองเช็คความทรงจำระยะสั้นเรากันดูดีไหมครับว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง?
ลองจำคำศัพท์ดูให้มากที่สุดภายใน 2 นาที หลังจากนั้นให้เขียนเท่าที่เราจำได้ว่าได้กี่คำ
3. หากได้ใช้ข้อมูลที่เราจดจำมาได้นั้น จะทำให้เราจดจำข้อมูลนั้นได้ดียิ่งขึ้น
การที่เราเรียนรู้สิ่งใดใหม่ๆนั้น แล้วหากเราต้องการจำให้ได้นั้น วิธีการที่ดีที่
สุด คือ การนำข้อมูลที่เรียนรู้นั้นมาใช้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของความทรงจำเรา
มีงานวิจัยทดลองพบว่า ให้นักเรียนกลุ่มหนึ่งเรียนรู้ชุดข้อมูล แล้วออกสอบ
ผลการทดลองปรากฏว่า นักเรียนที่ทำได้ใช้ข้อมูลมีความทรงจำระยะยาวที่ดีขึ้นกว่า กลุ่มี่เรียนรู้แล้วไม่ได้ใช้อะไรเลย ความรู้จะค่อยๆลืมเลือนไป
นักเรียนที่มีระยะเวลาการศึกาาที่มากกว่าแต่ไม่ได้นำมาใช้ ย่อมไม่ก่อให้เกิดความทรงจำใดๆขึ้นมา
4. เราสามารถเรียนรู้ที่จะเพิ่มความทรงจำของเราได้
คุณเคยลืมกุญแจไว้สักที่ไหม หรือ นึกไม่ออกว่าตัวเองตื่นขึ้นมาอยู่บนเตียงนี้ได้อย่างไร ?
ผู้อ่านอาจจะพบว่า ตัวเองต้องเผชิญกับความยุ่งยากของยุคสมัยที่รบกวนชีวิตประจำวันของเรา รวมทั้ง ระบบความจำ แต่ว่า นักวิจัยค้นพบวิธีการเพิ่มพูนความทรงจำของเราให้ดีขึ้นแล้ว ด้วยวิธีการฝึกความจำ (ไว้จะเขียนในบท
ความหน้า)
วิธีการป้องกันภาวะหลงลืม ความจำเสื่อม ที่เราบางคนอาจนึกไม่ถึง แต่เรียบง่าย
1. ใช้เทคโนโลยีใหเ้กิดประโยชน์ โทรศัพท์ ตั้งเวลา จับเวลาตามนัดที่เรามี
ไว้กับเพื่อนคนสำคัญของเรา
2. จำด้วยภาพในใจ เวลาที่เราวางสิ่งของไว้ไหนก็ตาม ให้ลองใช้ความคิดจำสักหน่อยว่า เราวางของไว้ตรงไหน เช่น เมื่อเราวางกุญแจไว้ ให้ลองนึกภาพดูว่า เราวางกุญแจไว้กับกระเป๋าเงิน(อันนี้สมมุติ) ลองนึกดูว่าของที่เราวาง
ใกล้เคียงมีอะไรบ้าง วิธีนี้ช่วยได้จริง
3.ใช้เทคนิคความจำ โดยการดึงข้อมูลออกมา รวมทั้งวิชาเพิ่มความจำ
และ กลยุทธ์ช่วยจำอื่นๆเพื่อที่เราจะป้องกันความบกพร่องทางความทรงจำที่อาจเกิดขึ้น ด้วยวิธีการเหล่านี้จะทำให้สมองเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น และ มีความทรงจำที่ดีขึ้นอีกด้วย
5. มี 3 เหตุผลหลักว่าทำไมเราถึงลืมกัน
ข้อแรก คือการที่เราไม่สามารถดึงความทรงจำออกมาได้ โดยเฉพาะความทรงจำที่เราไม่ค่อยได้ใช้หรือนึกถึง ทำให้ข้อมูลค่อยๆเสื่อมหายไป
ข้อที่สอง ความทรงจำทับซ้อนกัน ตัวอย่าง
ลองนึกดูว่า เราเป็นครูในโรงเรียนแห่งหนึ่ง
ครูย่อมใช้เวลาในการจำชื่อนักเรียน ต่อมาอีก1ปี ทำไมครูถึงจำชื่อนักเรียนผิดละ? เพราะนักเรียนคนที่เราเรียกผิดเป็นน้องของนักเรียนคนก่อน และทั้ง2 คนดูเหมือนกัน เพราะความทรงจำที่มีต่อนักเรียนเก่าแข็งแกร่งกว่านักเรียนคนใหม่
ข้อที่สาม เราไม่ได้มีกระบวนการจดจำตั้งแต่แรกจึงนึกไม่ออก เราคิดว่าเราจำ แต่จริงๆแล้วเราไม่ได้จำเลย
6.อาการความจำเสื่อม
แบบในหนังไม่ตรงกับความเป็นจริงเลย
อาการความจำเสื่อมหรือหลงลืมแบบในหนังนั่นไม่ตรงแน่นอนทางวิทยาศาสตร์
ยกตัวอย่าง
เวลาเราดูหนังแล้วเห็นตัวละครความจำเสื่อมจากอุบัติเหตุนั้น แล้วพอโดนกระแทกตรงหัวอีกครั้งความทรงจำกลับมาดังเดิม?
อาการความจำเสื่อมแบ่งได้ 2 ประเภท
1.Anterograde Amnesia อาการที่ไม่สามารถสร้างความทรงจำขึ้นมาใหม่ได้
2. Retrograde Amnesia อาการที่ไม่สามารถดึงความทรงจำในอดีตได้ ส่วนความทรงจำใหม่จะเป็นปกติไม่เสียหายอะไร
หนังโดยส่วนใหญ่มักใช้ Retrograde amnesia สร้างเรื่องราว plotเรื่อง
ส่วน Anterograde Amnesia นั่นมันยากเกินไป
มีเคสตัวอย่าง คนไข้ที่ถูกนำไปใช้ในวรรณกรรมมีชื่อย่อว่า H.M ในปี1953 คนไข้ได้รับการผ่าตัดเพื่อไม่ให้แผลลุกลาม จึงต้องผ่าเอา สมองส่วน ฮิปโปแคมปัสออกทั้ง2ซีก ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้สำหรับเก็บความทรงจำ ผลคือ H.M ไม่สามารถสร้างความจำระยะยาวได้
หนังส่วนใหญ่มักใช้โครงเรื่องที่ตัวละครมักความจำเสื่อม แต่คนที่จะความจำเสื่อมเกี่ยวกับอดีตนั้นพบได้ค่อนข้างยากมาก
สิ่งที่ทำให้ความจำเสื่อม
อาการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์สามารถทำให้ความจำเสื่อมได้หากกระแทกอย่างรุนแรง
ความเจ็บปวดทางใจ การโดนขมขื่นทำให้เป็นปมทางใจ ส่งผลให้เราอยากลืมเหตุการณ์ตอนนั้น
ยา ยาบางชนิดทรงผลต่อความทรงจำต่อคนไข้ ทำให้หลงลืม วิงเวียนจนกระทบไปถึงความจำ
พอให้คนไข้เลิกยา พบว่าความจำกลับมาปกติดั่งเดิม
หนังที่เกี่ยวกับความจำเสื่อม
Robocop (1987)
Regarding Henry (1991)
The English Patient (1996)
Memento (2001)
The Bourne Identity
50 First Dates (2004)
Finding Nemo (2003)
7.กลิ่นสามารถกระตุ้นความจำได้อย่างดีเยี่ยม
เคยสังเกตไหมครับ เวลาเราได้ดมกลิ่นที่หอมหรือชอบ มันมักจะมาพร้อมกับความทรงจำในอดีตของเรา กลิ่นคุกกี้หอมๆอาจทำให้เรานึกถึงคุกกี้ของคุณยายเมื่อสมัยเราเป็นเด็ก
แล้วทำไมกลิ่นถึงมีอิทธิพลต่อความทรงจำเรานักละ?
เส้นประสาทรับกลิ่นของเราอยู่ใกล้กับ อะมิกดาล่า เป็นส่วนที่อยู่ใกล้กับความทรงจำคือ ฮิปโปแคมปัส ทำให้ความกลิ่นมีผลต่อความทรงจำอย่างยิ่ง
งานวิจัยระบุว่า ความสามารถในการดมกลิ่นยังขึ้นอยู่กับความสามารถด้านความทรงจำด้วย
การที่จะระบุได้ว่าเป็นกลิ่นอะไรนั้น เราต้องเคยดมมาก่อน กลิ่นจะเชื่อมต่อไปถึงระบบประสาทการดมกลิ่นและความทรงจำ ทำให้เราจำได้
งานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า ในระหว่างการเรียนแล้วมีกลิ่นหอมยังช่วยเพิ่มความจำได้อีกด้วย
8. เซลล์ประสาทสมองสร้างเส้นใยใหม่ๆเสมอเมื่อเราสร้างความทรงจำใหม่ๆ
นักวิจัยเชื่อมานานแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ประสาทสมองนั้นสัมพันธ์กับการก่อตัวของความทรงจำ
แต่ทุกวันนี้ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่าการสร้างหน่วยความจำมีความเกี่ยวข้องกับการสร้างความเข้มแข็งของการเชื่อมต่อที่มีอยูแล้วหรือการเจริญเติบโตของการเชื่อมต่อใหม่ระหว่างเซลล์ประสาท
การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทเป็นที่รู้จักกันกันในชื่อ ไซแนปส์และการทำงานของไซแนปส์นั้นจะให้ข้อมูลดำเนินการในรูปแบบของแรงกระตุ้นเส้นประสาทที่จะเดินทางจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังเซลล์ถัดไป ในสมองของมนุษย์นั้นมีประสาทนับล้านล้านเส้นที่รวมกันเป็นเครือข่ายที่ซับซ้อนและยืดหยุ่นซึ่งทำให้เรารู้สึกมีการประพฤติและคิด มันคือการเปลี่ยนแปลงในการเชื่อมต่อ synaptic ในพื้นที่ของสมองเช่นเปลือกสมองและฮิบโปแคมปัสที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการเก็บรักษาข้อมูลใหม่
ในการศึกษาหนึ่งครั้งที่ดำเนินการที่โรงเรียนแพทย์นิวยอร์กนักวิจัยสามารถสังเกตการก่อตัวของไซแนปส์ในสมองของหนูที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม 14 สิ่งที่พวกเขาค้นพบคือในหนูตัวเล็กส่วนที่ยื่นออกมาเล็ก ๆ ซึ่งบางครั้งก็พัฒนาเป็นหนามอีกต่อไปเมื่อปลายประสาทรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว อัตราการเติบโตนี้ใกล้เคียงกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเยื่อหุ้มสมองที่มองเห็น ในขณะที่ส่วนที่ยื่นออกมาจำนวนเล็กน้อยเหล่านี้จางหายไปตามอายุ แต่หลายคนก็เริ่มก่อตัวเป็นสันครีบ ความทรงจำเริ่มแกร่งขึ้นนั่นเอง
ผู้นำการวิจัย wen -biao gan อธิบายรายละเอียดไว้ในบทสัมภาษณ์ภายในเว็ป
WhyFiles.org
"
ความหมายของเราคือ คุณไม่จำเป็นต้องกำจัด synape เก่าออก พอคุณเรียนรู้ หรือ จดจำ คุณแค่ต้องปรับให้มันแข็งแกร่งขึ้น โดยเรียกใช้ความจำระยะสั้น เรียนรู้และจดจำมัน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม synapes จะไม่สามารถเปลี่ยนไปอยู่ใน ความจำระยะยาวได้ทุกเส้นใย บางเส้นเหี่ยวตายไปเอง...."
ชัดเจนแล้วว่าการรักษาสมองและเส้นใยประสาท synape สำคัญขนาดไหน
การที่เส้นใยประสาทเหี่ยวเฉาหรือตายนั้นยังส่งผลค่อระบบความรู้ความเข้าใจ การแก้ปัญหา อารมณ์ การสูญเสียความทรงจำ และอื่นๆอีก
เป็นไงบ้างครับสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับความทรงจำของเรา ไว้พรุ่งนี้ผมจะมาต่อให้ใหม่นะครับ
ถ้าชอบกด Like
ถ้าใช่กด Share
และอย่าลืมกดติดตาม Follow ความรู้ดีๆได้ทุกวัน
3 บันทึก
1
2
3
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย